inskru
gift-close

วิเคราะห์ตัวละครมัทนะพาธา รู้คุณค่าและข้อคิด

0
0
ภาพประกอบไอเดีย วิเคราะห์ตัวละครมัทนะพาธา รู้คุณค่าและข้อคิด

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

"เรียนวรรณคดีมีแต่ท่องจำ" ประโยคนี้คุ้นชินตั้งแต่เรียนจนกระทั่งมาเป็นครู การวิเคราะห์วรรณคดีจึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักเรียน แต่ได้ลองใช้รูปแบบการสอนนี้ในการวิเคราะห์ตัวละครแล้ว ปรากฏว่า นักเรียนวิเคราะห์ข้อคิดแนวคิดสำคัญจากตัวละครในเรื่องได้ จึงอยากมาแชร์รูปแบบการสอนนี้กับคุณครูทุกคนครับ นั่นคือรูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน : CBL ผสมผสานทฤษฎีหมวก 6 ใบ เพื่อวิเคราะห์ตัวละครในวรรณคดี 

ขั้นตอน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน : CBL)

ขั้นที่ 1 : ขั้นกระตุ้นความสนใจ (5 นาที) 

          1. ครูกล่าวทักทายนักเรียน

          2. นักเรียนร่วมกิจกรรม “กุหลาบแห่งความสุข” โดยมีรายละเอียดดังนี้

                    2.1 ครูให้กุหลาบแห่งความสุขให้นักเรียนแรก จากนั้นครูจะเปิดเพลง 1 บทเพลง

         2.2 นักเรียนจะต้องส่งกุหลาบแห่งความสุขไปยังกลุ่มต่าง ๆ หากเพลงจบแล้วดอกกุหลาบอยู่ที่คนใด คนนั้นต้องคลี่ดอกกุหลาบใบแรกออก

         2.4 เมื่อคลี่แล้วนักเรียนต้องตอบคำถามในดอกกุหลาบให้ถูกต้อง หากกลุ่มใดตอบถูกก็จะได้รับคะแนนสะสม โดยในดอกกุหลาบจะมีคำถามเพื่อทบทวนความรู้เรื่อง ความเป็นมาและ                เนื้อเรื่อง เรื่อง มัทนะพาธา จำนวน 6 ข้อ

          3. ครูเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน

ขั้นที่ 2 : ขั้นตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ (5 นาที)

         1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 - 7 คน ตามความสมัครใจของตนเอง

         2. ครูให้นักเรียนร่วมกิจกรรม “วิเคราะห์ตัวละครมัทนะพาธา รู้คุณค่าและข้อคิด” โดยมีรายละเอียดดังนี้

                  2.1 ครูอธิบายการวิเคราะห์ตัวละครด้วยวิธีการหมวก 6 ใบ โดยจะแบ่งนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มมีหัวข้อในการวิเคราะห์ต่างกันออกไปตามสีของหมวกที่ได้รับ ดังนี้

                            หมวกสีขาว     คือ การบอกลักษะนิสัยของตัวละคร

                            หมวกสีแดง     คือ การแสดงความรู้สึกต่อตัวละคร

                            หมวกสีดำ       คือ การบอกข้อเสียของตัวละคร

                            หมวกสีเหลือง   คือ การบอกข้อดีของตัวละคร

                            หมวกสีเขียว     คือ การบอกวิธีการแก้ปัญหาใหม่ให้กับตัวละคร

                            หมวกสีน้ำเงิน   คือ การควบคุมอภิปรายในกลุ่ม

                  2.2 ครูให้แต่ละกลุ่มจับสลากเพื่อเลือกตัวละครที่จะทำการวิเคราะห์ โดยมีตัวละครได้แก่ ท้าวชัยเสน มัทนา สุเทษณ์ นางจัณฑี มายาวิน และศุภางค์

                  2.3 ครูแจกอุปกรณ์ ได้แก่ หมวก 6 ใบ ปากกาสี 2 ด้าม กระดาษฟลิปชาร์ท 1 แผ่น และใบงาน ให้แก่นักเรียนทุกกลุ่ม

ขั้นที่ 3 : ขั้นค้นคว้าและคิด (20 นาที)

         1. ครูแจกใบงาน “วิเคราะห์ตัวละครมัทนะพาธา รู้คุณค่าและข้อคิด” ให้นักเรียน

2. เมื่อนักเรียนได้ตัวละครที่ต้องทำการวิเคราะห์แล้ว ให้นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์ตัวละครตามประเด็นที่ตัวเองได้รับ แล้วจดบันทึกลงในใบงาน

         3. เมื่อนักเรียนได้ผลการวิเคราะห์ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนและอภิปรายกันในกลุ่ม แล้วจดบันทึกผลกาวิเคราะห์เพิ่มเติมลงในใบงานตนเอง

         4. เมื่อได้ประเด็นในการวิเคราะห์ครบแล้ว ให้นักเรียนออกแบบการนำเสนอพร้อมทั้งเขียนลงในกระดาษฟลิปชาร์ท และตกแต่งให้สวยงามเพื่อนำเสนอ

ขั้นที่ 4 : ขั้นนำเสนอผลงาน (15 นาที)

1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานที่ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นหน้าชั้นเรียนเพื่อร่วมกันอภิปราย

ขั้นที่ 5 : ขั้นประเมินผล (10 นาที)

                  1. นักเรียนสรุปข้อคิดที่ได้จากตัวละครทุกตัวลงในโปรแกรม Mentimeter

                  2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปข้อคิดที่ได้จากกาวิเคราะห์ตัวละคร

                  3. ทำแบบทดสอบหลังเรียนในคาบถัดไป

ผลสะท้อนจากนักเรียน หรือ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

นักเรียนได้พัฒนาทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีตัวละครในวรรณคดี ได้รูปแบบการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning และการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนักเรียนได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีมและความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญที่สุดนักเรียนรีวิวว่าสนุกตั้งแต่ขั้นนำเลย

บริบท หรือ ข้อเสนอแนะ

 กิจกรรมค่อนข้างจะใช้เวลามากในบางขั้นตอนครูผู้สอนจึงต้องควบคุมเวลาให้ดี


หมายเหตุ: รูปภาพประกอบขออนุญาตนักเรียนแล้วนะครับ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

ภาษาไทย

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
วันมงคล ทิวงษา
คุณครูสายแอคทีฟ เน้นสนุก ทำจริง ใช้จริง

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ