บทเรียนนี้เกิดขึ้นการที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของช้าง ณ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่อยู่ในพื้นที่ของอำเภอห้างฉัตร ซึ่งเป็นเขตของการบริการของโรงเรียนที่ผมทำการสอนอยู่ ได้เห็นถึงการเป็นอยู่ของช้าง แต่สิ่งหนึ่งที่ผมได้เห็นและรับรู้รับทราบเพิ่มเติม ซึ่งผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนไม่น่าจะทราบเช่นเดียวกันนั้นก็คือ วิถีของคนที่ประกอบอาชีพควาญช้าง "ควาญช้าง" เป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดูแลช้างทุกเชือกให้มีสุขภาพที่ดีและเป็นอาชีพที่มีหน้าที่ดูแลและดูแลรักษาสุขภาพของช้างในด้านต่าง ๆ เช่น การให้อาหารที่เหมาะสม การฟื้นฟูจากบาดแผลหรือโรค การฝึกและปรับปรุงทักษะของช้างในการทำงาน และเพิ่มสัมพันธ์ของช้างกับคน เป็นต้น ซึ่งช้าง และคราวญช้างเป็นสองชีวิตที่มีความสัมพันธ์อย่างแยกออกกันไม่ได้ หากควาญช้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็จะส่งผลไปถึงการดูแลช้างที่ดีด้วย แต่ปัจจุบันอาชีพควาญช้างถูกลืมหรือไม่ได้รับความสำคัญจากหน่วยงานรัฐ สังคม รวมถึงคนในพื้นที่เอง จึงทำให้ต้องเผชิญกับความยากลำบากทั้งเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ รายได้ สวัสดิการ รวมถึงความเสี่ยงในชีวิต
จากการสัมภาษณ์ควาญช้าง ณ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ได้กล่าวว่า “อาชีพควาญช้างเป็นอาชีพที่ต้อง มีใจรักช้าง อดทน และเสี่ยงอันตรายอยู่เสมอ อีกทั้งรายได้น้อย จึงทำให้ไม่มีใครอยากเป็นหรือสนับสนุนให้บุตรหลานของตนเองมาประกอบอาชีพนี้”
ผมในฐานะที่เป็นครูผู้สอน ณ โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอห้างฉัตรที่ผู้เรียนส่วนใหญ่มีครอบครัวและวิถีการดำรงชีวิตร่วมกับช้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยเฉพาะกิจกรรมการเรียนรู้แบบโค้ดดิ้งจึงได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โค้ดดิ้งที่บูรณาการกับบริบทของท้องถิ่น ผ่านการเรียนรู้ในบทเรียน “คู่หูกัน ฉันช้างกับควาญ” ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้วิถีของควาญช้างควบคู่กับการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาบนความเป็นจริงเสมือนในเว็บไซต์ CoSpace Edu อันส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเอง ให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้แบบโค้ดดิ้ง ควบคู่กับเกิดความรักและความผูกพันกับท้องถิ่นของตนเอง บนพื้นฐานของการเรียนรู้อย่างมีความสุข
ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน (15 นาที)
แนวทางการกล่าวจุดประสงค์ในเมื่อผู้เรียน “ทุกคนเป็นคนในอำเภอห้างฉัตร และส่วนหนึ่งที่ครอบครัวอาศัยอยู่ในพื้นที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ แต่หลาย ๆ คนอาจยังไม่ทราบถึงความสำคัญของควาญช้าง ดังนั้นครูจะพาทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตและแก้ปัญหาที่ควาญช้างมักจะพบเจอในการดูแลช้างในแต่ละวันผ่านการเขียนโปรแกรมบนโปรแกรม CoSpace Edu ในรูปแบบความเป็นจริงเสมือน”
ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน (1 ชั่วโมง 15 นาที)
บนเว็บไซต์ CoSpace Edu ที่ผู้สอนได้ออกแบบไว้ จากทั้งหมด 3 สถานการณ์ อิงตามวิถีชีวิตของคราญช้าง
ในแต่ละวัน โดยผู้เรียนจะต้องบูรณาการกับออกแบบความเป็นจริงเสมือน และเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาที่มีการเงื่อนไขแบบวนซ้ำ แบบทางเลือก การกำหนดตัวแปร และการทำซ้ำแบบมีเงื่อนไข ซึ่งมีสถานการณ์ ดังนี้
1) การอาบน้ำให้ช้าง
2) การดูแลสุขภาพ/ตรวจเช็คร่างกายช้าง
3) การฝึก/สอนช้าง
โดยผู้เรียนจะต้องเขียนโค้ดเพื่อช่วยเหลือควาญช้างทำการดำเนินสถานการณ์นั้นให้เสร็จสิ้น
ขั้นสรุป (10 นาที)
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!