กระบวนการสอนนักเรียนให้เป็นเลิศในแต่ละด้าน ก็จะมีปัจจัยสำคัญที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ต้องมีแน่ ๆ คือ คุณธรรม จริยธรรม ดังนั้น เราเลยคิดว่า @ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนทักษะในรูปแบบใด เด็กก็สามารถเกิดคุณธรรม ตามมาด้วยจริยธรรม ที่นำไปต่อยอดเองได้โดยอัตโนมัติ เช่น ถ้าเด็กเคยฝึกฝนตนเองโดยชำนาญด้วยการฝึกฝนรูปแบบหนึ่งจนประสบความสำเร็จขั้นหนึ่งแล้ว สมองจะจดจำกระบวนการนั้นและนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสำเร็จในขั้นต่อไป หรือรูปแบบอื่น ๆ ได้อัตโนมัติอย่างไม่น่าเชื่อ
โมเดลนี้เราคิดขึ้นมาจากประสบการณ์โดยตรง จากการที่เราเคยเป็นเด็กนาฏศิลป์ เราและเพื่อนฝึกฝนทักษะมาอย่างหนักหน่วง ในระดับที่เท่ากัน แต่…เราสงสัยว่า..ทำไม? บางคนยังไม่สามารถจะเป็นเลิศได้ หรือทำไม….ไม่เป็นเลิศทุกคน…หล่ะ? เราเลยกลับมาทบทวนปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเราเอง ว่าความเป็นเลิศคืออะไร และเราเป็นเลิศในทักษะนี้หรือยัง? โดยใช้เกณฑ์การประสบความสำเร็จที่ผ่านมาทั้งหมดในชีวิตจนเราได้พบคำตอบว่า นอกจากการฝึกฝนที่สำคัญมาก ๆ แล้ว ยังมีประสบการณ์ที่เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาต่อยอดทักษะด้านนาฏศิลป์ ให้เป็นเลิศได้อย่างแท้จริง เราก็เลยใช้หลักการนี้มาตลอด 6 ปี ในการปั้นเด็ก จนตกตะกอนอีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเป้าหมายความเป็นเลิศ คือ "นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม" ที่แอบแฝงอยู่ โดยที่ตัวเราเองก็มานั่งนึก…อ๋อเออหว่ะ! สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นจริง ๆ ด้วย แม้ตัวเราเองก็มี และไม่แปลกที่เด็กรำทุกคน ไม่ว่าจะที่อยู่ปัจจุบัน และไปเรียนต่อชั้นมัธยมแล้ว มักจะประสบความสำเร็จในชีวิตจริง ๆ (อ่านต่อ/ดูภาพเพิ่มเติมในรูปเล่ม)
ก็เลยเอาเรื่องนี้มาแชร์ พร้อมกับให้เพื่อนครูมองย้อนกลับไปดูกระบวนการของตัวเองว่า….จริงไหม? หรือใครมีมุมมองที่แตกต่างจากเราบ้าง? เราอยากรู้ว่าทักษะอื่นๆ มีวิธีการแบบนี้บ้างไหม แล้วเด็กเกิด คุณธรรม จริยธรรมอะไรบ้าง? มาเล่าให้ฟังหน่อย อยากรู้จริงๆ เผื่ออนาคตเราจะนำวิธีการของทุกคนมาปรับใช้บ้าง ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ “นักเรียนกราบ”
พลังคลื่นลูกใหม่ ปลุกวัฒนธรรมไทยกลับคืนสังคม" โดยใช้กระบวนการ “PEP MODEL” เป็นนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนพลังคลื่นลูกใหม่ ปลุกวัฒนธรรมไทยกลับคืนสังคม ซึ่งระหว่างทางผู้เรียนจะเกิดคุณธรรม จริยธรรมที่หลากหลาย อันก่อให้เกิดความสำเร็จแก่ผู้เรียน และผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตลอดชีวิต ส่งผลให้ชุมชนและสังคมยังคงมีวัฒนธรรมให้ชื่นชมในอนาคตสืบไป
กระบวนการ “PEP MODEL”
PEP (เพพ) หมายถึง ความฮึกเหิม, ความห้าวหาญ, กำลังวังชา, ความเผ็ดร้อน, ความคึกคัก
MODEL (โมเดล) หมายถึง แบบโครงสร้าง
ดังนั้น “PEP MODEL” หมายถึง โครงสร้างแห่งพลัง เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะให้เกิดขึ้นในบุคคล ที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศ ด้านการแสดง สร้างพลังคลื่นลูกใหม่ ปลุกวัฒนธรรมไทยกลับคืนสังคม
P คือ Practic: การค้นหาความสามารถของผู้เรียนที่มีอยู่เดิม หรือเกิดจากความสนใจ ความถนัดมาฝึกฝน ย้ำ ซ้ำ ทวน อย่างต่อเนื่อง โดยการฝึกอบรมให้ความรู้อย่างถูกต้องโดยครูและผู้เชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ โดยฝึกอบรมความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ
E คือ Experience: การปฏิบัติเพื่อทดสอบในสถานการณ์จริงให้รู้ถึงปัญหา จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรคแล้วนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง ฝึกซ้อม ให้เกิดความชำนาญ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้
P คือ Professional: ทักษะที่ได้จากกระบวนการทั้งหมดแล้วต่อยอดพัฒนาไปสู่เป้าหมายในระดับที่สูงขึ้น
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!