icon
giftClose
profile

จากหน่วย อารมณ์ของเรา ขอยกเรื่องที่อาจจะเป็นปัญหาของหลายๆชั้นเรียน อย่างเรื่อง การโกหก มาเล่าให้ทุกคนฟัง (หน่วยอารมณ์เต็มๆก็จะลง แต่ไม่รู้วันไหนเหมือนกัน🤣)

อันดับแรก ตีมของเราคืออารมณ์นี้สีอะไร ซึ่งจะมีการพูดถึงสีต่างๆคู่กับอารมณ์ในไอเดียนี้หลายครั้งหน่อยนะคะ ดังนั้นขอ wrap up สั้นๆแบบย่อๆ

ว่าแต่ละสีหมายความว่าอะไร

  • สีเหลือง = ความสุข
  • สีฟ้า = ความเศร้า
  • สีแดง = ความโกรธ
  • สีดำ = ความกลัว
  • สีเขียว = ความสงบ
  • สีชมพู = ความรัก

เริ่มต้นที่ กองกระดาษพวกนี้ ให้เด็กๆยืนเป็นวงกลม เราจะขยำกระดาษ และส่งต่อให้เพื่อนอีกคน

เพื่อนจะหยิบกระดาษมาห่อกระดาษเพิ่มอีกชั้น

ส่งต่อให้ใครคนนั้นก็จะห่อกระดาษเพิ่มไปเรื่อยๆ

และนี่คือ ขนาดบอลกระดาษที่ถูกห่อโดยทุกคน

เปรียบเทียบระหว่าง บอลกระดาษก่อนถูกห่อ และ หลังถูกห่อโดยทุกคน


ก่อนจะเฉลยว่ากิจกรรมนี้คืออะไร? ขอให้ลองฟังนิทานเรื่องนี้ดูก่อน

เรื่อง ตัวโกหกเบ้อเริ่มเทิ่ม (เนื้อหาต่อไปนี้มีการสปอยด์)

เรื่องย่อ คือลูคัสทำความผิดแล้วโกหกว่าน้องสาวเป็นคนทำ หลังจากนั้นก็เรื่องมีตัวโกหกติดตามลูคัสไปทุกที่

ลองถามเด็กๆว่า “ทำไมลูคัสถึงโกหก?”

  • กลัวโดนลงโทษ
  • พ่อโกรธ

“แล้วอารมณ์กลัวเป็นสีอะไร? โกรธละสีอะไร? ”

  • ดำกับแดง

“แล้วพอโกหกแล้ว อารมณ์ลูคัสเป็นสีอะไร?”

  • สีฟ้า
  • สีดำ

“ทำไมสีฟ้า”

  • ลูคัสไม่ยิ้ม
  • ตัวโกหกสีฟ้า
  • ลูคัสสงสารน้อง (ไม่บอกหรอกว่าทำไม🤣)

“ทำไมสีดำ”

  • ลูคัสหนีตัวโกหก
  • ลูคัสไม่อยากมีตัวโกหก

“แล้วพอพูดความจริงล่ะ”

  • ก็ไม่เป็นไร
  • มีความสุข
  • ตัวโกหกหายไปเลย
  • พ่อไม่โกรธแล้ว

ที่อยากจะบอกคือ การโกหก 1 ครั้ง ของเด็กๆ ก็เหมือนการห่อกระดาษซ้อนกันไปเรื่อยๆ จากเล็กๆ สุดท้ายใหญ่เบ้อเร้อ

ทำไมเราถึงเลือกโกหก เพราะเรากลัวใช่มั้ย “ใช่” กลัวอะไร? “กลัวโดนลงโทษ” แล้วไม่กลัวตัวโกหกหรอ? “กลัว”

ถ้าพูดความจริงอาจจะไม่โดนลงโทษก็ได้นะ ลองดูรึยัง หลังจากนั้นก็รู้สึกว่าเด็กๆลองเปิดใจเล่ามากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในฐานะผู้ใหญ่ก็ต้องแสดงความมืออาชีพในการจัดการอารมณ์ให้เก่งๆเหมือนกัน ผิดถูกว่ากันไป แต่ไม่ทำให้เด็กรู้สึกกลัวจนไม่กล้าเล่าด้วยเหมือนกัน


งงตรงไหนบอกได้นะคะ เดี๋ยวเล่าเสริม พิมพ์ไอเดียตอนรู้สึกอึนๆเหมือนกัน🤣 หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกคนนะคะ


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(2)