inskru
gift-close

Google Bard เป็นผู้ช่วยสอนของครูยุคใหม่ยังไง?

0
0
ภาพประกอบไอเดีย Google Bard เป็นผู้ช่วยสอนของครูยุคใหม่ยังไง?

สวัสดีค่ะ ห่างหายไปนาน ในยุคปัจจุบันชีวิตเราอยู่กับข้อมูล อยู่กับเทคโนโลยีเยอะมาก ๆ มีหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นเร็วมาก ๆ 

และหลาย ๆ คนก็กำลังให้ความสนใจกัน

🤖“GenAI” #GenAI

==> ChatGPT

🤖“Chat bot AI” #google

==> Google Bard

.

เราสอนเคมี 6 เทอมนี้นักเรียนเยอะขึ้นอีก (ปีนี้ 4 ห้อง รวมนักเรียน 150 คนโดยประมาณที่ต้องพยายามสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์แบบมีเหตุผลตาม

ผลการเรียนรู้รายวิชาเคมี 6

ปัญหาของเรา "จะทำยังไงให้เราสามารถ ”โค้ช“ นักเรียนที่เรียนได้ทุกๆ คนเท่ากัน

(ตอนแรกกังวลมากบอกตรง ๆ เวลาน้อยเด็ก ๆ มีทักษะไม่เท่ากัน)

.

แต่ตอนนี้เรามี 

“ผู้ช่วยมาแนะนำ😂

==> google Bard”

Google Bard คือเป็น Chat bot หรือเรียกว่า Conversation AI ที่พัฒนาโดย google 

เป็นมากกว่า Google Search ที่เราเคยใช้กัน ด้วยระบบ Large Language Model (LLM) ที่ถูกฝึกให้มีความรู้และความครอบคลุม 

.

เข้าเรื่องเลยดีกว่า 

เรื่องมีอยู่ว่า นักเรียนหลายๆ คนทักษะการสืบค้น/การคัดกรองข้อมูล ยังถือว่าน้อย โดยเฉพาะเรื่องเคมีด้านงานวิจัยที่เป็นเรื่องใหม่ ๆ ทำให้ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร

.

เราสอนนักเรียนในหัวข้อ ”การใช้ความรู้เคมีในการแก้ปัญหา“ รายวิชาเคมี 6 มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอันที่ทำให้เราฝึกคิดอย่างมีเหตุผลผ่านข้อมูลได้

.

ว่าแต่เราจะรู้ได้ไงว่าข้อมูลใน Google Bard ถูกต้อง? 


- สิ่งแรกที่เราทำคือเราฝึกหาข้อมูลจาก Google Search ก่อน

และดูการเชื่อมโยงเอง (อันนี้สอนเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วทำเองหมด

ใช้เวลาเป็นวันๆ พอดีช่วงโควิดเลยมีเวลาเยอะหน่อย)


- หลังจากนั้นเราจด keyword อะไรบ้างที่ทำให้เราเจอข้อมูลที่เราต้องการบ้าง

เก็บอ้างอิงต่าง ๆ ในเมล์ หรือในเอกสาร เพื่อไว้เป็นแหล่งอ้างอิง


- มาลำดับเนื้อหาอีกทีว่าอะไรที่จะเชื่อมโยงได้บ้าง


พอเรามีข้อมูลแล้วและดูจากคู่มือครูเคมี #สสวท ด้วย

ก็พอจับประเด็นและไกด์เด็ก เมื่อตอนที่สอนแรกๆ ได้มากขึ้น 

.

แต่สิ่งที่เราเสียเวลามากๆ คือ เวลา 

และต้องใช้ความคิดเยอะอยู่ที่จะต้อง

พยายามถอดกระบวนการออกมาว่า

จะให้เด็กทำได้อย่างไร

.

.

.

แต่แล้วเมื่อวานก่อน ได้ลองใช้ Google bard

ตามที่ใน YouTube สอน #TheSecretSource 

เราก็มาลองปรับให้เข้ากับการเรียนในวิชาที่เราสอนดู

โดยใช้คำถามที่เราตั้งจากการอ่านสถานการณ์ในหนังสือเรียน และให้AI ช่วยค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่เราต้องการให้หน่อย 

.

ปรากฏว่าใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที

เราได้ข้อมูลการโฟมฉนวนกันความร้อนที่ไม่ใช้สาร CFCs

แถมยังมีคำแนะนำและทางเลือกอื่น ๆ เสริมว่ามีสารใดใช้ได้บ้าง (สามารถดูภาพไฟล์ที่แนบประกอบได้นะคะ)

.

จะบอกว่าข้อมูลตรงนะ (เราค้นภาษาไทย)

แต่แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

อาจจะต้องยังใช้ข้อมูลภาษาอังกฤษ

.

.

.

เพราะฉะนั้น หากอยากจะฝึกคิดวิเคราะห์

สำหรับการสอนนักเรียนที่ไม่เคยฝึก หรือพื้นฐานด้านคิดวิเคราะห์ไม่ค่อยแข็งแรงเลย

แนะนำลองใช้ Google Bard 

เป็นผู้ช่วยครูที่สอนเราฝึก 


ฝึกตั้งคำถามให้เป็น

ฝึกตั้งคำถามที่ดี

.

.

ไม่แนะนำให้ใช้ทำการบ้านแทนนะ 

เพราะข้อมูลบางอย่าง…อาจจะต้อง

มาอ่านเองก่อนอีกที…ว่าใช่ไหม? 


ข้อมูลเกี่ยวกับ GoogleBard

- Bard คืออะไร

cloud-ace.co.th/blogs/c7w0c8-bard-chatbot-ai-google


- ลิงค์เปิดใช้งาน GoogleBard

bard.google.com/?utm_source=sem&utm_medium=paid-media&utm_campaign=q4thTH_sem1&gclid=EAIaIQobChMI09q59YXwggMV2CODAx3nggLfEAAYASAAEgJvzvD_BwE


- รู้จัก Bard - AI chatbot จาก Google คู่ปรับคนใหม่ของ ChatGPT

thedigitaltips.com/blog/google/google-bard-ai-chatbot


ลองแนะนำนักเรียนใช้เทคโนโลยีให้เป็น

เพื่อเค้าจะได้อยู่กับ AI เทคโนโลยีรู้เท่าทัน


#HowToBeTeacher #เคมีกับเทคโนโลยี #สอนเคมี

#ม6 #BANIWorld #bani

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    เคมีตัวช่วยครูมัธยมปลายเทคโนโลยีการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการสื่อสารทักษะความคิดสร้างสรรค์ทักษะการร่วมมือทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    Jirat Nuntaphort
    ชอบสอนโดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย เช่น การใช้สื่อวิดีโอ PowerPoint กระดานอิเล็กทรอนิกส์ ไอแพด โทรศัพท์ และมีกิจกรรมด้านไอทีเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัล

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ