icon
giftClose
profile

ภาษาเพศที่สาม : แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางภาษาไทย

8012
ภาพประกอบไอเดีย ภาษาเพศที่สาม : แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางภาษาไทย

ภาษาเพศที่สาม ภาษาเควียร์ มีแนวทางการสื่อสารหนึ่ง คือ การศึกษาตามปัจจัยทางสังคม เช่น เพศ วัย การศึกษา ความใกล้ชิดชุมชน ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวมิได้มีเจตนามุ่งตีตรา หรือบุลลี่ภาษาเพศที่สาม แต่มีวัตถุประสค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางภาษา ซึ่งอาจจะเป็นการแปรทางภาษา หรือเมื่อมีการแปรมากขึ้น หรือการแปรที่กำลังดำเนินอยู่ ย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางภาษา ทั้งนี้ ผู้สอนมีแนวทางการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ โดยผู้สอนชี้ชวนให้เห็นลักษณะของภาษาเพศที่สามในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น TikTok สื่ออิเล็คทรอนิกส์ เช่น ยูทูป โดยชวนให้สังเกตการใช้น้ำเสียง การใช้คำสรรพนาม การใช้คำวิเศษณ์ การใช้คำซ้ำประเภทคำซ้ำเปลี่ยนเสียง

2) ขั้นก่อรอยความคิด โดยผู้สอนโค้ชแนวคิด "ภาษากำหนดความคิด ความคิดกำหนดภาษา" และทั้งสองประเด็นมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อีกทั้งปรากฏการณ์ทางภาษาอันมีปัจจัยทางสังคม เช่น เพศ วัย การศึกษา ความใกล้ชิดชุมชน ซึ่งอันจะเป็นการแปรทางภาษา หรือมีการแปรมากขึ้น ย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางภาษา

3) ขั้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยผู้สอนยกตัวอย่างกรณีศึกษาภาษาเพศที่สาม ภาษาเควียร์ เช่น Podcast ทำไม LGBTQ คิด สื่อสาร อย่างนี้ รายการคุยแซ่บแปดนาที youtube.com/watch?v=IH3F-uwvg68&t=473s และให้ผู้เรียนวิเคราะห์กรณีศึกษาด้วยวิธีระดมสมอง

4) ขั้นตกผลึกความคิด โดยผู้สอนสรุปความคิดที่นักเรียนได้วิเคราะห์วิจารณ์

5) ขั้นเผยแพร่ความคิด โดยผู้สอนให้แนวทางการเขียนเชิงวิจารณ์ด้านภาษาที่กำลังอยู่ในขั้นการแปรทางภาษา เช่น ภาษาเพศที่สาม : แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางภาษาไทยขนาดสั้นไม่เกิน 300 คำ เผยแพร่ในวารสารของโรงเรียน

6) ขั้นวัดและประเมินผล โดยผู้สอนพิจารณาการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน พัฒนาการจากขั้นวิเคราะห์วิจารณ์มาสู่ขั้นเผยแพร่ความคิด

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: บทความ LGBTQ.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 3 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(0)