กระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน "การอ่านบทร้อยกรอง และท่องอาขยาน ทำนองเสนาะ"
1.เรียนรู้หลักการ กล่าวคือ การศึกษาพื้นฐานการอ่านร้อยกรองตามลักษณะคำประพันธ์ หรือ ฉันทลักษณ์ ตามทำนองแต่ละชนิด
1. ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ ผู้เรียนทราบ และทบทวนความรู้
2. ผู้เรียนรับฟังการอธิบายถึง บทท่องจำอาขายาน “บทหลัก” เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่ามีลักษณะเช่นไร โดยใช้ใบความรู้อ่านร้อยกรองท่อง บทอาขยาน
3. ผู้เรียนจะต้องตกลงทำนองหลักของห้องเพียง 1 ทำนอง และทำนองที่เหลือผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนฝึกตามหลักการอ่านบทร้อยกรอง โดยที่ครูผู้สอนมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ โดยไล่ลำดับทีละขั้นตามขั้นตอนต่อไปนี้
ก. ด้านอ่านแบบร้อยแก้ว คือ อ่านธรรมดา โดยไม่ใสทำนอง
ข. ด้านแบ่งแนววรรคตอน คือ การแบ่งจังหวะ ช่องลมการหายใจ ตามคำ และบริบทรอบข้าง
ค. ด้านสอดแทรกทำนอง คือ การประยุกต์ใส่ทำนอง ให้ตรงตามลักษณะคำประพันธ์แต่ละประเภท
ง. ด้านอ่านตรองย้ำทวน คือ การอ่านรายบุคคล และฝึกฝนเป็นหมู่คณะ
2.ฝึกอ่านฝึกคิด กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องฝึกอ่านให้เข้าใจถึงความหมายของบทร้อยกรอง และเมื่อท่องบทอาขยานไปเรื่อย ๆ ต้องเห็นภาพ พร้อมทั้งเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึกของบทประพันธ์นั้น ๆ โดยผู้สอนจะประเมินด้วยวิธีการสังเกตจากน้ำเสียงที่เปล่งออกมาและสื่อสารความหมาย น้ำเสียงที่เป็นไปในทำนองเดียวกัน ถือว่า ผ่าน หากไม่ผ่าน ครูผู้สอนก็จะสาธิตให้เห็นภาพทันที การฝึกให้ผู้เรียนท่องจำบทอาขยาน จะต้องฝึกทุกครั้งที่มีการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทย โดยมีขั้นตอน ดังนี้
ก. ชั่วโมง 3 ผู้เรียนจะสามารถดูหลักการอ่านได้จากใบความรู้ ที่ผู้สอนจะฉายขึ้นให้ชม บนกระดาน หรือในเล่ม
ข. ชั่วโมง 4 -5 ผู้เรียนจะไม่สามารถดูหลักการได้ จะดูได้เพียงตัวบทท่องจำบทอาขยานเท่านั้น
ค.ชั่วโมง 6 ผู้เรียนไม่สามารถดูบทอาขยานหรือหลักการอ่านได้ ท่องโดยปากเปล่า
***หมายเหตุ จำนวนคาบทั้งหมด 4 ชั่วโมงในขั้นนี้จะใช้ช่วงเวลาเพียง ๑๐ นาทีในขั้นนำเท่านั้น เพื่อไม่กระทบกับการเรียนในเนื้อหาภาษาไทย
3.สอบทวนตามติด กล่าวคือ การวัดผลผู้เรียน โดยสุ่มเด็กที่มีปัญหา ให้ท่องให้ฟัง เพื่อดูพัฒนาการ โดยมีวิธีการ ดังนี้
ก. ชั่วโมง 7 ผู้สอนสุ่มผู้เรียนเพียงเด็กที่มีปัญหา แล้วดูพัฒนาการความสามารถ พร้อมทั้งติชมให้กำลัง อีกทั้งใช้เทคนิคเพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring) กล่าวคือ ผู้สอนแนะนำผู้เรียนที่สามารถอ่านทำนองต่าง ๆ ได้แล้ว ให้ช่วยสอนเพื่อนที่ยังอ่านไม่ได้ทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลา
ข.ชั่วโมงที่ 8–9 ผู้สอนวัดผล ด้วยวิธีการเก็บคะแนน โดยให้ผู้เรียนนำเสนอการท่องบทอาขยานหน้าชั้นเรียน เพื่อวัด และประเมินผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
***หมายเหตุ ผู้สอนจะทำการวัด และประเมินผล โดยมีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน (Rubrics) ผู้เรียนจะทราบคะแนน และได้รับคำติชมทันที หลังท่องบทอาขยานเรียบร้อย เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นถึงข้อผิดพลาดของตัวเอง และพัฒนา ต่อยอดให้ดีขึ้น
4.ลิขิตผลงาน กล่าวคือ ให้ผู้เรียนอัดวีดีโอ การท่องบทอาขยานมาส่งภายหลังเปิดให้ลงคะแนน โดยให้เพื่อนเป็นคนเลือก คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก นำเผยแพร่ลง Youtube และหาเวทีเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถทุก ๆ คนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อเป็นรางวัลผู้เรียน จะได้มีกำลังใจในการฝึกฝน และอนุรักษ์ภูมิปัญญาสืบต่อไป
***หมายเหตุ ผู้สอนจะต้องใช้จิตวิทยาสำหรับเด็ก ในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารให้กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหา ไม่ให้รู้ตัวเพื่อเขาจะได้ไม่รู้สึกไม่ดี แล้วเกิดความภูมิใจ สร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างเต็มที่
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!