Q: แนะนำตัวอีกรอบ 🤣
A: สวัสดีค้า ครูเฟรมนะคะ ชนม์ณภัทร ช้างนาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู คศ.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนวัชรวิทยา จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร
🇺🇸🇬🇧🙌🏻 ครูเฟรมมีความตั้งใจอยากจะแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนจริง ๆ ค่ะ ซึ่งสำหรับครูเฟรม วิจัยเป็นอะไรที่เรารู้สึกว่ายาก และเยอะ และค่อนข้างหนักใจมาก ๆ เวลาที่ต้องส่งวิจัยทุก ๆ ท้ายปีการศึกษา ด้วยความที่เรามีความตั้งใจอยากลดภาระงานที่หนักเกินไปเกี่ยวกับการทำวิจัย ประกอบกับต้องการลดการใช้กระดาษด้วย จึงได้ลองทำวิจัยฉบับย่อ ๆ ตามความเข้าใจของตนเองค่ะ ด้วยเหตุนี้ ครูเฟรมจึงได้ศึกษาแนวคิดต่าง ๆ จนได้เจอกับแนวคิดที่น่าสนใจ 2 แนวคิด ดังนี้
📌ไอเดียของ Edgar Dale (1969) ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจมาก ๆ ค่ะ นั่นก็คือ พีระมิดของการเรียนรู้ หรือ Cone of Learning
⏰ สรุปสั้น ๆ แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เรียนรู้และการใช้สื่อ โดยจะแบ่งเป็นชั้นเหมือนรูปทรงพีระมิด
📌 ไอเดียของ Fleming, N.D. and Mills, C. (1992) VARK Model หรือ VARK Learning Styles
⏰ สรุปสั้น ๆ แนวคิดนี้เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม โดยแบ่งตามความชอบและความถนัดของผู้เรียนนั่นเองค่ะ
Q: แล้วปัญหาในชั้นเรียนของครูเฟรม เกี่ยวกับอะไร?
A: ปัญหาที่พบคือ นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้ได้แตกต่างกัน หรือมีรูปแบบการเรียนรู้คนละสไตล์ค่ะ ต่อให้เราทำสื่อสวย สะดุดตาแค่ไหน ก็อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ผู้เรียนทุกคนเสมอไป นี่จึงเป็นที่มาของงานวิจัยในชั้นเรียนชิ้นนี้ค่ะ 🙌🏻
Q: แล้วจะทำวิจัยฉบับย่อยังไงดีน้า นึกภาพไม่ออกเลย เพราะเคยเจอแต่วิจัยเล่มหนา ๆ
A: ถ้าคุณผู้อ่านผ่านมาเจอบทความนี้ด้วยความบังเอิญ หรือตั้งใจกดเข้ามาอ่านก็ตาม ครูเฟรมอยากจะบอกครูทุกคนเลยนะคะว่า “การทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของครูหรือการสอนของเรา ดังนั้น ไม่ว่าคุณครูจะเคยผ่านประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับวิจัยมา ครูเฟรมอยากบอกว่า อย่าพึ่งท้อนะคะ เราทำได้ค่ะ แค่เราต้องให้เวลาตัวเราเองได้เรียนรู้ทั้งกับตัววิจัย ตัวผู้สอน และเข้าใจนักเรียนค่ะ”
Q: ขั้นตอนวิจัยมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
A: ขั้นตอนตรงนี้ ในส่วนที่ครูเฟรมทำไว้ ขอบอกว่าเป็นเหมือนรุ่นเบต้า 🤣 นะคะ อาจจะไม่ได้เป็นวิจัยที่สมบูรณ์ แต่รวม ๆ แล้วคิดว่ามีหัวข้อต่าง ๆ ที่ครอบคลุม คุณครูสามารถปรับแก้หัวข้อได้เลยนะคะ หากสงสัยเรื่องขั้นตอนการวิจัย ขออนุญาตแปะเนื้อหาที่ครูกั๊ก ร่มเกล้า ช้างน้อย จาก Inskru ที่ได้มาแบ่งปันผ่านทาง Zoom Webinar เมื่อวันนี้ 🤣 สด ๆ ร้อน ๆ เลยค่ะ
Q: ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อตัวครูหลังจากการทำวิจัยฉบับย่อ?
A: ประการแรกเลย รู้สึกว่าวิจัยไม่จำเป็นต้องพิมพ์เป็นเอกสารเล่มหนา ๆ เสมอไปค่ะ วิจัยหน้าเดียว ใช้เวลาและกระบวนการ/ ขั้นตอนวิจัย เหมือนกัน เพียงแค่การแปรผลลัพธ์ออกมาหน้าตาต่างกันแค่นั้นเอง พูดง่าย ๆ ก็คือวิจัยเล่มหนา ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่างานวิจัยนั้นมีคุณภาพเสมอไป วิจัยหน้าเดียว ใช้เวลาและกระบวนการวิจัยที่เป็นระยะเวลานานพอ ๆ กันค่ะ (คหสต. โน ดราม่าน้า ♥️)
Q: ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นอย่างไรบ้าง?
A: เมื่อผู้สอนเข้าใจผู้เรียน ย่อมเกิดผลดีตามมาค่ะ บอกได้แค่นี้ สั้น ๆ แต่ touch ใจ ครูเฟรมอยากเห็นห้องเรียนที่นักเรียนเปิดใจคุยกับครู และเป็นห้องเรียนที่มีความหมายจริง ๆ ♥️
ครูเฟรมแปะลิ้งก์แก้ไขได้ไว้ให้นะคะ แต่!! รบกวนขอให้คุณครูที่น่ารักทุกท่านปรับเปลี่ยนคำ/ อักษร และรูปภาพเป็นของตนเอง วิจัยนี้ครูเฟรมตั้งใจทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และอยากเผยแพร่เผื่อจะเป็นแนวทางดี ๆ ให้คุณครูทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่าน ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ ♥️🙌🏻
ลิ้งก์วิจัยในชั้นเรียน ฉบับแก้ไข https://www.canva.com/design/DAFoVGrWjKE/CuElweirIpZ6oQv4SYaTtQ/edit?utm_content=DAFoVGrWjKE&utm_campaign=designshare&utm_medium=link2&utm_source=sharebutton
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!