inskru
gift-close

เรียน...ชนิดของประโยค ด้วยการการจัดการเรียนรู้แบบ...อุปนัย

0
0
ภาพประกอบไอเดีย เรียน...ชนิดของประโยค ด้วยการการจัดการเรียนรู้แบบ...อุปนัย

พูดถึงเรื่องประโยค เรียกได้ว่าเปรียบเสมือนยาขมของนักเรียนหลาย ๆ คนเลยทีเดียว

แล้วคุณครูจะมีวิธีจัดการเรียนรู้อย่างไรให้นักเรียนวิเคราะห์ชนิดของประโยคที่แบ่งตามโครงสร้าง

ตามหนังสือบรรทัดฐานภาษาไทยให้ได้ ซึ่งเป็นไวยากรณ์ที่ใช้ออกข้อสอบเรื่องประโยคในการทดสอบระดับชาติ


เรียนแล้วต้องไม่ลืม และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง ผู้เรียนจึงต้องสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

ดังนั้น จึงเลือกการจัดการเรียนรู้เรื่องประโยคด้วย "วิธีการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย"

ซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (ไพศาล แมลงทับอง, 2558) ดังนี้

  1. ขั้นเตรียม: ครูทบทวนความรู้เดิมให้แก่นักเรียนโดยการใช้คำถามนำในการเสนอปัญหาที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นเสนอตัวอย่าง: ครูเสนอตัวอย่างอย่างหลากหลายเพื่อให้นักเรียนพิจารณาและหาความสัมพันธ์จากตัวอย่างนั้น ๆ
  3. ขั้นสังเคราะห์: ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแต่ละคน/กลุ่ม ได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อหาองตค์ประกอบร่วม
  4. ขั้นตรวจสอบและสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันอธิบายหรือพิสูจน์ข้อสรุป หลักการ ทฤษฎีบท กฎ สูตรเหล่านั้น
  5. ขั้นนำไปใช้: ให้นักเรียนเลือกข้อสรุป หลักการ ทฤษฎีบท กฎ สูตร มาใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม


"การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยจะช่วยให้นักเรียน
ได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ช่วยฝึกกระบวนการคิด การใช้เหตุผล และการสังเกต"

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ภาษาไทยเทคนิคการสอนเติมความรู้เนื้อหาสาระรายวิชาการวัดและการประเมินผลตัวช่วยครูแผนการสอนProblem Based Learningประถมมัธยมต้นมัธยมปลายอาชีวะกศน.อุดมศึกษาใบงานทักษะการสื่อสารทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการร่วมมือผู้เรียนรู้ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมพลเมืองที่เข้มแข็งGrowthMindset

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insThitsanu Jaroensook

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ