inskru
gift-close

กิจกรรมปฐมวัยโดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามวัฏจักรการสืบเสาะ

3
5
ภาพประกอบไอเดีย กิจกรรมปฐมวัยโดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามวัฏจักรการสืบเสาะ

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน



สืบเนื่องจากการพักรับประทานอาหารกลางวัน ครูได้แนะนำเมนูอาหารประจำวันให้เด็ก ๆ ได้รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งแต่ละวันประกอบด้วย

ข้าวสวย กับข้าวและขนมหวานหรือผลไม้ หนึ่งในผลไม้ที่มีในช่วงนี้ คือ ผลไม้กล้วย แตงโม ผรั่ง แอปเปิล วันนี้ผลไม่ที่เด็ก ๆ ได้รับประทาน คือ กล้วยน้ำว้า ทำให้เด็ก ๆ ได้เห็นเปลือกกล้วยที่มีมากมายและสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวของเปลือกกล้วยอยางหลากหลาย ส่งผลให้เด็กมีคำถามมากมายเกี่ยวกับเปลือกกล้วยที่สงสัยและตั้งคำถามก็ห ดังนี้

ซัน : วันนี้เปลือกกล้วยเยอะมากเลย

เอวา : วันนี้อาหารกลางวันเรามีกล้วย เปลือกกล้วยเลยเยอะมาก

พอ : เปลือกกล้วยเยอะมาก มีกล้วยกี่แบบหรอคะ

เบลล์ : เปลือกกล้วยเยอะเลย เราเอาไปทำอะไรได้ไหมคะ

คิ้ม : เอาไปทำงานได้ไหมคะ

อานนท์ : เอาเปลือกกล้วยแบบไหนไปทำได้ครับ

มินา : เราใช้เปลือกกล้วยอะไร แบบไหนหรอคะ

เนม : เปลือกกล้วยมีหลายแบบมาก

         ครู : ถ้าเด็ก ๆ อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเปลืกกล้วยที่มีอย่างมากมาย เด็ก ๆ ลองสอบถามพ่อ แม่ ผู้ปกครองหรือคนในชุมชนของเด็ก ๆ ว่ามีเปลือกกล้วยแบบใดบ้างหรือมีชนิดใดบ้างนะคะ

         เด็ก ๆ : ครับ/ค่ะ คุณครู

ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ

จากการสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวของเปลือกกล้วยที่มีอยู่มากมาย ซึ่งการสนทนา เป็นไปอย่างสนุกสนาน ครูจึงนำกล้วยมาให้เด็ก ๆ

ได้สังเกตและศึกษาร่วมกัน

จากการสนทนาเด็ก ๆ มีคำถามมากมายที่ต้องการค้นหาคำตอบ ซึ่งร่วมกันคิดค้นหาตามที่เด็กส่วนใหญ่ต้องการค้นหาคำตอบมากที่สุด ดังนี้

คำถามที่ 1 มีเปลือกกล้วยอะไรบ้าง

คำถามที่ 2 มีเปลือกกล้วยกี่แบบ

คำถามที่ 3 มีเปลือกกล้วยสีอะไรบ้าง

จากคำถามที่เด็ก ๆ และครูสนทนา เพื่อเลือกคำถามที่ต้องการค้นหาคำตอบมากที่สุด โดยเด็ก ๆ ให้ความสนใจทุกคำถาม เด็ก ๆ จึงช่วยกันคัดเลือกคำถามที่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ต้องการค้นหาคำตอบมากที่สุด ได้แก่

มีเปลือกกล้วยอะไรบ้าง

คำถามที่ 1 มีเปลือกกล้วยอะไรบ้าง

จุดประสงค์ เพื่อค้นหาคำตอบว่ามีเปลือกกล้วยอะไรบ้าง

ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน

เด็ก ๆ และครูสนทนาร่วมกัน จากคำถาม “มีเปลือกกล้วยอะไรบ้าง” เพื่อให้ทราบประสบการณ์ของเด็กเกี่ยวกับกล้วยในท้องถิ่นพร้อมทั้งให้เด็ก ๆ คาดคะเนคำตอบ

ครู : จากคำถามที่เด็ก ๆ อยากรู้ “มีเปลือกกล้วยอะไรบ้าง” 

ฟรอยด์ : มีเปลือกกล้วยน้ำว้าครับ

ปีใหม่ : กล้วยไข่ค่ะ หนูเคยทาน

เนม : เคยเห็นกล้วยน้ำว้าที่โรงเรียนค่ะ

นอซิบ : กล้วยน้ำว้าครับ


สรุปการคาดคะเนของเด็ก

         หลังจากจบการสนทนาร่วมกัน เด็ก ๆ จึงตกลงร่วมกันว่าจะกลับไปหาคำตอบโดยการสอบถามผู้ปกครองและค้นหาจากอินเตอร์เน็ต แล้วกลับมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังในวันถัดไป

         จากการที่เด็ก ๆ ไปสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเปลือกกล้วยจากผู้ปกครองและค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตได้ข้อมูล ดังนี้

         1. ข้อมูลจากผู้ปกครอง สรุปได้ว่า กล้วยมีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยจะเป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง จึงทำให้มีเปลือกกล้วยตามชนิดของกล้วย

         2. ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต สรุปได้ว่า กล้วยมีหลายชนิดและหลายสายพันธุ์

         3. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สรุปได้ว่า เมื่อสำรวจภายในโรงเรียนพบต้นกล้วยน้ำว้าและอาหารกลางวันเป็นเมนูกล้วยน้ำว้า จึงพบเปลือกกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก


ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ

เด็ก ๆ และครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับชนิดของกล้วยและเปลือกกล้วย เด็ก ๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชนิดของกล้วยและเปลือกกล้วยที่ได้ไปสอบถามผู้ปกครองมาและเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง

พอ : แม่หนูบอกว่าที่บ้านมีกล้วยน้ำว้าค่ะ

ซัน : กล้วยหอมครับ

เอมิ : กล้วยน้ำว้ากับกล้วยไข่ค่ะ

นอซิบ : กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมครับ

วาวา : ที่บ้านหนูมีต้นกล้วยน้ำว้าค่ะ มีเปลือกกล้วยน้ำว้า

ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย

เด็ก ๆ สังเกตและเปรียบเทียบกล้วยและเปลือกกล้วย

ขั้นที่ 5 บันทึกข้อมูล

เด็ก ๆ บันทึกผลการทดลองโดยการวาดภาพระบายสีกล้วย

ขั้นที่ 6 อภิปรายผล  

เด็กและครูสนทนาถึงคำถามที่เด็กอยากรู้ “มีเปลือกกล้วยอะไรบ้าง” ให้เด็ก ๆ ช่วยกันบรรยายสรุปผล

การหาคำตอบของเด็ก ๆ 

ครู : จากการที่เด็ก ๆ หาคำตอบ “มีเปลือกกล้วยอะไรบ้าง” สรุปว่ามีกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม

กล้วยเล็บมือนาง

เด็ก ๆ : การคาดคะเนคำตอบบางข้อ ตรงตามที่คาดคะเนไว้

เด็กและครูร่วมกันสรุปผลที่คาดคะเนกับสิ่งที่เด็ก ๆ ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับมีกล้วยอะไรบ้าง

ครู : จากการที่เด็ก ๆ ได้ช่วยกันหาคำตอบ เรื่อง “มีเปลือกกล้วยอะไรบ้าง”และเด็ก ๆ ได้ทราบแล้ว

เด็ก ๆ มีคำถามใดที่อยากทราบอีกไหมคะ

เนม : เรามีเปลือกกล้วยเยอะมาก แล้วเอาไปทำอะไรได้ไหมคะ

เนย : ถ้าเราเก็บเปลือกกล้วยไว้ ทำอะไรได้อีก

กาย : เราเอาเปลือกกล้วยไปใช้ทำอะไรดี

ครู : ได้ค่ะ ไว้คราวหน้าเรามาหาข้อมูลกันนะคะ ว่าเปลือกกล้วยนำไปทำอะไรได้บ้าง


คำถามที่ 2 เปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้จริงหรือไม่

ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ

จากการศึกษาสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเปลือกกล้วยต่าง ๆ เด็ก ๆ และครูจึงสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับประโยชน์ของเปลือกกล้วย ครูจึงนำคำถามสนทนากับเด็ก ๆ


จากการสนทนาเด็ก ๆ มีคำถามมากมายที่ต้องการค้นหาคำตอบ ซึ่งร่วมกันคิดค้นหาตามที่เด็กส่วนใหญ่ต้องการค้นหาคำตอบมากที่สุด ดังนี้

คำถามที่ 1 เปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้จริงหรือไม่

คำถามที่ 2 เปลือกกล้วยนำไปขัดเก้าอี้ให้สะอาดไม่มีรอยได้หรือไม่

คำถามที่ 3 เปลือกกล้วยนำไปขัดโต๊ะให้สะอาดได้หรือไม่

จากคำถามที่เด็ก ๆ และครูสนทนา เพื่อเลือกคำถามที่ต้องการค้นหาคำตอบมากที่สุด โดยเด็ก ๆ ให้ความสนใจทุกคำถาม เด็ก ๆ จึงช่วยกันคัดเลือกคำถามที่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ต้องการค้นหาคำตอบมากที่สุด ได้แก่

เปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้จริงหรือไม่

 

คำถามที่ 2 เปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้จริงหรือไม่

 

 

จุดประสงค์ เพื่อค้นหาคำตอบว่าเปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้

ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน

เด็ก ๆ และครูสนทนาร่วมกัน จากคำถาม “เปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้จริงหรือไม่” เพื่อให้ทราบประสบการณ์ของเด็กเกี่ยวกับประโยชน์ของเปลือกล้วยพร้อมทั้งให้เด็ก ๆ คาดคะเนคำตอบ

ครู : จากคำถามที่เด็กๆอยากรู้ “เปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้จริงหรือไม่” 

ภัทรียา : ขัดได้ค่ะ

นอซิบ : ขัดได้ครับ แต่ว่ามันจะเหนียวๆเหมือนตอนเรากินกล้วยไหมครับ

ไข่มุก : หนูว่าขัดได้นะคะ ที่เปลือกกล้วยมันเหมือนมีน้ำ

หวา : อยากลองเอาเปลือกกล้วยไปขัดค่ะ

 

สรุปการคาดคะเนของเด็ก

         หลังจากจบการสนทนาร่วมกัน เด็ก ๆ จึงตกลงร่วมกันว่าจะหาคำตอบโดยการค้นหาจากอินเตอร์เน็ตและทดลองนำเปลือกกล้วยไปขัดรองเท้านักเรียน สรุปได้ว่า เปลือกกล้วยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย

นำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้

 

ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ

เด็ก ๆและครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเปลือกกล้วยตามที่ได้วางแผนไว้พร้อมทั้งช่วยกันสำรวจอุปกรณ์ต่าง ๆ

ที่เด็ก ๆ นำมาทดลอง จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการทดลอง

ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย

เด็ก ๆ สังเกตและเปรียบเทียบรองเท้านักเรียนของที่ใช้เปลือกกล้วยขัดและรองเท้าข้างที่ไม่ได้ใช้เปลือกกล้วยขัดทำความสะอาด

 

ขั้นที่ 5 บันทึกข้อมูล

เด็ก ๆ บันทึกผลการทดลองโดยการวาดภาพระบายสีเปรียบเทียบรองเท้านักเรียนที่ใช้เปลือกกล้วยขัดและไม่ได้ใช้เปลือกกล้วยขัด

        

 

ขั้นที่ 6 อภิปรายผล  

เด็กและครูสนทนาถึงคำถามที่เด็กอยากรู้ “เปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้จริงหรือไม่”

ให้เด็ก ๆ ช่วยกันบรรยายสรุปผลการหาคำตอบของเด็ก ๆ 

ครู : จากการที่เด็ก ๆ หาคำตอบ “เปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้จริงหรือไม่”

สรุปว่านำเปลือกกล้วยไปขัดรองเท้านักเรียนให้มีความมันเงาได้ ครูสนทนากับเด็ก ๆ อย่างต่อเนื่องโดย

ให้เด็กเปรียบเทียบการคาดคะเนคำตอบกับผลการศึกษา ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

เด็ก ๆ : การคาดคะเนคำตอบตรงตามที่คาดคะเนไว้

เด็กและครูร่วมกันสรุปผลที่คาดคะเนกับสิ่งที่เด็ก ๆ ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้

ครู : จากการที่เด็ก ๆ ได้ช่วยกันหาคำตอบ เรื่อง “เปลือกกล้วยนำไปขัดรองเท้าให้มีความมันเงาได้จริงหรือไม่” และเด็ก ๆ ได้ทราบแล้ว เด็ก ๆ มีคำถามใดที่อยากทราบอีกไหมคะ

วาวา : เรานำเปลือกกล้วยไปขัดอย่างอื่นได้อีกไหมคะ

ฟรอยด์ : เราเอาเปลือกกล้วยไปขัดถังน้ำได้ไหมคะที่มีรอยอยู่

กาย : ขัดแก้วน้ำคุณครูได้ไหมคะ

ผลสะท้อนจากนักเรียน หรือ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

เด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์ตามความสนใจของตนเองโดยการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามวัฏจักรการสืบเสาะเป็นฐาน Science Project (Inquiry Cycle Based Learning) ส่งผลเด็กปฐมวัย

มีทักษะการแสวงหาคำตอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะด้วยตนเองและยังเกิดความแสดงออกในการนำเสนอข้อมูลผ่านการจัดแสดงผลงาน

อนุบาลวิทยาศาสตร์Project-Based Learningทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการสื่อสารทักษะการร่วมมือ

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

3
ได้แรงบันดาลใจ
5
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
Thanyaphat

ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ