inskru

ชีวิตติดเกม (วิทยาศาสตร์)

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ชีวิตติดเกม (วิทยาศาสตร์)

สวัสดีค่ะทุกคนนนนนนนนนน !

ห่างหายไปนานมาก ๆ (ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม)

วันนี้เรากลับมาในฐานะ "ครูผู้สอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม.3"

ซึ่งเราจะมาเล่าถึงกิจกรรมที่ใช้สอนในวิชานี้กันค่ะ


กิจกรรมนี้มีชื่อว่า "ชีวิตติดเกม (วิทยาศาสตร์)"

ขออนุญาตเกริ่นคร่าว ๆ ว่า "เด็กนักเรียนที่เราสอนเป็นเด็กสายศิลป์นะคะ พวกเขาจะถนัดในรายวิชาศิลปะ ดนตรี การทำงานเบื้องหลัง หรือเรียกง่าย ๆ ถนัดเกี่ยวกับ Art&Design, Performing Art and Creative Media" ซึ่งมีเด็กนักเรียนส่วนน้อยมาก ๆ ที่ชื่นชอบในรายวิชาวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ครูผู้สอนอย่างเราค่อนข้างจะต้องทำงานหนักในแง่ของการคิดกิจกรรมให้สอดคล้องกับบริบทในชั้นเรียน


โดยส่วนตัวแล้ว เราชอบเล่นเกมหรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ค่ะ เราเลยคิดกิจกรรมหนึ่งขึ้นมา เพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มตัวเองและกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งกิจกรรมที่จะเล่าต่อไปนี้ คล้ายกับการเล่นเกมเศรษฐีหรือการหาขุมทรัพย์ โดยรายละเอียดมีดังนี้


  1. ชื่อกิจกรรม : ชีวิตติดเกม (วิทยาศาสตร์)
  2. จำนวนผู้เล่น : 5-7 คน/1 กลุ่ม (คาบนี้มีนักเรียนทั้งหมด 31 คน)
  3. เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม : 1 ชั่วโมง 20 นาที
  4. วัตถุประสงค์ : เพื่อให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันและการทำงานเป็นทีม รวมถึงการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนอีกด้วย
  5. อุปกรณ์ :

5.1 แผนที่/เส้นทางการเล่นเกม

5.2 ลูกเต๋าแบบกระดาษ

5.3 กรรไกร

5.4 กาว

5.5 หมากเดิน

5.6 Mission card and Collaboration card

5.7 ปากกา/ดินสอ


วิธีการเล่น

  1. ครูแจกแผนที่/เส้นทางการเล่นเกมให้กับผู้เล่นแต่ละกลุ่ม
  2. ครูแจกแผ่นกระดาษลูกเต๋าให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนตัดกระดาษ แล้วประกอบเป็นลูกเต๋าด้วยตัวเอง
  3. เมื่อนักเรียนทุกกลุ่มประกอบลูกเต๋าเสร็จแล้ว ครูอธิบายว่าผู้เล่นทุกกลุ่มมีหมากแค่ 1 ตัวเท่านั้น ซึ่งทุกคนสามารถช่วยกันทอยลูกเต๋า เพื่อเดินไปตามเส้นทางที่กำหนด
  4. ครูอธิบายว่า Card มี 2 ประเภท ได้แก่ 1. Mission Card (mission ที่ช่วยกันทำภายในกลุ่ม) และ 2. Collaboration card (Mission ที่ทำร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ)
  5. เมื่อทอยลูกเต๋าแล้วให้เดินตามเลขที่ทอยได้ หากเดินแล้วพบ Mission card ให้หยุด เพื่อหยิบ Mission card ออกมา แล้วทำตาม mission แต่ถ้าเดินแล้วพบ Collaboration card ให้หยุดแล้วทำกิจกรรมตามที่ Card กำหนด
  6. ในขณะที่ทำ Mission อยู่นั้น เด็ก ๆ สามารถทอยลูกเต๋าเพื่อเดินตามเส้นทางต่อได้เลย ไม่จำเป็นต้องทำ Mission เสร็จก่อน
  7. นักเรียนสามารถเล่นกี่รอบก็ได้ จนกว่าเวลาจะหมด
  8. เงื่อนไข "การชนะ" คือ กลุ่มไหนทำ Mission ได้มากที่สุด = ชนะ หรือ กลุ่มไหนทำเสร็จก่อน และถูกต้อง = ชนะ
  9. เวลาในการทำกิจกรรม ได้แก่ 60 นาที (แล้วแต่ความเหมาะสม)
  10. กลุ่มใดทำเสร็จทุกกิจกรรม ต้องนำมาให้ครูตรวจความถูกต้อง หากถูกต้องและครบถ้วน จะถือว่า "ผ่าน" แล้วไล่เรียงลำดับการชนะ 1,2,3, ...
  11. เมื่ออธิบายเสร็จ ครูเริ่มจับเวลาทันที


ภาพเกี่ยวกับอธิบายวิธีการเล่น


ท้ายคาบ (10 นาที)

ครูผู้สอนร่วมถอดบทเรียนกับนักเรียน ซึ่งสรุปบทเรียนได้ดังนี้

  1. กิจกรรมนี้ทำให้เห็นถึงการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
  2. กิจกรรมนี้ทำให้รู้จักเพื่อนมากขึ้น
  3. กิจกรรมนี้ได้ความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


บรรยากาศการเล่นกิจกรรมนี้

น่าเสียดายมาก ๆ ที่เราไม่ได้ถ่ายรูปกิจกรรมไว้เลย เนื่องจากต้องสนทนากับนักเรียนตลอดทั้งคาบ แต่จะมีภาพ Mission ของเด็ก ๆ ให้ดูบางส่วน โดยรวมบรรยากาศในห้องเรียนดีมาก ๆ ค่ะ เด็ก ๆ ให้ความร่วมมืออย่างมาก สนุกสนาน วุ่นวาย นักเรียนเดินถามข้ามกลุ่มเยอะมาก ๆ เนื่องจากได้ Collaboration Card บางส่วนก็มีบ่น ๆ ว่า ครูคะ มันเยอะมาก 555555555555 บาง Mission ยากไปนิด เดี๋ยวครั้งหน้าจะลองปรับเปลี่ยนใหม่นะคะ ขอบคุณเด็ก ๆ ที่ให้ความร่วมมือดีมาก ๆ



ของรางวัลในการทำกิจกรรม

เราแจ้งเด็ก ๆ ว่า "ทุกกลุ่มได้ของรางวัลนะคะ แต่จะได้ของที่ไม่เหมือนกัน"


ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะคะ ใครนำไปปรับใช้ แวะมาเล่าให้ฟังได้น้า :)

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    วิทยาศาสตร์เกมและกิจกรรมกิจกรรมเสริมทบทวนบทเรียนเติมความรู้เทคนิคการสอนมัธยมต้นสื่อทำมือและอุปกรณ์ทักษะการสื่อสารทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการร่วมมือ

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ก.ร.บ.
    ใครนำไปใช้แล้ว คอมเมนต์เล่าสู่กันฟังได้นะ เราอยากอ่านนน 💖✨ ติดต่องาน: [email protected]

    ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก

    ก.ร.บ.
    ใครนำไปใช้แล้ว คอมเมนต์เล่าสู่กันฟังได้นะ เราอยากอ่านนน 💖✨ ติดต่องาน: [email protected]

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ