❤️🔥ห้องเรียนของครูคนไหนที่รู้สึกว่าสุด ๆ บ้าง
ไหนลองยกมือหน่อย ก็ห้องเรียนเรามันสุดเกินนน
ทำเอาเราเกิดความรู้สึกมากมาย ทั้งสุดเศร้า
สุดโกรธ สุดจะเสียใจ ขึ้นมาผสมปนเปกันในทุกวัน
มรสุมอารมณ์ที่เกิดภายในตัวเรา จะจัดการ
และรับมือได้ยังไงบ้างนะ
วันนี้ insKru และ ChildImpact ขอเปิดประตูมิติ
ชวนคุณครูทบทวนหมู่มวลอารมณ์แต่ละวัน
ว่าจะเป็นอย่างไร และมาร่วมกันหาวิธีจัดการ
ความรู้สึกแบบนี้ไปด้วยกัน !
🌪️คุณครูคงเคยเจอมรสุมอารมณ์จากความป่วน
ความแสบของนักเรียนในห้องกันมาบ้าง
พอลองดูแต่ละอย่างที่ทำ บางทีเราก็รู้สึกโกรธ
รู้สึกเศร้าไปจนถึงรู้สึกน้อยใจ เสียใจขึ้นมากับตัวเอง
แต่ด้วยความเป็นครู เราก็ต้องสอนต่อไป
กลืนความรู้สึกเหล่านี้ไว้ลึก ๆ แล้วปั้นหน้าตา
ให้ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ตลอดทั้งคาบการเรียน
เหมือนกับครูมีอารมณ์เดียวคือสนุกสนาน เฮฮา
ไม่แน่ว่าครูที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่
ก็ต้องเคยคิด หรือเคยทำแบบนี้
ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว
😭แต่การเก็บอารมณ์ความรู้สึกไม่ดีเอาไว้
แล้วเลือกยิ้มแย้ม เฮฮา แฮปปี้ในห้องเรียนนั้น
จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเพียงอย่างเดียวหรือเปล่า
ในเมื่อสิ่งที่เราทำมันฝืนกับความรู้สึกภายในของเราขนาดนี้
วันนี้ insKru และ Child Impact จะพามามองเรื่องของ
อารมณ์ในมุมมองใหม่ ๆ เพราะว่าครูก็เป็นคนเหมือนกันนะ
💭อารมณ์ที่คุณครูรู้สึกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้
โดยไม่ต้องปฏิเสธมัน ทั้งอารมณ์ในแง่บวก
อย่างความสุข ความสนุก ความสบายใจ
ไปจนถึงอารมณ์ที่ดูเป็นแง่ลบ อย่างความโกรธ
ความเศร้า ความเสียใจ ความน้อยใจ ทั้งหมดนี้
ก็ต่างเกิดขึ้นในจิตใจเราได้และเราก็สามารถยอมรับ
ความรู้สึกเหล่านี้ได้เช่นกัน
เมื่อเราเริ่มสังเกตอารมณ์ของเราในห้องเรียนบ่อยครั้ง
ก็จะทำให้เห็นถึงการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างมีระบบ
หรือมีเหตุปัจจัยบางอย่างขึ้นมาได้ ซึ่งวิธีจัดการ
อารมณ์ตัวเองและจัดการห้องเรียน ก่อนเกิด
ความรู้สึกลบซ้ำ ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมากไปกว่า
การปฏิเสธ และปั้นหน้า เพื่อจัดการห้องเรียน
ด้วยอารมณ์บวกเพียงอย่างเดียว โดยทั้งหมดนี้
เริ่มต้นได้จากการตระหนักรู้ถึงอารมณ์ของตัวเอง
🤔มากไปกว่านั้น ในหลาย ๆ สถานการณ์เอง
อาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ได้หลากหลายรูปแบบ
พร้อม ๆ กัน เป็นหมู่มวลอารมณ์ที่ผสมปนเป
จนยากที่จะชี้ชัดออกมาได้เป็นประเด็น ๆ
มาลองดูตัวอย่างเหตุการณ์ชวนงง
หลากหลายอารมณ์ที่เป็นเรื่องจริงจาก
ครูในคอมมูนิตี้ insKru กัน ในห้องเรียนของคุณครู
ระหว่างที่กำลังสอนอยู่ก็เห็นว่ามีนักเรียนคนหนึ่ง
ที่ชาร์จแบตมือถืออยู่ ครูจึงเลือกเข้าไปเตือน
โดยบอกว่า “ครูจะทำโทษด้วยการเก็บเงิน
หยุดชาร์จเดี๋ยวนี้นะ” แทนที่นักเรียนจะเลิกชาร์จไป
แต่กลับตอบว่า “เก็บเงินได้เลยค่ะ”
อ้าว ครูอย่างเราก็งงเลย นี่คืออะไรกัน
จะประหลาดใจมั้ยก็คงใช่ จะโกรธมั้ย ก็คงมีนิด ๆ
จะเสียใจก็คงมีบ้าง ที่รู้สึกอยู่คือหมู่มวลความรู้สึก
อะไรกันเนี่ย !?!
เมื่อเราชี้ชัด ๆ ออกมาไม่ได้ว่าคือความรู้สึกอะไร
เราไม่เข้าใจประเภทความรู้สึกตรงนี้
ก็จะทำให้เรารับมือได้ไม่ดีพอ และควบคุมพฤติกรรม
ของเราที่มีผลกับนักเรียนต่อไปได้ยากกว่าเดิมนั่นเอง
💫พอได้เข้าใจข้อดีอย่างนี้แล้วละก็ เรามารู้จักวิธี
ตระหนักถึงอารมณ์ของตัวเองกันก่อนว่าเรารู้สึกยังไง
(และชวนนักเรียนมาฝึกสิ่งนี้ไปพร้อม ๆ กันก็ได้นะ)
ผ่าน Wheel of Emotions อันนี้
👀Wheel of Emotions ที่ได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้
คือเครื่องมือที่จะทำให้การแยกแยะความรู้สึกของเรา
เป็นไปได้ง่ายดายขึ้น โดยเริ่มต้นจากการมองหา
หมวดหมู่ที่ตรงกับความรู้สึกของเรามากที่สุด
ในวงด้านใน แล้วค่อย ๆ เขยิบออกมาที่วงนอก
ทำงานกับความรู้สึกภายในของตัวเอง
ให้ละเอียดขึ้นไปเรื่อย ๆ
เราจะได้ตระหนักรู้ และลงรายละเอียดได้แล้วว่า
ตอนนี้เรารู้สึกอะไรอยู่จริง ๆ กันแน่ ?
จากตัวอย่างเรื่องชาร์จแบตในห้อง เราอาจจะรู้สึก
“ทุกข์” เราก็เริ่มมองจากโซนสีน้ำทะเลที่มีคำว่า
“ทุกข์” อยู่ภายใน แล้วค่อย ๆ ลงรายละเอียดต่อมา
เราอาจจะได้เข้าใจเพิ่มเติมว่า เรารู้สึกเครียด
เนื่องจากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์นี้ได้
เมื่อเราได้เข้าใจอารมณ์ชัดเจนแบบนี้แล้ว
การแก้ไขปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกนี้ซ้ำ ๆ
ก็จะสามารถทำได้ง่ายขึ้นไปด้วย
👍เมื่อเราได้เข้าใจแล้วว่ารู้สึกอะไรขึ้น
เราจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จากการคิดต่อไปว่า
“อะไรทำให้เรารู้สึกอย่างนั้นกันล่ะ ?”
เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้นได้
เช่น เมื่อสักครู่ เราได้ตกผลึกแล้วว่าเรากำลังเครียด
ที่เราไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนได้
ถ้าคิดจะแก้ปัญหานี้ เราอาจต้องถามตัวเองเพิ่มเติม
ต่อไปว่า “แล้วเหตุการณ์นี้ เราต้องไปควบคุมมั้ย ?”
หรือ “เราจะสื่อสารยังไง ให้นักเรียนคนนี้เข้าใจ
และเลิกทำพฤติกรรมนี้ ?” หากเรามองว่าปัญหา
เกิดจากการที่เราสื่อสารไปแต่เหมือนนักเรียนยัง
ไม่เข้าใจ จึงไม่หยุดทำพฤติกรรมนี้
หรือ “เราจะสร้างกฎในห้องร่วมกันอย่างไรดี ?”
หากเรากังวลว่าคนอื่นจะลอกเลียนแบบ
พฤติกรรมนี้อีก และเราไม่สามารถควบคุมได้
เมื่อค่อย ๆ ตอบคำถามเหล่านี้ที่จี้จุดไปที่
เหตุของปัญหาได้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเพิ่มโอกาส
ในการจัดการอารมณ์และห้องเรียน ก่อนที่จะเกิด
เหตุการณ์ซ้ำ ๆ เดิมไปได้มากขึ้นเท่านั้น
💗เพราะความรู้สึก มีผลกับความคิด และพฤติกรรม
หากเราเริ่มจับความรู้สึกให้ถูกทางได้
เราจะสามารถวางแนวทางความคิด
รวมถึงพฤติกรรมที่อาจจะส่งผลกับนักเรียนต่อไป
ตามที่ควรจะเป็นได้
รวมถึงบางอารมณ์ที่เกิดในห้องเรียน
อย่างอารมณ์โกรธ อารมณ์กังวล และอื่น ๆ นั้น
ก็สามารถป้องกันก่อนเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นกัน
แต่จะทำยังไง มาติดตามคอนเทนต์ต่อ ๆ ไป
จาก insKru และ Child Impact ได้เลย
🥰เราได้เห็นแล้วว่าการตระหนักถึงความรู้สึกของเรา
มีผลกับผู้อื่น และช่วยให้เกิดสุขภาวะที่ดีได้จริงๆ
หากอ่านถึงตรงนี้แล้วสนใจ คุณครูสามารถลองใช้
“เครื่องมือการตระหนักรู้อารมณ์ SEL”
ของ Child Impact นี้ได้ที่
https://bit.ly/ChildImpact-forSelfAwareness
🌟insKru และ Child Impact ขอเป็นกำลังใจ
ให้คุณครูทุกคนรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง
และมองเห็นต้นเหตุของปัญหา รวมถึงสามารถ
จัดการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จน้า
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!