inskru
gift-close

Best Practice : การพัฒนาทักษะทางสมอง Executive Functions

0
0
ภาพประกอบไอเดีย Best Practice : การพัฒนาทักษะทางสมอง Executive Functions
ความสำคัญของผลงาน นวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติที่นำเสนอ
เด็กปฐมวัย คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี เด็กวัยนี้เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ โดยพัฒนาการทุกด้านเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เนื่องจากผู้ปกครองเป็นผู้ที่ใกล้ชิดและสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตั้งแต่ในครรภ์ การวางรากฐานพัฒนาการทุกๆด้านของเด็กปฐมวัยทำได้จากการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทักษะทางสมอง Executive Functions ทั้ง 9 ด้านในเด็กปฐมวัยนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การทำงานของสมองหลายส่วนให้ทำงานเชื่อมประสานกัน ทำให้ประสบการณ์ที่คนเราได้รับผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ เข้าสู่สมองเกิดการนำไปวิเคราะห์ แปลความหมาย และสรุปเพื่อให้เกิดการ ตัดสินใจ การตอบรับกับสถานการณ์นั้นๆ  
การจดจ่อใส่ใจ เป็น 1 ใน 9 ด้านในการพัฒนาทักษะทางสมอง EF จัดอยู่ในทักษะการกำกับตนเองคือความสามารถในการรักษาความตื่นตัว รักษาความสนใจ ให้อยู่ในทิศทางที่ควร เพื่อให้ตนเองบรรลุสิ่งที่ต้องการจะทำให้สำเร็จ ด้วยความจดจ่อ มีสติรู้ตัวต่อเนื่องในระยะเวลาที่เหมาะสมตามสมควรของวัยและความยากง่ายต่อภารกิจนั้นๆ การใส่ใจจดจ่อเป็นอีกคุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้ หรือทำงาน ความสามารถนี้จะช่วยให้เด็กๆ มีสมาธิจดจ่อกับการร้อยลูกปัด ต่อบล็อก ฟังนิทานจนจบเรื่อง และทำกิจกรรมต่างๆ อย่างใส่ใจ ไม่วอกแวก  หากเด็กไม่ได้รับการพัฒนาทางสมองนั้นอาจส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิดที่ล้าช้า ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ รวมไปถึงขาดทักษะการจดจ่อใส่ใจ ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้หรือทำงาน เด็กที่มีระดับสติปัญญาฉลาดรอบรู้ แต่เมื่อขาดทักษะความสามารถในการจดจ่อ เมื่อมีสิ่งใดไม่ว่าสิ่งเร้าภายนอกหรือจากสิ่งเร้าภายในตนเองก็วอกแวก ไม่สามารถจดจ่อทำงานต่อไปได้
ทักษะการจดจ่อใส่ใจ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง โดยทักษะด้านจดจ่อใส่ใจเป็นอีกคุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้ ทักษะการจดจ่อใส่ใจเป็นหนึ่งองค์ประกอบในทักษะทางสมองซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนา หากถ้าเด็กขาดทักษะความสามารถในการใสใจจดจ่อ เมื่อมีสิ่งใดไม่ว่าสิ่งเร้าภายนอกหรือสิ่งเร้าจากภายในตนเองก็วอกแวก ไม่สามารถจดจ่อ ก็ยากที่เด็กจะทำงานให้สำเร็จได้ เด็กขาดการฝึกฝนหรือพัฒนาทักษะการจดจ่อใส่ใจ เด็กอาจจะขาดการจดจ่อตั้งใจทำสิ่งใดให้สำเร็จ ขี้ลืม ไม่ใส่ใจคำสั่ง อยู่ไม่นิ่ง ไม่ชอบอยู่กับที่ ไม่อดทน หุนหันพลันแล่น องค์ประกอบการพัฒนาทักษะการจดจ่อใส่ใจของเด็กปฐมวัยแยกได้ 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) ตั้งใจ มีสมาธิ หมายถึง การมีจิตใจจดจ่อ ตั้งมั่นในสิ่งที่ทำอย่างแน่วแน่ พร้อมจะเรียนรู้2) ไม่วอกแวก หมายถึง อาการที่จิตใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 3) มุ่งมั่นให้งานประสบผลสำเร็จ หมายถึงความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะไปให้ถึงสิ่งที่มุ่งหวังไว้ 4) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ และก่อให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกันไป เป็นความคิดที่หลากหลาย คิดได้กว้างไกลหลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ และเป็นความคิดที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่า มีความคิดที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำกับใครและแตกต่างจากความคิดธรรมดา
จากที่ดูแลเด็กปฐมวัยพบว่า เด็กขาดความตั้งใจหรือความสนใจในเวลาการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน มักมีอาการ ซุกชน วอกแวก ไม่อยู่นิ่ง หรือสนใจสิ่งรอบข้างมากกว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เป็นที่สังเกตได้ตั้งแต่อายุน้อยๆในช่วงวัยอนุบาลหรือ ช่วงวัยที่เข้าเรียนในระดับประถมศึกษาและอาการจะเห็น ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นอาจ ไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับครูผู้สอนหรือคนรอบๆตัวเด็กและร่วมถึงตัวเด็กเองในอนาคต การจดจ่อใสใจ นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ หากการจดจ่อใส่ใจของเด็กเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือเรียนรู้ได้ในระยะเวลาที่จำกัดมักก่อให้เกิดการขาดประสิทธิภาพในการเรียน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงพัฒนาทักษะสมอง Executive Functions (EF) ในเด็กปฐมวัยโดยเลือกชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะ EF เหตุผลที่เลือกใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาชุดฝึกทักษะ EF เนื่องจากมีความหลากหลายของกิจกรรม  มีความน่าสนใจและแปลกใหม่ ทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ได้ดี ได้ฝึกทักษะการจดจ่อใส่ใจในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองเป็นอีกแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนา เนื่องจากผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดต่อชีวิตของเด็ก ความรักและความอบอุ่นจากผู้ปกครองเป็นความต้องการของเด็กทุกคน ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะทางสมองด้านการจดจ่อใส่ใจมีหลากหลายกิจกรรม เช่น การฟังนิทาน การต่อบล็อค การทำงานบ้าน การวาดรูประบายสีและการร้อยหรือการสานต่างๆ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ล้วนแต่จะทำให้เด็กเกิดการจดจ่อต่อสิ่งที่กำลังทำอยู่ อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ มีและสมาธิอย่างต่อเนื่อง  จึงได้จัดทำชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง EF เพื่อเปรียบเทียบว่าหลังจากการทำชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง EF ร่วมกับผู้ปกครองแล้ว เด็กปฐมวัยจะมีการพัฒนาทักษะทางสมองด้านการจดจ่อใส่ใจและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองมากขึ้น และเพื่อให้เด็กได้ใช้ทักษะทางสมองด้านการจดจ่อใส่ใจเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ต่อไป


ไฟล์ที่แบ่งปัน

    อนุบาลการจัดการชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียน

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ