inskru
ครูบ้ากล้าลอง 2023

สอนการเขียนบันเทิงคดีให้เป็นเรื่องง่าย ลองใช้ AI เป็นตัวช่วย

0
0
ภาพประกอบไอเดีย สอนการเขียนบันเทิงคดีให้เป็นเรื่องง่าย ลองใช้ AI เป็นตัวช่วย

เชื่อว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาภาษาไทย โดยเฉพาะสาระการเขียน สำหรับเด็กมัธยม

น่าจะเป็นไม้เบื่อไม้เมาพอสมควร อาจเป็นเพราะนักเรียนไม่ค่อยได้มีโอกาสในการสร้างสรรค์

งานเขียนอย่างเป็นจริงเป็นจัง อีกทั้งนักเรียนอาจจะไม่มีแรงจูงใจใจการเขียนมากพอ


แต่ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก พบว่ามีตัวช่วยหนึ่งที่สามารถทำให้การสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ

โดยเฉพาะงานเขียน เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาก แค่ใช้ปลายนิ้วสั่งงาน ตัวช่วยนั้นก็ชื่อ "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ "AI" ที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง


โดยการจัดการเรียนรู้ที่จะทำมาแบ่งปันในวันนี้ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง "บันเทิงคดี"

ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งจุดประสงค์ในการเรียนรู้ คือการให้นักเรียนได้สร้างชิ้นงานบันเทิงคดี

ในหัวข้อ "ของดีที่บ้านฉัน" โดยขอบข่ายของชิ้นงาน จะให้นักเรียนแต่งเรื่องเป็นนิทานเรื่องสั้น ๆ

พร้อมกับจัดทำภาพประกอบ แล้วนำมาผนวกกันเป็นรูปเล่ม



กระบวนการในการจัดการเรียนรู้

สำหรับกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ ผู้เขียนจัดกิกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแบบสืบเสาะหาความรู้ (The 5Es of Inquiry-Based Learning) ซึ่งจะขอไม่ลงรายละเอียดในกระบวนการสอนทั้งหมด แต่จะเน้นไปที่พระเอกของกิจกรรม ซึ่งก็คือการใช้ AI นั่นเอง หากคุณครูอยากได้แนวทางในการสอน ผู้เขียนได้แนบไฟล์แผนการจัดการเรียนรู้ และสื่อ Powerpoint ไว้ให้ในโพสต์นี้เรียบร้อยแล้ว


โดยผู้สอนกำหนดให้นักเรียนลองคิดหัวข้อของนิทาน ภายใต้แนวคิด "ของดีที่บ้านฉัน"

ซึ่งของดีในที่นี้ หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยว อาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น

ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกหัวข้อได้ตามความสนใจ


จากนั้นครูผู้สอนจะให้นักเรียนลองแต่งโครงเรื่อง หรือเหตุการณ์คร่าว ๆ ของเรื่อง โดยมีตัวช่วยคือ AI

จากผู้พัฒนาหลายราย เช่น

  • CHAT GPT จาก OPEN AI ซึ่งวิธีการใช้งานก็ง่าย ๆ เพียงแค่เข้าไปที่เว็บไซต์ chat.openai.com แล้วสมัคร account เพื่อเข้าใช้งาน โดยจุดเด่นของ CHAT GPT คือจะสามารถแต่งเรื่องได้ค่อนข้างยาวและซับซ้อน แต่ถ้อยคำและภาษาที่ใช้ จะดูออกเลยว่า AI เขียน เพราะภาษายังไม่ค่อยสละสลวยมากนัก และอาจมีคำบางคำที่ไม่ค่อยมีใครใช้กันในการสื่อสารทั่วไป





  • ALISA AI เป็น Chatbot ในแอปพลิเคชัน LINE วิธีการใช้งานก็ง่าย ๆ แค่เข้าไปเพิ่มเพื่อน account @alisa จากนั้นก็สามารถเริ่มใช้งานได้เลย โดยจุดเด่นของ ALISA AI คือเป็น AI ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยคนไทย ดังนั้นถ้อยคำที่ ALISA สร้างขึ้นมาจะเป็นถ้อยคำที่ใกล้เคียงกับถ้อยคำของคนไทยเป็นอย่างมาก แต่อาจมีข้อจำกัดคือ โครงเรื่องที่ได้จาก ALISA อาจไม่ยาวและซับซ้อนมากเท่า CHAT GPT



  • BING จาก MICROSOFT โดยวิธีการเข้าใช้งานจะคล้าย ๆ กับ CHAT GPT คือเข้าไปที่เว็บไซต์ bing.com ซึ่งข้อความที่ BING คิดให้ จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับ CHAT GPT เนื่องจากเป็นผู้พัฒนาจากค่ายเดียวกัน



การใช้งานเบื้องต้นของ AI ทั้ง 3 ตัว เพียงแค่พิมพ์คำสั่งลงไปว่าเราต้องการอะไร AI จะประมวลผลมาให้เราทันที เช่น

- "แต่งนิทานเกี่ยวกับหอมและกระเทียม"

- "แต่งเรื่องสั้นเกี่ยวกับผ้าไหม แม่และลูกชาย"

- "แต่งเรื่องผีเกี่ยวกับปราสาทหิน"


ถ้าคุณครูได้ลองใช้ AI เหล่านี้ ก็จะเห็นว่าถ้อยคำภาษาที่ AI สร้างยังเทียบไม่ได้กับของมนุษย์ โดยสิ่งที่ AI ได้เปรียบ คือฐานข้อมูลเกี่ยวกับนิทาน เรื่องสั้น ซึ่ง AI จะสามารถวางโครงเรื่องได้น่าสนใจ มีปมปัญหาที่น่าติดตาม คุณครูจะได้ใช้โอกาสตรงนี้ ให้นักเรียนได้ฝึกการใช้ภาษา เรียบเรียงเหตุการณ์ให้เป็นสำนวนภาษาของตนเอง


เมื่อนักเรียนได้โครงเรื่องคร่าว ๆ แล้ว ก็จะให้นักเรียนช่วยกันเรียบเรียงเรื่องราวให้สมบูรณ์ เพื่อจะนำไปสร้างเป็นหนังสือนิทานต่อไป ซึ่งก็มีตัวช่วยในการสร้างภาพประกอบง่าย ๆ นั่นก็คือ AI อีกเช่นเคย


ผู้เขียนพานักเรียนสร้างหนังสือนิทานในเว็บไซต์ CANVA เป็นหลัก ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ใช้งานค่อนข้างง่าย และนักเรียนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกัน และในเว็บไซต์ CANVA นี้ ก็มี AI ที่ช่วยวาดภาพให้เราอยู่ด้วย โดยเป็นเมนูที่มีชื่อว่า TEXT TO IMAGE


วิธีการใช้งาน TEXT TO IMAGE จะขอไม่ลงรายละเอียดมาก เนื่องจากคุณครูสามารถศึกษาวิธีการสร้างภาพได้จาก YOUTUBE ซึ่งมีผู้แนะนำขั้นตอนไว้ค่อนข้างมากแล้ว โดยการสั่งงาน ก็เพียงแค่พิมพ์คำสำคัญ (KEY WORD) ที่เราต้องการสร้างภาพขึ้นมา จากนั้น AI ก็จะประมวลผลแล้วสร้างภาพขึ้นมาให้เราเลือกใช้งาน


และนอกจากการใช้งาน AI ใน CANVA แล้ว ยังมี AI อีกตัวที่สามารถสร้างภาพน่ารัก ๆ จากคำสั่งได้ นั้นก็คือ BING Image Creator ซึ่งการใช้งานก็เพียงแค่พิมพ์คำสำคัญ (KEY WORD) ที่เราต้องการลงไปในเว็บไซต์ ภาพก็จะถูกเนตมิตรขึ้นมาให้เราเช่นเดียวกับใน CANVA


เมื่อเราแนะนำแนวทางให้นักเรียนได้รู้จักวิธีการในการสร้างผลงานแล้ว ก็ปล่อยให้นักเรียนได้มีเวลาในการคิดสร้างสรรค์ผลงานได้เลย และหลังจากที่นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานเป็นรูปเล่มเรียบร้อยแล้ว คุณครูก็สามารถรวบรวมผลงานของนักเรียไว้บนเว็บไซต์ anyflip.com เพื่อเผยแพร่ผลงานให้เพื่อน ๆ ห้องอื่น รวมถึงคนทั่วไป ได้รับชมผลงาน อีกทั้งยังเป็นการทำงานแบบ paper less ลดการใช้กระดาษ ลดการใช้ทรัพยากรอีกด้วย



จะเห็นว่า AI มีประโยชน์มากมาย เป็นตัวช่วยให้นักเรียนได้สร้างสรรค์ผลงานดี ๆ ได้ แต่ต้องอาศัยกระบวนการที่ครูผู้สอนเป็นโค้ช คอยช่วยให้คำแนะนำในการใช้ภาษาด้วย การจัดกิจกรรมนี้จึงจะประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้



ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ภาษาไทยเทคนิคการสอนProject-Based LearningCommunity Based Learningมัธยมปลายเทคโนโลยีการสอนทักษะความคิดสร้างสรรค์ทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการร่วมมือผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    tonicton

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ