เกมมิฟิเคชั่น (Gamification) เป็นการใช้เทคนิคในรูปแบบของเกมโดยไม่ใช้ตัวเกม เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่สนุกสนาน ใช้กลไกของเกมเป็นตัวดำเนินการอย่างไม่ซับซ้อน อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรม ตรวจสอบ ปรับปรุง และหาวิธีการแก้ไขปัญหา เกมมิฟิเคชั่น เป็นการนำเอาหลักการพื้นฐานในการออกแบบกลไกการเล่นเกม เช่น แต้มสะสม (Points) ระดับขั้น (Levels) การได้รับรางวัล (Rewards) กระดานผู้นำ (Leaderboards) หรือจัดการแข่งขันระหว่างผู้เข้าร่วม (Competition) เป็นต้น มาประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นที่ไม่ใช่การเล่นเกม โดยจำลองสภาพแวดล้อมให้เสมือนการเล่นเกม
.
กลไกของเกมจะช่วยทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนและมีพฤติกรรมตามที่คุณครูต้องการ เช่น นักเรียนทำการบ้านครบตามที่กำหนด (เพราะมีคะแนนมาเป็นตัวกระตุ้นความขยัน) นักเรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียนมากยิ่งขึ้น (เพราะมีการแข่งขันกับเพื่อนคนอื่น ๆ) นอกจากนี้คุณครูไม่จำเป็นต้องออกแบบวิธีการเรียนรู้ใหม่ (Redesign) แต่ใช้เกมมิฟิเคชั่นควบคู่กับรูปแบบการเรียนรู้เดิมที่คุณครูมีอยู่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการใช้เกมภายในห้องเรียน
.
ตัวอย่างการใช้กลไกของเกมมิฟิเคชั่นในคาบเรียนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของครูแม็ก และครูแท็ต โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
ด่านการเรียนรู้
สะสมเหรียญ
สะสมครบ 4 เหรียญและการ์ดกิจกรรม
สะสมครบ 5 เหรียญซื้อสลากกินอิ่ม ในทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน โดยผลการออกสลากจะออกตาม 2 ตัวท้ายของรางวัลที่ 1
.
ข้อควรระวังสำหรับการใช้เกมมิฟิเคชั่น (Gamification) คือ คุณครูจะต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการออกแบบระบบภารกิจ ระบบคะแนนและของรางวัล ระบบกระดานคะแนน ในช่วงก่อนเปิดเทอม เพราะระบบเหล่านี้จำเป็นต้องถูกออกแบบมาอย่างละเอียดรอบคอบ การออกแบบเกมมิฟิเคชั่นที่ไม่ละเอียดจะทำให้กติกาในการได้คะแนนและของรางวัลเกิดความคลุมเครือ และก่อให้เกิดข้อถกเถียงกันภายในชั้นเรียนได้
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!