icon
giftClose
profile
สวัสดีค้าบบ ทักทายก่อนหยุดยาว ฮา ๆ ^^
เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า หากเราสอนวิชาภาษาอังกฤษ แต่เราอยากให้เด็ก ๆ ได้ทำโปรเจค หรือมีนวัตกรรม คล้าย ๆ กับทำโครงการในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เราจะทำอย่างไรดี สอนโดยใช้วิธีไหนดี วันนี้ ผมขอมาร่วมแชร์ไอเดียว่าด้วยเทคนิคการสอนที่จะทำให้ผู้เรียน (ในรายวิชาภาษาอังกฤษ) ได้มีทักษะสำคัญต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ติดตัวไปเลอ เทคนิคที่จะนำเสนอวันนี้ เรียกว่า "GAPS 5 Steps" หรือภาษาไทยเรียกว่า "กระบวนการคิดชั้นสูงเชิงระบบ 5 ขั้น"

ถ้าดูจากชื่อภาษาไทยแล้ว พี่ ๆ เพื่อน ๆ ก็น่าจะพอเดากันได้นะครับว่า วิธีการนี้ เป็นหนึ่งในวิธีที่ผลลัพธ์ต้องการให้นักเรียนเกิดทักษะการคิด วิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผศ.อลิสา เลี้ยงรื่นรมย์ ได้กล่าวไว้ว่า "GPAS คือ กระบวนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง จากนั้นนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง ใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ สิ่งที่ได้จากกระบวนการเหล่านี้ จะตกผลึกภายในตัวของผู้เรียน จะกลายเป็นตัวตนเป็นบุคลิกภาพของผู้เรียน และสะท้อนออกมาในภาระงานหรือการปฏิบัติที่ครูมอบหมาย"

ก่อนอื่น ผมขอสรุปสั้น ๆ แบบกระชับว่า GPAS 5 Steps นี้ มีทั้งหมด 5 ขั้น (ตามชื่อของมันเลย ฮา ๆ ) มีอะไรบ้าง ป่ะ ไปดูกัน
1. Gathering คือ ขั้นสังเกตและรวบรวมข้อมูล
2. Processing คือ ขั้นคิดวิเคราะห์และสรุปความรู้
3. A1: Applying and Constructing the Knowledge คือ ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้
4. A2: Applying the Communication Skill คือ ขั้นสื่อสารและนำเสนอ
5. Self-regulating คือ ขั้นกำกับตนเองหรือเรียนรู้ได้เอง

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ trueplookpanya.com ทั้งนี้ พี่ ๆ เพื่อน ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวน GPAS ได้ที่ trueplookpanya.com/education/content/90844/-teamet-

เกริ่นนำมาซะยาว แฮร่ ๆ เดี่ยวเราไปดู (ตัวอย่าง) กระบวนการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี GPAS 5 Steps ที่ผมเคยสอนนักเรียนไว้ (เผื่อจะพอเป็นแนวทางและไอเดียให้กับเพื่อนครูได้ค้าบ ^^)
ผมใช้วิธีนี้ สอนนักเรียนระดับชั้น ม.4 รายวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Amazing Rattaphum จำนวนชั่วโมงทั้งหมด 3 คาบ


กระบวนการสอน ก็ดำเนินเหมือนเดิมครับ มีขั้นนำ-สอน-สรุป (ตัวอย่างที่นำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นการสรุปย่อ ๆ แบบคร่าว ๆ ครับ ซึ่งผมได้แนบไฟล์แผนการสอนฉบับเต็มไว้ข้างล่างไว้ครับ)

ชั่วโมงที่ 1
1. ขั้นนำ (Presentation) จะใช้ขั้นตอน Gathering ของกระบวน GPAS นั้นคือ ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มและร่วมกันระดมความคิด (brainstorm) เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว อาหาร รวมถึงสินค้า OTOP ที่มีในอำเภอรัตภูมิ หรืออำเภอใกล้เคียงก็ได้ จากนั้น ครูจะถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นักเรียนเสนอไว้เเละให้นักเรียนตอบ (เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ทักษะการสื่อสาร)
2. ขั้นสอน (ฝึก หรือ Practice) จะผนวกขั้นตอน Processing คือ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่ที่สนใจ (เพื่อต่อยอดสู่การทำโปรเจค)
3. ขั้นนำไปใช้ (Production) ยังคงอยู่ในขั้น Processing ตามกระบวนของ GPAS โดยให้นักเรียนนำข้อมูลที่ศึกษาเพิ่มเติม มานำเสนอให้กับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน และร่วมกันสะท้อน
4. ขั้นสรุป (Wrap-up) ทุกคนช่วยกันสรุปบทเรียน


ชั่วโมงที่ 2
1. ขั้นนำ (Presentation) ในขั้นนี้ ก็จะเป็นการพุดคุย ทักทายทั่วไป และทบทวนเนื้อหาที่ผ่านมา
2. ขั้นสอน (ฝึก หรือ Practice) ในขั้นนี้ จะนำกระบวน A1: Applying and Constructing the Knowledge คือ ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้ มาใช้ คือ ให้นักเรียนดูตัวอย่าง brochure และคลิปวิดีโอแนะนำสถานที่ต่าง ๆ จาก YouTube ให้นักเรียนศึกษาแนวทางการนำเสนอของคนอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางและนำมาปรับประยุกต์กับโปรเจคของตนเอง
3. ขั้นนำไปใช้ (Production) ขั้นนี้ ยังคงใช้กระบวน A1: Applying and Constructing the Knowledge คือ ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้ มาประยุกต์ โดยมอบหมายให้นักเรียนฝึกเขียน script งานของกลุ่มตนเอง และร่วมกันวางแผน ตกลง เรื่องวันเวลาที่จะไปลงพื้นที่เพื่อถ่ายทำโปรเจคของตนเอง (ในขั้นนี้ อาจจะไม่สามารถเสร็จภายในครั้งเดียวในชั้นเรียน ในรายวิชาที่ผมสอน นักเรียนจะมีการนัดหมายนอกชั้นเรียนต่อ เพื่อพุดคุยและร่วมกันปรับแก้ draft เพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ที่สุด โดยเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการนี้ นักเรียนก็จะไปลงพื้นที่ถ่ายทำโปรเจคของตนเองครับ)
4. ขั้นสรุป (Wrap-up) ทุกคนช่วยกันสรุปบทเรียน


ชั่วโมงที่ 3
เมื่อนักเรียนทำเดินการจัดทำโปรเจคเรียบร้อย ได้เวลามาร่วมชมผลงานของนักเรียนกัน
1. ขั้นนำ (Presentation) ร่วมกันพุดคุย ถามถึงปัยหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นช่วงระหว่างการทำ/ถ่ายทำโปรเจค
2. ขั้นสอน (ฝึก หรือ Practice) & นำไปใช้ (Production) ในขั้นนี้ ผมจะใช้กระบวน A2: Applying the Communication Skill คือ ขั้นสื่อสารและนำเสนอ ผนวกกับขั้น Self-regulating ไปเลย โดยให้นักเรียนนำเสนอผลงานวิดีโอที่ได้ไปลงพื้นที่มา และร่วมกันถอดบทเรียนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระบวนการทำโปรเจคนี้ รวมถึงปัญหา อุปสรรคที่พบเจอ และวิธีการแก้ปัญหาของนักเรียน เมื่อทุกคนนำเสนอเรียบร้อย ก็จะมอบหมายให้นักเรียนนำผลงานที่ได้จัดทำไปเผยแพร่ผ่านชองทาง media ของตนเอง
3. ขั้นสรุป (Wrap-up) ทุกคนช่วยกันสรุปบทเรียนและชื่นชมนักเรียนในความเพียร พยายาม ในการทำดปรเจคครั้งนี้


และจากโปรเจคนี้ นอกจากทักษะภาษาที่นักเรียนได้รับแล้ว Skills ต่าง ๆ อื่น ๆ ที่นักเรียนได้เรียนรู้ อาทิ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การเป็นผู้นำ-ผู้ตาม การวางแผน ทักษะ ICT ทักษะการแก้ปัญหา เป็นต้น


ท้ายนี้ ผมขออนุญาตแนบไฟล์ผลงาน (บางกลุ่ม) ที่นักเรียนของผมได้ทำไว้ครับ มีข้อติชมใด ๆ หรืออยากแนะนำใด ๆ สามารถเขียนไว้ในคอมเม้นต์ได้เลยน้า ^^

ปล. ผลงานนักเรียน เคยขออนุญาตจากนักเรียน เพื่อนำมาเผยแพร่เรียบร้อยครับ






Kru' PJ R.Y.






ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 14 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(2)