inskru

ห้องเรียนฐานสมรรถนะในวิชาภาษาไทย

8
3
ภาพประกอบไอเดีย ห้องเรียนฐานสมรรถนะในวิชาภาษาไทย

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551

- นอกจากท่องไปสอบบรรจุแล้วเอาไปใช้อะไรอีกบ้าง?

- นอกจากเอาไปใส่ในแผนคู่กับแบบประเมินที่หน้าตาเหมือนกันทุกแผนแล้วเอาไปทำอะไรได้อีก?

- นอกจากวัดและประเมินผลไม่ทันในห้องเรียนแล้ว ก็ยังไม่ได้วัดและประเมินผลตามสภาพจริงอีกใช่มั้ย?

ขอบคุณ การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินฐานสมรรถนะในวิชาสังคมศึกษา ของ อาจารย์ ดร.กนก จันทรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

จากห้องเรียนสังคมศึกษาฐานสมรรถนะ สู่ ห้องเรียนภาษาไทยฐานสมรรถนะ

โครงการโรงเรียนวันเสาร์เสร็จสิ้น ก็ดูเหมือนว่าจะเหงามากเกินไป วันนี้เลยลองนั่งออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินฐานสมรรถนะในวิชาภาษาไทย ดูบ้าง

ขั้นหนึ่ง วิเคราะห์ตัวชี้วัดที่กำหนดว่าตัวชี้วัดใด เป็นตัวชี้วัดระดับ “สมรรถนะ” ที่เป็นการแสดงพฤติกรรม/การกระทำที่เป็นประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ มาใช้งาน ใช้ชีวิต แก้ปัญหา จากนั้นสังเคราะห์ตัวชี้วัดที่เป็นหมวดหมู่เดียวกันเข้าด้วยกันหรือพิจารณาว่าตัวชี้วัดใดบ้างที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนแสดงตัวชี้วัดระดับสมรรถนะได้สำเร็จ

ขั้นสอง กำหนดหัวข้อหรือหัวเรื่องที่จะสอน

ตัวอย่าง วิชาภาษาไทย ม.2

              อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้แก่ หนังสือ บทความหรือคำประพันธ์อย่างหลากหลาย จับใจความสำคัญ สรุปความและอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน นำมาเขียนแผนผังความคิด จากนั้นประเมินคุณค่าหรือแนวคิดที่ได้จากการอ่าน เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิตและมีมารยาทในการอ่าน

ขั้นสาม กำหนดมโนทัศน์ (Concept) สมรรถนะหลัก (Core competency) ขอบเขตเนื้อหาสาระ (ระบุความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ) และงาน/บริบท/สถานการณ์ที่นักเรียนได้พบเจอ

ตัวอย่าง วิชาภาษาไทย ม.2

          อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง ได้แก่ หนังสือ บทความหรือคำประพันธ์อย่างหลากหลาย จับใจความสำคัญ สรุปความและอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน นำมาเขียนแผนผังความคิด จากนั้นประเมินคุณค่าหรือแนวคิดที่ได้จากการอ่าน เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิต และมีมารยาทในการอ่าน

มโนทัศน์

          การอ่านออกเสียงเป็นวิธีการสื่อสารประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ผู้อ่านและผู้ฟังได้รับความรู้ ประสบการณ์ และความเพลิดเพลิน เมื่อจะอ่านให้ผู้อื่นฟังควรอ่านให้น่าฟัง หมายถึงทำให้ผู้ฟังได้รับสารจากบทอ่านถูกต้องและครบถ้วน ผู้อ่านต้องออกเสียงให้ถูกอักขรวิธี แบ่งวรรคตอนถูกต้องเหมาะสมและอ่านสอดแทรกอารมณ์ได้สอดคล้องกับบทที่อ่าน ดังนั้นก่อนอ่านออกเสียงผู้อ่านควรฝึกทักษะการอ่านและทำความเข้าใจสารในบทอ่านให้ชัดเจนและเมื่อศึกษาบทอ่านทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองจะพบว่าปรากฏการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยอย่างหลากหลาย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักความหมายของคำเพื่อนำไปใช้ได้ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ

          การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญเป็นการอ่านเพื่อค้นหาสาระสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อโดยในแต่ละย่อหน้า จะมีใจความสำคัญเพียงใจความเดียวนอกนั้นเป็นพลความหรือส่วนประกอบการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญเป็นการอ่านขั้นพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การอ่านในระดับอื่น

          การเขียนผังความคิด หรือ Mind Map เป็นการสรุปความรู้ ความคิดโดยใช้ภาพ สี เส้น และการเชื่อมโยงแทนการจดบันทึกในรูปแบบความเรียงผู้เขียนผังความคิดสามารถแตกประเด็นความคิดได้หลากหลาย ไม่จำกัดแต่ทั้งหมดต้องสัมพันธ์กัน โดยเริ่มจากประเด็นหลัก เชื่อมโยงไปสู่ประเด็นรองแตกแขนงไปสู่ประเด็นย่อยโดยเฉพาะในปัจจุบันการเขียนแผนผังความคิดด้วยการจดบันทึกเป็นภาพ (Visual Note) มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่นักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้ในการแสดงความเข้าใจจากบทเรียนต่าง ๆ ที่อ่านได้

ขั้นสี่ กำหนดเกณฑ์พฤติกรรมสมรรถนะตามระดับความเชี่ยวชาญ

อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้แก่ หนังสือ บทความหรือคำประพันธ์อย่างหลากหลาย จับใจความสำคัญ สรุปความและอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน นำมาเขียนแผนผังความคิด จากนั้นประเมินคุณค่าหรือแนวคิดที่ได้จากการอ่าน เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิต และมีมารยาทในการอ่าน

ขั้นห้า กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้

ผลลัพธ์การเรียนรู้

          อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้แก่ หนังสือ บทความหรือคำประพันธ์อย่างหลากหลาย จับใจความสำคัญ สรุปความและอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน นำมาเขียนแผนผังความคิด จากนั้นประเมินคุณค่าหรือแนวคิดที่ได้จากการอ่าน เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิต และมีมารยาทในการอ่าน

จะเห็นว่า ข้อความที่วงกลม คือ คำพฤติกรรมที่แสดงถึงสมรรถนะหลัก เนื่องจากบทเรียนนี้เป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จึงใช้คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

          พิจารณาคัดเลือกพฤติกรรมบ่งชี้ของสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ไปถึงการพัฒนาสมรรถนะ

ขั้นหก กำหนดเส้นทางการเรียนรู้ ร่องรอยการเรียนรู้ควบคู่กับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

เมื่อนักเรียนเลือกอ่านหนังสือตามความสนใจจากนั้นจึงรวมกลุ่มเพื่อรวบรวมคำภาษาต่างประเทศในหนังสือดังกล่าวพร้อมอธิบายความหมาย แล้วจับใจความสำคัญ สรุปความและอธิบายรายละเอียด และประเมินคุณค่าหรือแนวคิดที่ได้จากการอ่านเพื่อนำไปสร้างเป็นบอร์ดเกมที่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตได้ (กิจกรรมที่ 5)

กิจกรรมที่ 1 - 4  เป็นการสอนความรู้ (K) ทักษะ (S) และคุณลักษณะ (A) ที่จำเป็นรวมถึงการฝึกใช้ความรู้ทักษะและคุณลักษณะในการอ่านบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองซึ่งร่องรอยหลักฐานการเรียนรู้ที่สะท้อนว่านักเรียนมี K P A ที่จำเป็น คือ การนำเสนอหนังสือที่ชอบ การทำบันทึกคำภาษาต่างประเทศ การทำบทวิจารณ์หนังสือ การทำแผนผังจดบันทึกเป็นภาพ

กิจกรรมที่ 3 เป็นกิจกรรมที่ครูโยน “สถานการณ์” การเลือกหนังสือบทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองมาอ่าน เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต โดยให้นักเรียนสำรวจปัญหาของสังคมโลกในยุค BANI World มาให้ได้มากที่สุด จากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ปัญหาที่ควรเร่งแก้ไขมากที่สุด 5 อันดับแรก แล้วจัดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ (สามารถสอน K S A ควบคู่กับการโยนสถานการณ์ได้) และร่องรอยหลักฐานการเรียนรู้ที่จะได้คือ คลิปแนะนำหนังสือที่อ่านแล้วสามารถนำคุณค่าหรือแนวคิดไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่นักเรียนเลือกมาทั้ง 5 ปัญหาได้

ทุกครั้งที่โยนสถานการณ์ครูต้องให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) การแสดงผลลัพธ์สมรรถนะคิดเกี่ยวกับการอ่านบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองของนักเรียนจากร่องรอยหลักฐานว่าอยู่ในระดับการพัฒนาใด (เริ่มต้น กำลังพัฒนา มาตรฐาน เหนือความคาดหวัง)

กิจกรรมที่ 5 การสร้างบอร์ดเกมที่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตได้จากการอ่านหนังสือ บทความหรือคำประพันธ์อย่างหลากหลายเป็นการออกแบบหลักฐานร่องรอยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดปลายทางเพื่อมุ่งเน้นเน้นตัดสินผลการเรียนรู้ โดยการที่จะให้นักเรียนแสดงผลลัพธ์เชิงสมรรถนะ ครูต้องขยี้ A เพื่อให้นักเรียนนำ K S มาใช้งานในชีวิต และในช่วงแรกของเส้นทางการเรียนรู้ยังไม่ควรที่จะโยนสถานการณ์ลงไป หากนักเรียนยังมี K S A ไม่เพียงพอ

ภาษาไทยทบทวนบทเรียนเทคนิคการสอนเติมความรู้เนื้อหาสาระรายวิชาการวัดและการประเมินผลตัวช่วยครูอนุบาลประถมมัธยมต้นมัธยมปลายอาชีวะกศน.สื่อทำมือและอุปกรณ์ทักษะการสื่อสารทักษะความคิดสร้างสรรค์ทักษะการตระหนักรู้ในตนเองผู้เรียนรู้พลเมืองที่เข้มแข็งGritGrowthMindset

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

8
ได้แรงบันดาลใจ
3
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insThitsanu Jaroensook

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ