icon
giftClose
profile

Project ความพยายาม 30 วัน เป็น "งานประจำชั้น" ในรูปแบบการบ้านปิดเทอม ที่ครูเปี๊ยกจะชวนเด็กๆ ลอง ฝึกฝนทักษะที่ตนเองสนใจอย่างต่อเนื่อง 30 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการฝึกทักษะตามแผน สามารถสะท้อนตัวตนผ่านกระบวนการฝึกและบอกความต้องการของตนองได้ เพื่อเป็นข้อมูลความสนใจของนักเรียนให้ครูและผปค.ได้พิจารณาผลักดันพวกเขาต่อไปครับ


โดยกระบวนการฝึก จะใช้หลักของ Josh Kaufman ที่บอกว่า หากเราต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จากที่ไม่เคยทำมาก่อนเลย ขอเพียงใช้เวลา 20 ชั่วโมงเท่านั้น ผ่านการฝึกอย่างเข้มข้นมีคุณภาพ เราจะได้ทักษะนั้นมาในระดับที่ใช้งานได้ครับ ส่วนใครที่ต้องการฝึกในระดับเชี่ยวชาญ ก็สามารถฝึกต่อไปได้


ครูเปี๊ยกมองว่า การฝึก 20 ชั่วโมง มีโอกาสจะไม่สำเร็จก็ได้นะครับ แต่เราจะรู้ได้แน่ๆ ว่าเราชอบทักษะนั้นหรือไม่ ถ้าชอบก็ไปต่อ ถ้าไม่ชอบ และเราจะได้ตอบได้ว่าทำไมจึงชอบหรือไม่ชอบ เพราะเวลา 20 ชั่วโมง มากพอที่จะพูดได้ว่า เราได้ลองอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง เป็นวิธีการตรวจสอบความต้องการของตนเอง ซึ่งวิธีการนี้ดึงมาใช้ได้ตลอดชีวิตครับ


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • นักเรียนรู้จักตนเองมากขึ้น
  • ทดลองสู้สิ่งยาก
  • เรียนรู้ และสังเกต Learning curve ของตนเอง
  • ผู้ปกครอง (ผปค.) และครู ได้ข้อมูลสำหรับส่งเสริมนักเรียนต่อไป


สิ่งที่ให้นักเรียนทำ

  • ปฏิทินการฝึกของตนเอง ภายใน 1-2 เดือน
  • สรุปการเรียนรู้ทุกวัน ได้แก่ความรู้สึก สิ่งที่ทำได้ดี ปัญหาที่ยังต้องแก้ไข หรือจะเขียนเป็นไดอารี่ก็ได้
  • ผปค ถ่ายรูปหรือคลิป มาอัพเดทใน Facebook Group ความพยายาม 30 วัน เพื่อให้เห็นการฝึกของเพื่อนๆ


กิจกรรมต่อยอด

  • Show Case ความสามารถของนักเรียนในช่องทาง หรือกิจกรรมต่างๆ
  • เวทีสรุปการเรียนรู้ นิทรรศการแห่งความพยายาม


ตัวอย่างทักษะที่นักเรียนเลือก

  • บิดลูกโป่ง
  • จักรยานอากาศ
  • ใช้จักรเย็บผ้า ทำเสื้อผ้าใส่เอง 1 ชุด
  • Spilt ขา 180 องศา
  • ฝึกเครื่องดนตรีครั้งแรก
  • ฝึกภาษาครั้งแรก
  • ทำ Stop Motion / Animation อย่างง่าย
  • เล่นจั๊กกลิ้งท่ายาก
  • ทำคุ้กกี้ขาย
  • ฯลฯ


(ครูเปี๊ยกก็ฝึก Kalimba ไปพร้อมกับเด็กๆ ด้วย 30 วัน แต่ไม่ได้ไปต่อ แหะๆ)

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 7

ชื่อไฟล์​: 30 วัน 1.jpg

ดาวน์โหลดแล้ว 12 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(1)
เก็บไว้อ่าน
(3)