inskru
gift-close

Blended Supervision Model

1
0

โมเดลการนิเทศนี้สามารถปรับใช้ได้กับทุกการนิเทศ

ยกตัวอย่างการนิเทศติดตามการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การจัดการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน


มีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ (Analyze)

- วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Need Analysis)

           วิเคราะห์สาเหตุที่นำไปสู่การเกิดความต้องการจำเป็นตามความประสงค์ของสถานศึกษา เรื่องการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

- วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

                            ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนการนิเทศ และเครื่องมือการนิเทศ

- วิเคราะห์บุคคล (Person Analysis)

           สำรวจข้อมูลพื้นฐานครูผู้สอนของโรงเรียนเพื่อศึกษาความพร้อมของการใช้เครื่องมือ และสื่อ เทคโนโลยี ในการนิเทศ ติดตาม

- วิเคราะห์บริบทของโรงเรียน (Context Analysis)

           สำรวจข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนเพื่อศึกษาความพร้อมของเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ต และสำรวจข้อมูลเวลาในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมาวางแผนการจัดกิจกรรมการนิเทศ ในรูปแบบ On site, Online, On demand และ On hand


2. การออกแบบ (Design)

- ออกแบบรูปแบบการนิเทศ

บูรณาการรูปแบบการนิเทศแบบ 4 on คือ ในรูปแบบ On site, Online, On demand และOn hand เพื่อให้ผู้รับการนิเทศสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และไม่ส่งผลกระทบกับเวลาเรียน

ของนักเรียน

- ออกแบบเครื่องมือการนิเทศ

ออกแบบ และจัดทำแผนการนิเทศ และปฏิทินการนิเทศ 

   ออกแบบ และจัดทำคลิปวิดีโอเรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ Online ผ่านช่องทาง Youtube

ออกแบบ และจัดทำห้องเรียน Google Classroom

ออกแบบ และจัดทำแบบสังเกตการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ออกแบบ และจัดทำแบบประเมินแผนจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ออกแบบ และจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศ ติดตามการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การจัดการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ด้วยกระบวนการนิเทศBlended Supervision Model

- ออกแบบกระบวนการนิเทศ

ออกแบบ และจัดทำกระบวนการนิเทศ Blended Supervision Model


3. การนิเทศ ติดตามแบบผสมผสาน (Blended Supervision)

3.1 สื่อสาร พูดคุย เสริมสร้างแรงบันดาลใจต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู และซักซ้อมความเข้าใจขั้นตอน และวิธีการการอบรมกับคณะครูในรูปแบบ Online ผ่านช่องทาง Google meet ดังนี้ คณะครูสามารถ Up skill, Re skill เรื่องการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบ On demand ผ่านช่อง YouTube และลงมือปฏิบัติการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ On hand ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะอยู่ในห้องเรียน Google Classroom ที่ผู้นิเทศได้เพิ่มรายชื่อคุณครูทุกท่านเข้าในห้องเรียนแล้ว

3.2 คณะครู Up skill , Re skill เรื่องการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และ

การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบ On demand ผ่านช่อง YouTube และลงมือปฏิบัติการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ On hand ในห้องเรียน Google Classroom

3.3 นิเทศการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากที่ครูได้ส่งงานมาในห้องเรียน Google Classroom ในรูปแบบ Online เป็นรายบุคคลสำหรับครูที่ต้องพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข หรือครูที่ต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม 

3.4 ลงพื้นที่นิเทศ ติดตาม การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การจัดการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ของคุณครู ในรูปแบบ Onsite 


4. การประเมินผล (Evaluation) 

- ประเมินผล 

ผู้นิเทศประเมินการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และประเมินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในชั้นเรียน 

ผู้รับการนิเทศประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)และประเมินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในชั้นเรียน ของตนเอง

ผู้รับการนิเทศประเมินพึงพอใจ ต่อกระบวนการนิเทศ Blended Supervision Model

- สะท้อนผล

ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศร่วมกันสนทนา ฟัง ทวน ถาม สรุปประเด็น จุดเด่น จุดด้อย ในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การจัดการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน และผู้นิเทศให้ข้อมูลความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  และการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ทั้งในกระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล ตลอดการนิเทศผู้นิเทศต้องคอยส่งเสริม สนับสนุน และให้พลังใจผู้รับการนิเทศ

- สรุปผล

ผู้นิเทศสรุปและรายงานผลการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การจัดการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน เพื่อนําไปผลไปปรับปรุงพัฒนา และวางแผนนิเทศในครั้งต่อไป


5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เผยแพร่ผลงาน (Publicize)

           นำรูปแบบการนิเทศ และรูปเล่มสรุปและรายงานผลการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การจัดการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศึกษานิเทศก์ทั้งในและนอกสังกัด และเผยแพร่ทางช่องทางออนไลน์

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    นิเทศการศึกษา

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    1
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    Tanita Mardnui Saengmuang
    ครูภาษาไทยหัวใจไอที

    ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก

    Tanita Mardnui Saengmuang
    ครูภาษาไทยหัวใจไอที

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ