การสอนแบบ IRMI (การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนการลงทุน) มีพื้นฐานมาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity based learning) โดยใช้เทคนิคที่หลากหลายในการจัดการเรียนรู้ การกำหนดหน้าที่สมาชิกภายในกลุ่ม ศูนย์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม การใช้เกมสะสมรางวัล และการสะท้อนผลโดยผ่านเทคนิควิจารณ์โดยเพื่อน
ขั้นตอนการสอนแบบ IRMI
ขั้นที่ 1 Introduction เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มโดยคละความสามารถในรายวิชาชีววิทยา ทั้งหมด 8 กลุ่ม ให้นักเรียนนั่งประจำโต๊ะกลุ่มของตนเอง แต่ละกลุ่มสมมติเป็นโจรสลัด
1.2 ครูกล่าวทักทายและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนทราบ
1.3 ครูทบทวนความรู้เก่าเรื่ององค์ประกอบหลักของเซลล์ เพื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่เรื่องการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ โดยใช้คำถามกระตุ้นความสนใจ
ครูนำเข้าสู่เรื่องการลำเลียงเข้าออกเซลล์ โดยให้นักเรียนดูภาพ แล้วบอกความสำคัญของการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์โดยเปรียบเทียบกับการทานอาหารของมนุษย์
ขั้นที่ 2 Role play- เป็นการสร้างบทบามสมมติ ช่วยให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม
2.1 ครูสมมติเรื่องราวเกี่ยวกับโจรสลัด เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยการเกริ่นนำเล่าเรื่องในกิจกรรม “ข้าจะเป็นโจรสลัด
แนวการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโจรสลัด เมื่อครั้งสมัยนานมากได้ขุดค้นพบลายแทงสมบัติ ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าใครได้ไปถึงจุดหมายจะพบสมบัติมหาศาล ก่อนที่จะออกเดินทางบนกลางโต๊ะจะพบสิ่งสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งให้สมาชิกของกลุ่มแต่ละกลุ่มเลือกสีประจำตัว 1 สี ซึ่งประกอบด้วย 5 สี ได้แก่ สีเหลือง สีฟ้า สีเขียว สีแดง และสีชมพู จากนั้นนำไปผูกที่ข้อมือให้กับบุคคลที่อยู่ทางด้านขวามือของนักเรียน
3.1 กิจกรรม ตามล่าหาสมบัติ (การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม) ซึ่งครูอธิบายขั้นตอนแต่ละขั้นตอนเพื่อให้แต่ละกลุ่มได้รับทราบถึงเป้าหมายในกิจกรรมร่วมกัน
แนวทางการอธิบายกิจกรรมตามล่าหาสมบัติ
1) โจรสลัดแต่ละกลุ่มจะออกตามหาสมบัติโดยการเดินทางไปตามเกาะทั้งหมด 4 เกาะ ซึ่งให้แต่ละกลุ่มเดินทางตามลายแทงลูกศรที่ปรากฏอยู่บนโต๊ะ มีเวลาให้เกาะ 5 นาที เพื่อทำภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
2) ให้แต่ละกลุ่มตามหาซองภารกิจเป็นซองสีฟ้า ซึ่งซ่อนอยู่ในตู้ที่ติดอยู่กับฝั่งทางเดินตรงกลางของห้องแต่ละกลุ่ม เมื่อแต่ละกลุ่มหาซองสีฟ้าเจอแล้วให้เปิดซองออกจะพบว่าภายในประกอบไปด้วย คำถาม 6 แผ่น แผ่นละ 1 ข้อ รวม 6 ข้อ ในแต่ละข้อจะมีคำใบ้ ให้ข้อละ 3 คำใบ้ ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มหาคำตอบของคำใบ้โดยผ่านกิจกรรม “ตามล่าหาสมบัติ” พร้อมทั้งทำกิจกรรมลงในใบงานการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ คนละ 1 แผ่น ควบคู่ด้วย
ดังนั้น กิจกรรม “ตามล่าหาสมบัติ” จึงมีทั้งภารกิจกลุ่มที่ต้องหาร่วมกัน และภารกิจส่วนตัวที่ต้องทำให้สำเร็จ
- คำถามทั้ง 6 แผ่น และ ใบงานการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ เป็นภารกิจส่วนตัวของสมาชิกภายในกลุ่มทุกคนต้องทำให้สำเร็จ
3) ก่อนจะออกเดินทางจะต้องกำหนดหน้าที่ หน้าที่แรกคือ กัปตันของเรือลำนี้ ผู้ที่มีสีประจำตัวสีแดง ทำหน้าที่ควบคุมการเดินทางการทำภารกิจในครั้งนี้
4) แต่ละกลุ่มมีเวลาศึกษาหัวข้อตามเกาะ 5 นาที เมื่อหมดเวลาแล้วจะมีการเปลี่ยนกลุ่มโดยกัปตันนำสมาชิก เดินทางตามลูกศรที่ปรากฏอยู่บนโต๊ะประจำกลุ่ม วนไปจนครบ 4 เกาะ
4 เกาะ ประกอบไปด้วย เอกสารประกอบศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 4 เกาะ
เกาะปลาไหลไฟฟ้า : ศึกษาโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ และการแพร่แบบธรรมดา
เกาะแมงมุมยักษ์ : ศึกษาการแพร่แบบฟาซิลิเทต และออสโมซิส
เกาะกะโหลกนรก : ศึกษาแอกทีฟ ทรานสปอร์ต
เกาะหมึกยักษ์เจ้าสมุทร : ศึกษาการลำเลียงสารแบบเอนโดไซโทซิสและเอกโซไซ โทซิส
ในระหว่างการทำกิจกรรมตามล่าหาสมัติ
บทบาทของนักเรียน : ในระหว่างเรียนรู้ในแต่ละเกาะ (ศูนย์การเรียน) สมาชิกของแต่ละกลุ่มต้องร่วมกันวางแผนการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเพื่อให้สามารถทำภารกิจกลุ่ม ตอบคำถาม 6 คำถาม และ ภารกิจส่วนตัว ใบงานเรื่องการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ ได้สำเร็จ มีความมุ่งมั่นในการหาคำตอบ ใฝ่เรียนรู้ มีส่วนร่วมในการทำงาน ให้ความช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม และปฏิบัติภารกิจตามเวลาที่กำหนด
บทบาทของครู : ดูแล ช่วยเหลือนักเรียน ใช้ข้อชี้แนะ หรือตอบข้อสงสัยในระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรม และควบคุมเวลาในการศึกษา 5 นาที ต่อ 1 เกาะ หรือ 1 ศูนย์การเรียนรู้
5) เมื่อศึกษาแต่ละเกาะแล้ว ให้แลกซองภารกิจ (เฉพาะซองสีฟ้า) กับกลุ่มด้านข้าง
6) นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของใบงานการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ (ภารกิจเดี่ยว) โดยครูอธิบาย การลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ โดยใช้ power point ประกอบการอธิบาย
3.2. นักเรียนที่มีสีประจำตัว สีเขียว ทำหน้าที่นักตรวจสอบ ตรวจคำตอบในใบภารกิจตามล่าหาสมบัติของกลุ่มอื่น และ นักบัญชี ซึ่งนักบัญชี คือ ผู้ที่มีสีประจำตัว สีเหลือง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นนักบัญชีของกลุ่ม
3.3 นักตรวจสอบ ทำการตรวจคำตอบในใบภารกิจตามล่าหาสมบัติของกลุ่มอื่น ซึ่งมีอยู่ 6 คำถาม
3.4 นักบัญชีตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบว่า นักตรวจสอบ ตรวจคำตอบถูกต้องหรือไม่
จากนั้นนักบัญชีแจ้งจำนวนทองที่กลุ่มตัวเองได้รับ โดยคำตอบถูก 1 ข้อ จะได้รับ ทองคำแท่ง 100 บาท
ครูเขียนจำนวนทองคำแท่ง ของแต่ละกลุ่มลงในตารางบันทึกคะแนนซึ่งอยู่บนกระดานหน้าชั้นเรียน เติมลงในช่อง สีเหลือง
ขั้นที่ 4 Investment การลงทุน แต่ละกลุ่มจะต้องลงทุนตามจำนวนเงินที่ตัวเองมี ก่อนตอบคำถามจะมีการวางเงินเดิมพัน กลุ่มใดตอบถูกได้เงินเพิ่มตามจำนวนเงินที่วางเดิมพัน กลุ่มใดตอบผิดจำนวนเงินจะลดลงตามจำนวนเงินที่ได้วางลงทุน กลุ่มใดมีจำนวนเงินสูงสุดเป็นกลุ่มที่ชนะ
4.1 กำหนดหน้าที่ สมาชิก ในกลุ่ม
ผู้ที่มีสีประจำตัวสีฟ้า ทำหน้าที่เป็นนักเขียน เขียนจำนวนทองในแผ่นกระดาษ A4
มอบหมายให้ผู้ที่ทำหน้าที่นักเขียน ออกมารับปากกาสำหรับเขียนที่หน้าชั้นเรียน
ผู้ที่มีสีประจำตัวสีชมพู ทำหน้าที่เป็น นักยก ยกแผ่นป้ายคำตอบกลุ่มของตนเอง
นักบัญชีทำหน้าที่บันทึกในใบบันทึกรายรับ รายจ่ายของกลุ่ม
4.2 กิจกรรม “ราชาโจรสลัด” ซึ่งครูอธิบายขั้นตอนแต่ละขั้นตอนเพื่อให้แต่ละกลุ่มได้รับทราบถึงเป้าหมายในกิจกรรมร่วมกัน
เป้าหมายของกิจกรรม โจรสลัดกลุ่มใดมีเงินเยอะที่สุดเป็นกลุ่มราชาโจรสลัดผู้ยิ่งใหญ่
วิธีการเล่น
1. คำถามจะมีทั้งหมด 5 คำถาม โดยแต่ละคำถามมีเวลาให้คิดข้อละ 30 วินาที
2. เมื่อหมดเวลา แต่ละกลุ่มจะโชว์ป้ายคำตอบของตนเอง ซึ่งประกอบไปด้วยป้าย A B C และ D
3. ก่อนแต่ละกลุ่มตอบคำถามแต่ละข้อ จะต้องมีการวางทองเดิมพัน โดยขึ้นอยู่กับสมาชิกในกลุ่มจะวางเดิมพันเท่าไหร่ หากกลุ่มนั้นตอบคำถามถูกจะได้รับเท่ากับจำนวนทองที่วางเดิมพัน แต่ถ้าตอบผิดก็จะถูกยึด
4. เมื่อตอบคำถามครบ 5 ข้อ กลุ่มใดมีทองเยอะที่สุด จะได้รับตำแหน่งเป็น “ราชาโจรสลัด”
ยกตัวอย่างของการบันทึกคะแนน
กลุ่มที่ 1 วางเดิมพันทอง 300 บาท และตอบคำถามถูก จึงใส่เครื่องหมายบวก + ไว้ที่หน้าจำนวน 300 บาท
รวมกับจำนวนทองที่ได้รับมาจากตามล่าหาสมบัติ 400 บาท ดังนั้นกลุ่ม 1 จึงมีจำนวนทองรวม 400+300 = 700 บาท (เขียนด้วยปากกาสีแดง)
กลุ่มที่ 3 วางเดิมพันทอง 100 บาท และตอบคำถาม ผิด จึงใส่เครื่องหมายบวก - ไว้ที่หน้าจำนวน 100 บาท
ลบกับจำนวนทองที่ได้รับมาจากตามล่าหาสมบัติ 300 บาท ดังนั้นกลุ่ม 3 จึงมีจำนวนทองรวม 300-100 = 200 บาท (เขียนด้วยปากกาสีแดง)
เมื่อสิ้นสุดรอบสาธิต ครูเริ่มถามคำถามข้อที่ 1 – 5 กลุ่มใดได้ทองมากที่สุด จะได้รับยกย่องเป็น ราชาโจรสลัด
4.3 นักเรียนแต่ละคนได้จัดทำและสื่อความหมายข้อมูลโดยการสรุปเรื่องการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ โดยนำเสนอการสรุปอยูในรูปแบบใดก็ได้ที่นักเรียนสนใจ ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน แผนผัง หรือ mind map ต้องอยู่ในรูปแบบที่ผู้อื่นสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ขอบเขตของการสรุปคือ 1) การลำเลียงสารสารครบทั้ง 8 แบบ 2) แต่ละการลำเลียงจะต้องประกอบด้วยเนื้อหาถูกต้องตามหลักวิชาการและยกตัวอย่างการลำเลียงของสารที่พบ 3) ตกแต่งให้สวยงามบ่งบอกความเป็นตัวเอง โดยนำเสนอผลงานผ่าน https://padlet.com/
เทคนิคการวิพากษ์โดยเพื่อน (Peer review) (50 นาที)
4.4 นักเรียนแต่ละกลุ่มคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดของกลุ่ม 1 ชิ้นงาน เป็นชิ้นงานประจำกลุ่ม
ครูเตรียมอุปกรณ์ต่อ 1 กลุ่ม ดังนี้ 1. กระดาษโน้ต จำนวน 7 แผ่น
2. ปากเคมีสำหรับเขียน
นักเรียนแต่ละกลุ่มวิพากษ์ผลงานของกลุ่มอื่น โดยประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ 1. จุดเด่น 2. จุดพัฒนาเพื่อให้ผลงานดีขึ้น ให้แต่ละกลุ่มเขียนลงในแผ่นกระดาษโน้ต แล้วติดลงบนผลงาน แต่ละกลุ่มต้องวิพากษ์กลุ่มอื่นเป็นจำนวน 7 กลุ่ม
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!