icon
giftClose
profile

เรื่องน้ำๆของพี่ป.1

5500
ภาพประกอบไอเดีย เรื่องน้ำๆของพี่ป.1

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

"การศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นการเรียนรู้ที่จัดประสบการณ์ในการปฏิบัติให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทำงานจริงอย่างมีระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา วิธีการหาความรุ้ความจริงอย่างมีเหตุผล ได้ทำการทดลอง ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง รู้จักการวางแผนการทำงาน ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ตลอดจนได้พัฒนากระบวนการคิดโดยเฉพาะการคิดขั้นสูง และการประเมินตนเอง โดยครูเป็นผู้กระตุ้นเพื่อนำความสนใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนมาใช้ในกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง นำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ การฟัง และสังเกตจากผู้รู้ โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มที่จะนำมาสู่การสรุปความใหม่"

นำไปสู่การออกแบบไอเดียการจัดการเรียนรู้ของของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 "เรื่องน้ำ ๆของพี่ป.1" ที่ถูกออกแบบโดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างมีลำดับขั้นตอน พวกเขาจะได้เรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่เนื้อหาแต่จะเป็นกระบวนการที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติของพวกเขาเอง ผ่านจุดประสงค์ของกิจกรรมนี้

1.ผู้เรียนร่วมกันออกแบบวิธีการที่จะแก้ปัญหาความขุ่นของน้ำ ด้วยกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์

2.ผู้เรียนร่วมกันนำเสนอผลงานและอภิปรายชิ้นงานด้วยกันโดยเชื่อมโยงระหว่างหลักฐานและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 ลงพื้นที่ศึกษา/ ศึกษาสถานการณ์/เหตุการณ์ เพื่อระบุประเด็นที่นักเรียนสนใจ

1.ครูนำเสนอคลิปวีดีโอเกี่ยวกับแหล่งน้ำในโรงเรียนที่ผู้เรียนคุ้นเคย พร้อมทั้งให้ผู้เรียนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันจากประสบการณ์เดิมของพวกเขา พร้อมทั้งระบุเหตุผลสนับสนุนความคิดนั้น

2.ครูนำเสนอน้ำที่มีความแตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ น้ำใส น้ำขุ่น และนำ้มีสี แล้วให้พวกเขาวิเคราะห์ร่วมกันผ่านคำถามว่า “คิดว่านำ้แบบไหนที่ดื่มได้ แล้วทราบได้อย่าง” พวกเขาจะระดมความคิดแลกเปลี่ยนกันพร้อมให้เหตุผลสนับสนุนเหตุผลตัวเอง “คำตอบที่คาดหวังของครูคือ น้ำใส”

ขั้นที่ 2 สำรวจแนวคิดและทักษะที่เกี่ยวข้อง

3.ครูถามคำถามว่า “แล้วน้ำที่ขุ่นนั้นจะมีวิธีทำให้ใสได้อย่างไร” 

4.เมื่อผู้เรียนได้รับประเด็นท้าทายพวกเขาต้องออกแบบ ผ่านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการเลือกใช้วัสดุ รวมทั้งพวกเขาสามารถเลือกวิธีการออกแบบหรือสร้างได้อย่างอิสระ จากการวิเคราะห์ของตัวเองและทีม

5.พวกเขาต้องแบ่งปันและแชร์ไอเดียเพื่ออกแบบการทดลองร่วมกัน รวมทั้งสร้างแบบทางความคิดและแบบบันทึกผลการทดลองของกลุ่มตนเอง

ขั้นที่ 3 สืบเสาะและเลือกใช้วัสุดอุปกรณ์ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม งบประมาณและความคุ้มค่า สู่การออกแบบ

6.ผู้เรียนจะต้องนำเสนอไอเดียและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ในลักษณะการคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบจากผลการทดลองกลุ่มอื่นๆ 

7.และร่วมเติมเต็มส่วนที่ยังขาดหายจากผลการทดลองของกลุ่มตัวเอง ในขั้นนี้พวกเขาจะมีหลักฐานสนับสนุนความคิดจากชิ้นงานกลุ่มของพวกเขา

ขั้นที่ 4 นำเสนอแนวทางการพัฒนาและการแก้ปัญหาด้วยบริบทอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

8.ครูต่อยอดไอเดียจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบงานของแต่กลุ่มด้วยคำถามที่ว่า “เราจะมีวิธีการตรวจสอบสีของน้ำได้อย่างไร”

9.พวกเขาจะใช้ ipad โดยใช้แอพกล้องและโฟโต้ในการถ่ายรูปน้ำและนำมาเปรียบเทียบกันจากค่าสีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจากรูปภาพและพวกเขาจะจดบันทึกค่าตัวเลขเหล่านั้นเพื่อสร้างผลสรุปของข้อมูล

10.หลังนั้นพวกเขาจะนำข้อมูลเหล่านั้นนำเสนอกับเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอีกครั้งจากข้อมูลเชิงประจักษ์จากการทดลอง

ขั้นที่ 5 ทดสอบประสิทธิภาพ บันทึกผล และปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งสรุปและสะท้อนคิดเรื่องที่เรียน

11.พวกเขาร่วมกันปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหานำ้ขุ่นให้ใสจากการวิเคราะห์และนำเสนอชิ้นของกลุ่มเพื่อนๆ 

12.ครูประเมินการลงข้อสรุปเพื่อนประเมินคำตอบของวิธีการที่ได้มาของแต่ละกลุ่มจากหลักฐานเชิงประจักษ์และการได้มาขอวงกระบวนการเหล่านั้นจากการสร้างการทดลองทางวิทยาศาสตร์

หมายเหตุ** ครูทำการประเมินผู้เรียนจากการใช้ rubric score และการสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถามของผู้เรียนในทุกขั้น

ผลลัพธ์ที่เกิด หรือ คาดว่าจะเกิดขึ้น

กิจกรรมเรื่องนำ้ๆของพี่ป.4 ถูกกำหนดจากผู้เรียนที่สังเกตเห็นน้ำที่ขุ่นจากแหล่งน้ำธรรมชาติในโรงเรียนรวมทั้งความคาดหวังที่ต้องการจะทำให้น้ำนั้นหายขุ่นนำไปสู่การออกแบบบทเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นนักคิดวิเคราะห์ นักปฏิบัติโดยอาศัยกระบวนการหรือวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาหรือหาคำตอบนั้นด้วยการลงมือปฏิบัติผ่านกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ พวกเขาจะรู้จักการตั้งคำถามและแก้ปัญหา รวมทั้งการออกแบบที่ต้องอาศัยความเหมาะสมของงบประมาณและความคุ้มค่าในออกแบบ และการทำงานเป็นทีม เข้าใจกระบวนการแลกเปลี่ยนอภิปรายร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ทำให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนเทียบชิ้นงานและผลการทดลองของพวกเขากับกลุ่มอื่นๆ อย่างมีหลักฐานและร่องรอยทางความคิดเชิงวิทยาศาสตร์

บริบท หรือ ข้อเสนอแนะ

ในบริบทเนื้อหาวิชา กิจกรรมเรื่องน้ำๆของพี่ป.1เป็นวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์การออกแบบบทเรียบนต้องคำถึงธรรมชาติของผู้เรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด รู้จักการตั้งคำถามและหาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการอธิบายปรากฎการณ์ที่พบเจอจากประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และบทบาทที่สำคัญของครูจะกลายเป็นผู้ที่พาทำกระบวนการและสังเกตผู้เรียนทุกคนในชั้นเรียน

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(3)