inskru

กิจกรรม Model บูรณาการระหว่างทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา

2
1
ภาพประกอบไอเดีย กิจกรรม Model  บูรณาการระหว่างทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา

วันนี้ครูผมหยิกเจ้าเก่า เจ้าเดิม สมัครแอคเมื่อวานบอกเจ้าเก่าไว้ก่อน เพื่อความน่าเชื่อถือเด้อสาว สาวกำลังสมองตื่อ คิดไม่ออก หากิจกรรมอะไรมาทำดี หรืองานอะไรกันนะที่ทำให้นักเรียนได้ลงมือเองสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง แถมยังยิงนกตัวเดียวได้ทั้ง 2 เนื้อหาเลยเด้อ ไม่ต้องมองไปทางไหนไกล วันนี้ครูผมหยิกมีสิ่งดีๆ มาบอกเด้อสาว มาเล่ากันในเรื่องรายวิชาภูมิศาสตร์ ม.2 ก็จะมีเรื่องหลักๆ คือ ทวีปยุโรป กับ ทวีปแอฟริกา ครูผมหยิกนั่ง ๆ แล้วก็นึกได้ว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น จะทำไงหน่อ ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวทั้ง 2 ทวีปแล้วเข้าใจ ไม่ใช่แค่ครูบรรยายเท่านั้น เลยอยากให้นักเรียนทำ Model ขึ้นมา ก็นึกย้อนไปตอนเรียนศิลปะเขามีปั่นแบบใช้กระดาษเหลือใช้ หรือทิชชูผสมกาว+น้ำ นำมาขึ้นรูป ก้เลยไปค้นใน Youtube แอฟเเดงเจ้าประจำที่สมัครพรีเมียมไว้ ว่ามีใครเขาทำ Model จากกระดาษพวกนี้บาง สรุปขึ้นมาเต็มเลยเด้อสาว แต่ฉันดูมาจากคลิปในลิ้งนี้เลย เข้าใจง่ายอุปกรณ์ไม่เยอะ

มาเรามาเข้าเรื่องเลยดีกว่า ว่ากิจกรรมของฉันมีอะไรบ้าง เริ่มต้นยังไง

  1. ฉันก็วางแผนก่อนว่านักเรียนในสังกัดฉันเนี้ยมีจำนวนเท่าไรต่อห้องเพื่อจะจัดแบ่งกลุ่มเท่า ๆ กัน
  2. ฉันก็ไปดูเนื้อหาเลยว่าทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกา ที่เน้นๆมีเรื่องใดบ้าง แต่มันดีตรง 2 เรื่องนี้เรียนในหัวข้อที่เหมือนกันแต่คนละเนื้อหา ดังนั้นเราก็สามารถใช้หัวข้อเดียวกันแต่คนละทวีปให้นักเรียนไปศีกษาได้และนำมาร่วมวิเคราะห์ร่วมกันได้ทั้ง 2 ทวีป หัวข้อฉันคราว ๆ ดังนี้เด้อ (ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้)
  • ลักษณะทางกายภาพทวีปยุโรป
  • ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติทวีปยุโรป
  • การแบ่งอาณาเขตของประเทศในทวีปยุโรป
  • ลักษณะทางกายภาพทวีปแอฟริกา
  • ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติทวีปแอฟริกา
  • การแบ่งอาณาเขตของประเทศในทวีปแอฟริกา


3. ให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมาจับฉลากหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย

4. ให้นักเรียนสืบค้นว่าหัวข้อที่ได้รับเราจะมาสร้าง model เพื่ออธิบายข้อมูลความเป็นแผนที่ลักษณะใด นักเรียนสามารถเลือกใช้แผนที่ ที่เหมาะสมกับหัวข้อที่ได้รับ โดยฉันก็ช่วยอยู่ใกล้ ๆ ตรง ๆ ก็แอบช่วยแนะนำอยู่เด้อว่าอะไรเหมาะสม

5. นักเรียนก็ลงมือขย่ำกาวกับกระดาษ แล้วก็ปั่นเป็นก้อนๆลองไปบนแผ่นพลาสติกที่เตรียมไว้ (ลืมบอกฉันแจ้งนักเรียนเตรียมอุปกรณ์มาเรียนในคาบนี้เด้อเลยมีอุปกรณืทำกัน)

6. พอปั่นกันเรียบร้อยก็นำไปตากให้เเห้ง แล้วคาบถัดไปก็ลงสีเลยตามตัวอย่างที่หากันมา

7. ขณะที่รอ Model แห้ง นักเรียนก็สืบค้นข้อมูลในทวีปนั้น ๆ รอ และฉันก็เชื่อมโยงเพื่อทบทวนเรื่องการอ่านและแปลความหมายของแผนที่ หน่วยก่อนได้ด้วย (3 เรื่องแนะ)

8. พอนักเรียนทำเรียบร้อย ก็ถึงการนำเสนอ พวกเขาก็สรุปในเนื้อหานั้น ๆ มา ฉันก็อธิบายเสริมเข้าไปนักเรียนก็มองเห็นภาพมากขึ้น ประเทศไหน มีที่ตั้ง อยู่ใกล้ประเทศใดที่สำคัญ หรือฉันสอนในเนื้อหานักเรียนก็มองภาพออกมากขึ้น

ปล. กิจกรรมนี้แอบใช้เวลาการจัดการเรียนรู้หลายชั่วโมงอยู่ มีปัจจัยและอุปสรรคการทำหลายอย่างเเต่ควบคุมได้ ด้วยความรู้พื้นฐานนักเรียนแตกต่างกันทำให้ผลงานที่ออกมามีความหลากหลาย และมีความคิดสร้างสรรค์


สุดท้ายนี้ถ้าข้อมูลตรงไหนผิดพลาดครูผมหยิกขออภัยมา ณ ที่นี้ สามารถแชร์ความรู้ต่าง ๆ ได้เลยนะคร่าาา




ไฟล์ที่แบ่งปัน

    สังคมศึกษาภูมิศาสตร์activeเกมและกิจกรรมเทคนิคการสอนตัวช่วยครูมัธยมต้นสื่อทำมือและอุปกรณ์ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    2
    ได้แรงบันดาลใจ
    1
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ครูผมหยิก
    คุณครูสายเม้า อย่าได้ชวนคุย ไม่งั้นไม่ได้สอน บอกตรง..

    ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก

    ครูผมหยิก
    คุณครูสายเม้า อย่าได้ชวนคุย ไม่งั้นไม่ได้สอน บอกตรง..

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ