inskru
gift-close
insKru Selected

ใครฆ่าเจ๊กิ๋ม : การคิดแบบโยนิโสมนสิการ

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ใครฆ่าเจ๊กิ๋ม : การคิดแบบโยนิโสมนสิการ

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

เนื้อหาวิชาของศาสนาฯ มักจะเป็นเนื้อหาที่นักเรียนมักจะเบื่อหน่าย หลับ ไม่สนุก ไม่มีแรงจูงใจในการเรียน มากกว่าการสอนบรรยาย ก็เลยพยายามอยากหากิจกรรมมาให้นักเรียนได้ลงมือคิด ลงมือปฏิบัติ ซึ่งจากการส่องไอเดียในเว็บไซต์ Inskru และไอเดียจากการไปอบรม Buddy Kru ก็ได้หยิบเอาเทคนิคการสอนที่เพื่อนครูได้แชร์ ตอนที่อบรมในหัวข้อ Creative Classroom มาปรับใช้กับวิชาตัวเอง อีกทั้งก็ต้องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองด้วย ซึ่งก็พบว่า ไอเดียการสอนที่หาฆาตรกรคนร้าย หาเบาะแส จากหลักฐานข้อมูลต่าง ๆ เป็นสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ได้กับหลายวิชาเลย หนึ่งในนั้นก็เป็นวิชาสังคม ในเรื่องของกระบวนการคิดในรูปแบบต่าง ๆ จึงหยิบโยงเข้ากับเนื้อหาของการคิดแบบโยนิโสมนสิการพอดิบพอดี ( มุ่งเน้นในส่วนของการคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย, คิดแบบวิภัชชวาท (รอบด้าน ไม่เหมารวม), คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ, คิดแบบสามัญลักษณะ)


1.     เลือกวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการมาประยุกต์แก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้อย่างเหมาะสม

2.     ยกตัวอย่างการนำวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ขั้นตอน

1.     ครูแจ้งข้อตกลงในการเรียน หัวข้อในการเรียน และจุดประสงค์การเรียนรู้ (เราบอกตั้งแต่ว่า พื้นที่แห่งการเรียนรู้นี้ ไม่มีผิดถูก ขอให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม)

2.     ครูวัดความรู้ก่อนเรียนของนักเรียน โดยการสอบถามเกี่ยวกับความหมายและหลักคิดของวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

3.     นักเรียนทำกิจกรรม Check-in โดยการตอบคำถามฝึกการคิดเพื่อเตรียมความพร้อม เช่น


4. นักเรียนร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับกระบวนการคิดที่ใช้ในการตอบคำถามต่าง ๆ ว่ามีลักษณะการคิดอย่างไรบ้าง

5. ครูนำเข้าสู่บทเรียน เรื่อง การเจริญปัญญาตามหลักโยนิโสมนสิการ โดยเชื่อมโยงกับคำตอบของนักเรียนว่าในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน มีสิ่งที่เราต้องตัดสินใจตลอดเวลา และสมองของเราก็ทำงานด้วยระบบวิธีคิดต่าง ๆ ตลอดเวลา ดังนั้น การมีหลักคิดที่ถูกต้อง เป็นเหตุ ผล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน

6. นักเรียนเล่นเกมกิจกรรม “สืบสวนคดีการตายของเจ๊กิ๋ม” เพื่อฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยทำเป็นกลุ่ม 4-5 คน

  • กำหนดสถานการณ์ว่ามีข่าวเจ๊กิ๋มตายอย่างไร


ระหว่างนี้ก็ชวนนักเรียนคุยถึงคุณสมบัตินักสืบที่ดีควรมีอะไรบ้างนะ เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อมตัวเองในการคิด

จากนั้นครูให้นักเรียนคาดการณ์ ซึ่งพบว่า นักเรียนบางส่วนก็จะบอกว่า ยังตอบไม่ได้ ต้องใช้ข้อมูลหลักฐานก่อน

ครูก็แจกซองหลักฐานข้อมูลต่าง ๆ ให้ นักเรียนก็ลงมือสืบหาข้อมูลกัน


7.  นักเรียนร่วมกันอภิปรายจากกิจกรรมสืบสวนคดี นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง, ลักษณะกระบวนการคิดของนักเรียนเป็นอย่างไร เพื่อเชื่อมโยงถึงการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และนักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างให้เชื่อมโยงกับชีวิตจริง

ผลสะท้อนจากนักเรียน หรือ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

นักเรียนทุกคนดูตื่นเต้นเมื่อรู้ว่าจะได้สวมบทบาทเป็นนักสืบหา มีการสันนิษฐาน พูดคุยไปต่าง ๆ นานา ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มได้รับหลักฐาน จังหวะนั้นครูก็พยายามกวนน้ำให้ขุ่น ให้คิด แหย่ให้ไปทางสามีบ้าง แหย่ให้ไปทางลูกค้าประจำบ้าง หรือป้าขายแผงปลา ทำหน้าที่เป็นตัวไซโคเหตุผลต่าง ๆ ให้นักเรียนเอนเอียงบ้าง ซึ่งก็มีนักเรียนที่จะเอนเอียงไปยังคำตอบของสามี (ที่มี "ข่าวลือ" ว่าเป็นกิ๊กกับลูกค้าประจำ แถมมีรูปถ่ายคู่กันอีก) นักเรียนบางคนก็วิเคราะห์ต่อไปได้ว่า "แต่ข่าวลือ มันก็คือข่าวลือนะ มันยังไม่ใช่ข้อเท็จจริง" หรือบางคนก็อยากจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมเลย เช่น ถามหาผลตรวจลายนิ้วมือ จะชัดกว่านี้นะคะครู หรือคิดเวลาการตายกันยกใหญ่ เรียกได้ว่าสวมบทเป็นนักสืบกันจริง ๆ ชนิดที่ครูก็คิดไม่ถึงในบางมุมเหมือนกัน


แถมบางคนที่ได้ดูข่าวจากแหล่งต่าง ๆ เรื่องของคดีแอมไซยาไนด์ ก็เอามาชวนคิด ชวนคุยกันต่อไปอีก ว่าครูเอามาจากเรื่องนี้หรือเปล่าครู 5555 แสดงว่านักเรียนติดตามข่าวสารรอบตัวอยู่นะเนี่ย


นักเรียนบอกว่าขอคาบแบบนี้อีก หนูไม่หลับเลย อยากเป็นแบบนี้ทุกคาบเลย


บริบท หรือ ข้อเสนอแนะ

สามารถนำไปประยุกต์ หรือบูรณาการได้กับหลายวิชาค่ะ จะปรับเพิ่มเติมหลักฐานตรงไหน ได้เลยค่ะ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    สังคมศึกษาเกมและกิจกรรมทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการร่วมมือทักษะความคิดสร้างสรรค์

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ