ผู้เรียนบางกลุ่มมักจะเจอปัญหาในการผันเสียงวรรณยุกต์ที่รูปกับเสียงไม่ตรงกัน สืบเนื่องมาจากนักเรียนมีความเข้าใจผิดว่ารูปวรรณยุกต์เป็นแบบใดเสียงก็จะเป็นแบบนั้น เช่น คำว่า ฝา เข้าใจผิดว่าเป็นเสียงสามัญ เหมือนกับ คำว่า มา เพราะเห็นว่าไม่มีรูปวรรณยุกต์เหมือนกัน หรือคำว่า ค่า เข้าใจผิดว่าเป็นเสียงวรรณยุกต์เอก เพราะเห็นว่าเป็นรูปวรรณยุกต์เอก รวมถึงการที่นักเรียนจำเสียงวรรณยุกต์แต่ละเสียงไม่ได้
ดังนั้น ผู้สอน จึงได้นำบัตรคำต่างๆ ที่มีเสียงวรรณยุกต์แตกต่างกัน โดยจะเน้นไปที่วรรณยุกต์ที่รูปกับเสียงไม่ตรงกันมาให้นักเรียนได้เล่นเป็นเกม เพื่อฝึกเทียบเสียงวรรณยุกต์ต่างๆ
เกมที่ 1 จัดกลุ่ม 4 คน แล้วแจกชุดบัตรคำ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจัดเรียงบัตรคำให้ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา เมื่อกลุ่มใดเสร็จแล้ว ครูตรวจสอบความถูกต้อง โดยให้นักเรียนในกลุ่มอ่านออกเสียงคำในบัตรคำแต่ละเสียงวรรณยุกต์ให้ครูฟัง เพื่อให้นักเรียนเทียบเสียงวรรณยุกต์แต่ละเสียงว่ามีเสียงใดไม่เข้าพวก จากการสังเกตโดยการฟัง
เกมที่ 2 ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มเท่าๆ กัน เพื่อแข่งขันกันนำบัตรคำมาใส่ให้ตรงกับตะกร้าเสียงวรรณยุกต์ ทั้ง 5 เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
โดยแต่ละกลุ่มเข้าแถวเป็นแถวตอนลึก คนแรกของแต่ละแถวหยิบบัตรคำที่วางคว่ำอยู่ขึ้นมา แล้วนำบัตรคำไปใส่ในตระกร้าเสียงวรรณยุกต์ตามเสียงวรรณยุกต์ที่ตรงกับบัตรคำของตนเอง วางเสร็จแล้ววิ่งไปต่อแถวตัวเอง จากนั้นคนต่อไปก็เลื่อนขึ้นมาหยิบบัตรคำแล้วนำบัตรคำไปใส่ในตระกร้าเสียงวรรณยุกต์ตามเสียงวรรณยุกต์ที่ตรงกับบัตรคำของตนเอง เล่นเวียนกันในแต่ละแถวของตนเองแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าบัตรคำจะหมด แถวใครบัตรคำหมดก่อนเป็นผู้ชนะ
หลังจากเล่นเกมแล้วนอกจากนักเรียนจะได้รับความสนุกสนาน นักเรียนก็ยังเกิดการเรียนรู้ถึงความแตกต่างเกี่ยวกับเสียงวรรณยุกต์แต่ละเสียงมากขึ้น...
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!