inskru
gift-close
พาเด็กเอาชีวิตรอดในโลกใบใหญ่ 2023

จาก โรงเรียนเจ้าปัญหา . . . สู่ นโยบายนี้ พี่ทำได้

1
1
ภาพประกอบไอเดีย จาก โรงเรียนเจ้าปัญหา . . . สู่ นโยบายนี้ พี่ทำได้

. . . จาก ‘โรงเรียนเจ้าปัญหา’

สู่ ‘นโยบายนี้พี่ทำได้. . .’

‘ประชาธิปไตย’ คำที่ดูไกลตัวเด็กๆ เมื่อยุคสมัยที่ผ่านๆ มา แต่ปัจจุบันเด็กๆ ตื่นรู้ มีความเป็น Active Citizen ยิ่งกว่าสมัยโดมยังเป็นเด็กมาก



. . . “โรงเรียนเจ้าปัญหา”

กิจกรรมนี้เด็กๆ จะได้ร่วมกันแชร์ประสบการณ์ที่พวกเขาประสบในโรงเรียนนี้ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ ดีและไม่ดี สบายใจและคับข้องใจ




. . . หลังจากนั้นเด็กๆ จะเดินสำรวจโรงเรียน เพื่อศึกษาปัญหาที่เจอในเชิงลึก ให้เด็กๆ ได้ประจันหน้ากับปัญหาจริงๆ สถานการณ์จริง เด็กๆ จะสร้าง ‘แผนที่ โรงเรียนเจ้าปัญหา’ ขึ้นมาเป็นเครื่องมือทางภูมิรัฐศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหา



. . . ขึ้นชื่อว่าโรงเรียนเจ้าปัญหา เด็กๆ พบเจอปัญหามากมาย ในขั้นนี้จึงย้อนกลับไปยังกิจกรรมแรก ที่ให้เด็กๆ มาแชร์สิ่งที่ชอบไม่ชอบในที่แห่งนี้กัน เพื่อเลือกปัญหา Red Zone ที่เด็กๆ อยากจะแก้ก่อนจริงๆ กลุ่มละ 3 ปัญหา



. . . จากนั้นโดมชวนเด็กๆ ศึกษาปัญหาอย่างลึกซึ้งผ่านคำถามชวนคิด ปัญหานี้สาเหตุมาจากไหน, ส่งผลกระทบยังไง เด็กๆ จะพอรู้ต้นตอของปัญหาผ่านวงสนทนานี้

. . . จบกิจกรรม โรงเรียนเจ้าปัญหา เด็กๆ จะได้โจทย์ที่พวกเค้าค้นพบเอง และอยากแก้ด้วยตนเอง



. . . “นโยบายนี้ . . . พี่ทำได้”

เปิดด้วยคำถาม

“ถ้าพี่ๆ เป็นนายกคนที่ 30 พี่จะ . . .”

ถ้าเป็นผู้นำประเทศ จะทำอะไรดี กระตุ้นต่อมคิดนักเรียนด้วยปัญหาบ้านเมือง

. . . หลังจากนั้นก็จะทำกิจกรรมต่อจากโรงเรียนเจ้าปัญหา โดยก่อนจะเป็นนายก ให้นักเรียนแก้ปัญหาใกล้ตัวอย่างในโรงเรียนก่อน นักเรียนจะออกนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่พวกเค้าเลือกกันมา ผ่านชุดคำถาม

ทำไมถึงอยากแก้ปัญหานี้ ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้น, จะทำกับใคร, จะทำอย่างไร ที่ไหน, ภาพความสำเร็จที่เห็นเป็นยังไง

. . . เด็กจะร่วมกันคิดใคร่ครวญ และออกนโยบายผ่านคำถามชวนคิดชุดนี้ และนำนโยบายนี้ไปแก้ปัญหาจริงๆ ที่เกิดขึ้น




. . . สุดท้ายโดมใช้ ‘ชุดคำถามทรงพลัง’ เพื่อสรุปบทเรียนผ่านวงสนทนากับเด็กๆ

- โรงเรียนแห่งนี้เป็นของใคร

- นักเรียนได้ประโยชน์อะไรบ้างจากโรงเรียนนี้

- ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน หากไม่ได้รับการแก้ไข จะเกิดผลอย่างไร กับใคร

- ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน หากได้รับการแก้ไข จะเกิดผลอย่างไร กับใคร

- ใครควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนี้มากที่สุด เพราะอะไร (คิดว่าคำถามนี้ คือคำถามไฮไลท์)

- หากเกิดปัญหาขึ้นในโรงเรียน นักเรียนจะทำอย่างไร


. . . ความตั้งใจ

หน่วยนี้บูรณาการภูมิศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เข้ากับหน้าที่พลเมือง เรื่องการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตย และใช้องค์ความรู้และทักษะทางภูมิศาสตร์จากความรู้เดิมเมื่อ ป.4, 5 และที่เรียนใน ป.6 ผ่านเลนส์ประชาธิปไตยในโรงเรียน

โดมตั้งใจจะสอนประชาธิปไตย โดยไม่ใช้คำว่าประชาธิปไตยเลย โดยชวนเด็กๆ ที่โรงเรียน ร่วมกันแก้ปัญหาเล็กๆ ที่พวกเค้าพบเจอในโรงเรียน ผ่านการศึกษาปัญหาในกิจกรรม ’โรงเรียนเจ้าปัญหา’ ที่เด็กๆ จะได้ใช้ความรู้จากวิชาภูมิศาสตร์ผ่านการทำแผนที่โรงเรียน เพื่อชี้จุดปัญหาต่างๆ ที่เด็กๆ ร่วมกันเสาะหา และจะได้หาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ผ่านกิจกรรม ‘นโยบายนี้ . . . พี่ทำได้’ โดยเด็กๆ จะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง เพื่อปลูกฝังหัวใจประชาธิปไตยให้ค่อยๆ เติบโตขึ้น โดยยึดโยงกับสิ่งที่เค้าพบเจอจริง ผ่านพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน


ขอบคุณ . . .

- โอกาสในการเปิดห้องเรียนของโดมเพื่อร่วมเรียนรู้

- ห้องเรียนหมาป่า เด็กๆ ป.6 โรงเรียนวัดลัฏฐิวนาราม

- ทีมโรงเรียนวัดลัฏฐิวราราม

- เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

- กสศ. และ I AM KRU

- มหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนพัฒนาตนเองระดับพื้นที่ “กลไกขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดภูเก็ต สู่งานมหกรรมการศึกษาไทย”

- ตนเอง


คลิปการเปิดห้องเรียน : https://fb.watch/mH6af6fvLG/?mibextid=cr9u03


สังคมศึกษาProblem Based LearningProject-Based Learningจิตตศึกษาประถมทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการร่วมมือผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมพลเมืองที่เข้มแข็งGrowthMindset

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

1
ได้แรงบันดาลใจ
1
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
};Dome

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ