inskru
gift-close

เรียนทำหุ่นยนต์ ใครว่ายาก? เรียนทำหุ่นยนต์กับโปรแกรมช่วยสอนฯ

0
0
ภาพประกอบไอเดีย เรียนทำหุ่นยนต์ ใครว่ายาก? เรียนทำหุ่นยนต์กับโปรแกรมช่วยสอนฯ

สวัสดีค่ะ วันนี้ครูตุ๊กตาจะมาแบ่งปันประสบการณ์การนำโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาหุ่นยนต์บังคับมือ มาเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สะดวกในการเรียนรายวิชาหุ่นยนต์บังคับมือ ที่ครูตุ๊กตาพัฒนาเครื่องมือเอง นำไปใช้จริงแล้วนักเรียนแฮปปี้ด้วยค่ะ 😊🌷


ก่อนจะมีโปรแกรมช่วยสอนฯ สำเร็จรูป เรามีเพียงแค่ชุดคู่มือ ที่ถึงมีข้อมูลอย่างละเอียดก็จริง แต่พอต้องปฏิบัติจริงก็ไม่ช่วยให้เห็นภาพเท่ากับแอนิเมชันในโปรแกรมช่วยสอนฯ 😼💻


▶️VDO Introducing บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน "การสร้างหุ่นยนต์เบื้องต้น" | คุณครูชญาณัฏฐ์ คำรอด

กดลิงก์นี้ เพื่อดูเลย https://youtu.be/AfY5v0VVH9o


▶️Preview All EPs | บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคุณครูชญาณัฏฐ์ คำรอด

กดลิงก์นี้ เพื่อดูเลย https://youtu.be/s_tRBLl7W9Q



▶️Intro VDO เรียนรู้วิธีการประกอบเกียร์บ็อกซ์ | คุณครูชญาณัฏฐ์ คำรอด

กดลิงก์นี้ เพื่อดูเลย https://youtu.be/JfALR_qMigc


ทำไมการพัฒนาโปรแกรมช่วยสอนหุ่นยนต์ถึงจำเป็น ?

วิชาหุ่นยนต์บังคับมือ เป็นหนึ่งวิชาจากโครงการห้องเรียนพิเศษเน้นคอมพิวเตอร์ฯ ICTP ซึ่งเป็นวิชาที่เน้นการเรียนในทักษะคอมพิวเตอร์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งวิชานี้เป็นรายวิชาเพิ่มเติมที่ตัวครูต้องวางแผนวิเคราะห์ และจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวิชาหุ่นยนต์บังคับมือเอง 🤖🔧


เทคโนโลยีช่วยให้การพัฒนาสื่อการเรียนรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นไปได้ ทำให้การเรียนรู้มีคุณค่า น่าสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจอยากหาความรู้ด้วยตนเอง และเอื้อให้พวกเขาเรียนรู้ได้ในทุกเวลา

 

ครูตุ๊กตา ในฐานะผู้สอน ได้จัดทำนวัตกรรมการเรียนรู้หุ่นยนต์บังคับมือแบบสำเร็จรูป RoboLearn EduKits ขึ้นมาเพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว เรียนรู้ได้ตามความสนใจ เสริมแรงให้ผู้เรียนอยากรู้ ทั้งยังมุ่งพัฒนาการเรียนแบบลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนมีการทบทวนความรู้นอกเวลาเรียนหลังจากที่เรียนในชั้นเรียน ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้นโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้การเรียนรู้ด้วย RoboLearn EduKits เป็นจุดเด่น ทำให้ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น 💡👨‍🎓🏫


นอกจากใช้ในชั้นเรียนแล้ว โอกาสที่โรงเรียนจัดให้มีการอบรม หรือนักเรียนสนใจอยากรวมทีมไปแข่งขันรายการหุ่นยนต์ตามเทศกาลการแข่งขันต่าง ๆ ตัวเครื่องมือชิ้นนี้ก็ช่วยทำให้นักเรียนสามารถมาทวนความรู้และสอนในสิ่งที่นักเรียนพลาดไปได้เลยค่ะ -- พอมีตัวโปรแกรมนี้การเรียนรู้ของนักเรียนก็ง่ายขึ้นเลยค่ะ นักเรียนสามารถเรียนได้ตาม pace การเรียนรู้ของตัวเอง เรียนแล้วเรียนซ้ำก็ได้ เรียนได้ทุกที่ 🌟

________________________________________________

 

คำถามคือ แล้วถ้าเครื่องมือตัวนี้มันเพอร์เฟกต์ แล้วบทบาทครูในห้องยังจำเป็นอยู่ไหม

             จำเป็นค่ะ คือนักเรียนสามารถเรียนรู้จากโปรแกรมฯ เบื้องต้นได้ค่ะ ทดแทนในกรณีที่ครูอาจจะติดภารกิจ (T__T) หรือว่านักเรียนสนใจอยากเรียนรู้นอกเวลาเรียน (เช่น หลังเลิกเรียนหรือวันหยุด) แต่อย่างไรก็ดี การมีครูผู้สอนอยู่ในห้องเรียนคอยสอน และช่วยขยายความในรายละเอียดเล็ก ๆ ก็ยังจำเป็นอยู่ดีค่ะ บรรยากาศการเรียนรู้จะสนุกกว่าด้วยค่ะ 🤖

 

หน้าโปรแกรมตัวนวัตกรรมที่ครูตุ๊กตาทำจะเป็นแบบนี้ค่ะ 🌷


▶️ Manual Robot Program | การสร้างหุ่นยนต์เก็บลูกปิงปอง - คุณครูชญาณัฏฐ์ คำรอด

กดลิงก์นี้ เพื่อดูเลย https://youtu.be/xpH6-wnUreo


ส่วนอันนี้เป็นภาพกิจกรรมจากในชั้นเรียนค่ะ

ทั้งนี้ตัวโปรแกรมนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนครู นักเรียนรุ่นพี่ และทุกคนที่ช่วยทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงได้


ครูตุ๊กตาขอส่งกำลังใจให้กับเพื่อนครูทุกคนที่เห็นปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียน และอยาก take action บางอย่าง

อยากสร้างเครื่องมือ และอยากพัฒนาการสอนตัวเองเพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนค่ะ สู้ ๆ

ไว้จะมาเล่าอีกบ่อย ๆ ค่ะ 🌈❤️❤️❤️

STEMSTEAMหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
ครูตุ๊กกกก
แม่พระแห่ง ICTP ชอบทำหุ่นยนต์ฝุดฝุด เม็ดขนุนLOVER ♥

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ