นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไพล แต่ไม่รู้จัก "ไพล" พืชสมุนไพรที่เป็นชื่อของโรงเรียนและชุมชนตัวเอง
ประกอบกับหลังสถานการณ์โควิดและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ยิ่งทำให้นักเรียนไม่สนใจในท้องถิ่นของตนเอง
จึงนำแนวคิด STEAM x BCG มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนานักเรียนด้วยประเด็นดังกล่าวโดยเน้นการจัดการเรียนรู้แบบ Coding เน้นให้แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและใช้เทคโนโลยีร่วมด้วย
ตั้งคำถามให้นักเรียนชวนสงสัยถึง "ไพล"
สู่การระบุปัญหา เพื่อทำไพลให้เป็นที่รู้จักและสามารถนำไพลมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอาชีพ
สืบค้นและรวบรวมข้อมูล เป็นองค์ความรู้ของตนเอง
ร่วมกันวางแผนพัฒนา สร้างสรรค์เป็นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์
ลงมือสร้างสรรค์ผลงาน ผลิตผลิตภัณฑ์
สู่ น้ำมันไพลแก้ปวดเมื่อย "บ้านทุ่งไพล" ผลิตภัณฑ์จากฝีมือนักเรียน ของโรงเรียน เพื่อชุมชน
และพัฒนาต่อยอดสู่ กานวดฝ่าเท้าด้วยสุขภาพ
นำเสนอผลงาน สร้างเวทีให้กับนักเรียน และสร้างรายได้ระหว่างเรียน
สิ่งสำคัญของการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนได้เห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัว และ
เห็นคุณค่าในตนเอง ว่าตนเองสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมอย่างไร
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย