หลายคนมักจะคิดว่า Creative Thinking ทุกคนไม่สามารถมีได้และเป็นเรื่องที่ยากที่จะมีทักษะนี้ แต่แท้ที่จริงแล้วทุกคนสามารถสร้าง Creative Thinking ได้ เพราะสามารถสร้างได้หลายวิธี และหลายคนก็มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันไป
“Creative Thinking”
คือ ความสามารถในการสร้างหรือประมวลความคิดใหม่ ๆ
ซึ่งอาจไปเป็นได้ทั้งรูปแบบของแนวคิด วิธีการ หรือการเขียนออกมาเป็นภาพ
จะเรียกว่าการ “คิดออกนอกกรอบ” ก็ไม่ผิด
การเรียนวรรณคดีไทยในทุก ๆ เรื่อง เมื่อนักเรียน เรียนบทนำเรื่อง เนื้อเรื่องและข้อคิดที่ได้รับจากเรื่องเสร็จสิ้น ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีทั้งด้านวรรณศิลป์ ด้านสังคมและด้านเนื้อหาส่งคุณครู การนำเสนอผลงานของนักเรียนก็ถูกจำกัดกรอบความคิดอยู่ที่ผังความคิด Infographic และสรุปลงสมุดหรือสรุปลงในใบงาน ส่งผลให้นักเรียนไม่กล้าคิดนอกกรอบ เพราะกลัวผิดหรือแตกต่างจากที่เคยทำมา
หลังจากได้เข้าร่วม Exclusive Workshop ในโครงการ THE EDUCATOES THAILAND ประจำปี 2566 ในแนวคิด “การสร้าง Influencer ด้านการศึกษา” จัดโดย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS Academy ประทับใจกิจกรรมการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ที่คุณครูกาแฟ จาก เพจเฟซบุ๊ก "Premium Bio by ครูกาแฟ" นำมาจัดกิจกรรมให้คุณครูทั้ง 15 คนได้ร่วมสนุก จึงลองนำมาทดลองใช้ในห้องเรียนเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีไทยเรื่อง "ศิลาจารึกหลักที่ 1" โดยให้นักเรียนสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นรูปภาพโฆษณาเชิญชวนจากข้อความและรูปภาพที่ครูกำหนดให้ ซึ่งครูให้นักเรียนในกลุ่มช่วยกันจำข้อความและรูปภาพเพียง 1 นาที แล้วสร้างสรรค์ผลงานทันที และชี้ให้นักเรียนเห็นว่าภายในระยะเวลาอันจำกัดนักเรียนยังสามารถสร้างสรรค์ผลงานของกลุ่มตนเองได้อย่างน่าประทับใจ และแต่ละกลุ่มสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่สั่งสมมาที่ไม่เหมือนกันจนเกิดเป็นการคิดนอกกรอบ หรือความคิดสร้างสรรค์
ก่อนหมดคาบคุณครูจึงได้มอบหมายให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 โดยใช้กระดาษขนาดเอสี่ 1 แผ่นให้สร้างสรรค์ที่สุด ส่วนผลงานจะสร้างสรรค์และน่าติดตามขนาดไหน เดี๋ยวคุณครูแม็กจะนำมาฝากทุกคนนะคะ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!