ขั้นตอนการสอนคือ
1.ให้ครูใช้คำถามกับผู้เรียนว่ารู้จักคำว่าพ้องไหม
พ้องกับพ่องแตกต่างกันอย่างไร
(เรายกตัวอย่างคำว่าพ่องไม่ได้มีเจตนาใช้คำหยาบ
แต่ปัจจุบันคำว่าพ่องเป็นคำศัพท์แสลงในหมู่วัยรุ่นในเชิงหยาบคาย
ซึ่งพอมีจุดร่วมของยุคสมัยแล้ว เด็กจะหันกลับมาสนใจเนื้อหาทันที)
2.เมื่อนักเรียนแสดงความคิดเห็นแล้วก็ให้ครูเฉลยว่า คำว่าพ้องคืออะไร และเราไม่ควนใช้คำว่าพ่องเพราะเหตุใด เป็นการสอนไปในตัว
3. นักเรียนทำความรู้จักกับคำว่าพ้อง ที่แปลว่าเหมือน จากประโยคตัวอย่าง 3ประโยค
4. ครูอธิบายว่าคำพ้องมี หลายแบบคือ พ้องรูป พ้องเสียง พ้องความหมาย
5. เราจะมาเรียนคำพ้องเสียง เพราะมีโอกาสใช้และเจอมากที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการอ่านหนังสือระดับสูง
การมีคลังคำศัพท์ การอ่านและแต่งคำประพันธ์
6. ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องคำพ้อง โดยครูอย่ารีบกดแผ่นป้ายเปิด ให้คุณครูเปิดโอกาสให้นักเรียนทายประโยค ช่วยกันแต่งประโยคให้แตกต่าง
7. ให้ครูใช้กิจกรรมข้างต้น สลับกับการจดบันทึกของผู้เรียน โดยพิจารณาจากความยากง่ายของคำ คำไหนผู้เรียนมีประสบการณ์ พอจะแต่งประโยคได้
ก็เปิดโอกาสให้เขายกตัวอย่าง
8. กิจกรรมเสริมพิเศษ ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มแล้วแต่งนิทานที่มีคำพ้องให้ได้มากที่สุด พร้อมขีดเส้นใต้คำพ้องทุกคำที่ปรากฏในเรื่อง
9.แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม เขียนป้ายทายคำพ้อง
10. ให้ ผู้เรียนแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ครูแจกป้ายหรือกระดาษให้ จากนั้นให้ครูเปิดภาพ
(ขอบคุณภาพจากเพจ คำไทยอะไรเอ่ย ที่ทางผู้จัดทำนำมาอัปเกรดให้มีการ Active เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้)
และให้ นักเรียนเดาว่า คำพ้องใดอยู่ในตำแหน่งใดจากบทกลอนคำพ้องปริศนา
11. รวบรวมคะแนนและชื่นชมผู้แข่งขันให้กำลังใจ สนุกสนาน
12. สรุปเนื้อหาคำพ้องทบทวนด้วยการอ่านอย่างรวดเร็ว และย้ำประโยชน์ในการเรียนเรื่องคำพ้องให้กับผู้เรียนอีกครั้ง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!