เล่นกับคำ(อีกแล้ววววว 5555)
วัฒนธรรม I C(see) U(you) มาจากคำพ้องเสียง 2 คำ คือ คำว่า ICU ที่เรามักได้ยินจากทางการแพทย์ ผู้ป่วยวิกฤต ห้องฉุกเฉิน ซึ่งไปพ้องเสียงกับอีกคำคือ I See You นั่นเอง เราเลยเอา 2 คำนี้มาเล่นกับงานชิ้นนี้
วัฒนธรรม เกิดจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม จากการสั่งสอน สืบทอด สืบสานต่อกันมาจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต
ในชั้น ม.6 ตัวชี้วีด "วิเคราะห์ความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และเลือกรับวัฒนธรรมสากล"
เราอยากให้ผู้เรียน ได้รู้จัก และเข้าใจสถานการณ์ของวัฒนธรรมในสังคมโลกในปัจจุบัน โดยให้นักเรียนได้เลือกวัฒนธรรมที่ตนเองสนใจ ขึ้นมาศึกษา ในหรือต่างประเทศก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ การละเล่น อาหาร แต่งกาย ประเพณี ดนตรี ฯลฯ สุดแล้วแต่ นร.จะตีความว่าสิ่งนั่นใช่ วัฒนธรรม หรือไม่
โดยเครื่องมือที่ให้นักเรียนใช้ คือ แว่นวัฒนธรรม I C(see) U(You) โดย ผู้เรียนสามารถเลือกได้เองว่าจะใช้แว่นแบบไหน
แว่นการมองวัฒนธรรมแบบ ICU คือ มองวัฒนธรรมนั้นในมุมที่เห็นว่า กำลังเกิดวิกฤตกับวัฒนธรรมนั้น ประหนึ่งว่า เราบอกกับนักเรียนในคาบว่า ให้สมมุิตว่าเรา คือ หมอจริง ๆ แต่เป็นหมอที่กำลังวินิจฉัย อาการป่วยของคนไข้วิกฤต ICU น่าเป็นห่วง ต้องได้รับการรักษา ดูแล ฟื้นฟู อนุรักษ์ หรือ กำลัฃจะหายไปในมุมมองของหมอ หรือ ตัวนักเรียนเอง
แว่นการมองวัฒนธรรมแบบ I see you คือ มองวัฒนธรรมนั้นในมุมที่เห็น เราเห็นเธอนะ ฉันเห็นนะ ฉันอยากนำเสนอวัฒนธรรมนี้ขึ้นมาให้คนได้เห็น หรือ อาจไม่มีคนรู้จัก หรือ อาจหลงลืม เพื่อนำเสนอว่ามีวัฒนธรรมนี้อยู่ในสังคม
รูปแบบชิิ้นงาน : อินโฟกราฟฟิก /โปสเตอร์นำเสนอวัฒนธรรม ตามแว่นที่ นร.เลือกใส่ในการมองวัฒนธรรม
แต่ละแว่นทำงานอย่างไร?
แว่น ICU
-ระบุชื่อวัฒนธรรม
-ระบุความวิกฤติ/อาการป่วย
-ระบุสาเหตุที่คาดว่าทำให้เกิดวิกฤติ
-ระบุแนวทาวการรักษา,ฟื้นฟู
-ระบุสถานที่ของแหล่งวัฒนธรรม
แว่น I See You
-ระบุชื่อวัฒนธรรม
-ระบุลักษณะของวัฒนธรรมนั้น
-ทำไมจึงเลือกนำเสนอวัฒนธรรมนี้
-ระบุสถานที่แหล่งวัฒนธรรมนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจาก มอบหมายชิ้นงาน
นร.ตั้งใจทำชิ้นงานกันมาก ๆ ทำออกมาได้ดีเลย
นร.ใช้แว่นวัฒนธรรมทั้ง 2 แบบได้ดี มีมุมมองการมองวัฒนธรรม ทั้งในและต่างชาติได้น่าสนใจ บางวัฒนธรรมที่เราไม่รู้จัก ก็สามารถเรียนรู้จากงาน นร.ได้
มุมมองต่อวัฒนธรรมของ นร มีทั้งด้านลบ และด้านบวก เช่น บางส่วนมองว่าล้าสมัย ขณะที่บางส่วนมองว่าวัฒนธรรมบางอย่างควรรักษาไว้ ซึ่งบางมุมมองอาจขัดต่อกระแสสังคม แต่เรามองว่า การให้ นร. ได้ฝึกวิพากษ์ จะทำให้เขาอยู่ในสังคมได้ ผ่านการยอมรับความแตกต่าง ใช้ชีวิตอย่างมีสติ มองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอย่างเข้าใจ
ทั้งนี้ ไม่ได้มีเจตนาด้อยค่าวัฒนธรรม ความเชื่อใด ๆ ทุกวัฒนธรรม ความเชื่อ มีเสน่ห์และความน่าสนใจในตัวเอง การจะเลือกเชื่อ และน้อมรับวัฒนธรรมความเชื่อใด ๆ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ที่เราทุกคนในฐานะพลเมืองโลกควรให้ความเคารพ เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!