inskru

รูบริคเดี่ยว เครื่องมือในการประเมินเพื่อพัฒนา

0
0
ภาพประกอบไอเดีย รูบริคเดี่ยว เครื่องมือในการประเมินเพื่อพัฒนา

#รูบริคเดี่ยว ที่ไม่ใช่รูบริคแบบแยกองค์ประกอบและไม่ใช่รูบริคแบบองค์รวม

การประเมินเพื่อการพัฒนา ที่ไม่ใช่การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน


จากที่รุ่นน้องครูไทย มข. การสอนภาษาไทย : ครูไพ ได้แชร์บทความเรื่อง รูบริคเดี่ยว ทางเลือกใหม่ของการใช้เครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนา ซึ่งเขียนโดย ดร.อภิสิทธิ์ ธงไชย ผู้ชำนาญ ฝ่ายพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เผยแพร่ในนิตยสาร สสวท. ปีที่ ๕๑ ฉบับที่ ๒๔๑ หน้า ๓๙-๔๔ พอเห็นแล้วก็เกิดความอยากรู้ เกิดความสนใจ จนกดเข้าไปศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ #รูบริคเดี่ยว จากบทความดังกล่าว


........หลังจากที่อ่านบทความดังกล่าวแล้ว ได้นำแนวคิดรูบริคเดี่ยวมาออกแบบให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในรายวิชาหลักภาษาไทย และออกแบบให้เหมาะกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยออกแบบรูบริคเดี่ยวในภาพรวมตามแนวทางการวัดและประเมิน KPA ในแบบฉบับครูภาษาไทย โดยให้นักเรียนทำ ๒ ครั้ง ก่อนสอบกลางภาค ๑ ครั้ง และก่อนสอบปลายภาค ๑ ครั้ง


.......โดยรูบริคเดี่ยวที่สร้างขึ้นนั้นอาศัยตัวอย่างจากบทความดังกล่าว โดยปรับเปลี่ยนข้อความในตารางช่องรายการประเมินให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของเรา ทั้งนี้ เขียนรายการประเมินโดยเอาผลการเรียนรู้เป็นตัวตั้งแล้วพยายามเขียนโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่วิชาการมากจนเกินไป โดยแบ่งรายการประเมินเป็น ๓ ข้อ ดังนี้

๑) มีความรู้สำหรับการทำข้อสอบเรื่อง ....(เรื่องที่เรียน)...(K)

๒) ได้พัฒนาทักษะการฟัง ดู พูด อ่าน เขียน คิด (P)

๓) มีทัศนคติ เจตคติ อารมณ์ความรู้สึกที่ดีต่อภาษาไทยและวิชาหลักภาษาไทย (A)

............ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นรายการประเมินที่กว้าง ไม่เฉพาะเจาะจงลงไปที่เนื้อหาใดโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นการประเมินในภาพรวมหลังจากที่นักเรียนได้เรียนไประยะหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้ประเมินตนเองว่าในประเด็น/รายการประเมินดังกล่าวมีรายการใดบ้างที่นักเรียนทำได้ดี มีรายการใดบ้างที่ควรพัฒนาให้ดีขึ้น นับว่าเป็นการประเมินโดยตนเอง เพื่อตนเองอย่างแท้จริง

.........อ่านมาถึงตรงนี้หลายท่านอาจเกิดคำถามแล้วจะให้คะแนนยังไง ตอบเลยว่า ใครทำส่ง เขียนอ่านออก อ่านรู้เรื่องก็ให้คะแนนแล้ว เพราะเป็นการให้นักเรียนได้รู้จักการประเมินตนเอง ผลการประเมินนั้นมีความสำคัญต่อตัวนักเรียนเอง เพราะนักเรียนได้เกิดการคิดทบทวน ใคร่ครวญ ก่อนเขียนออกมา #จึงเป็นผลการประเมินที่มีความหมายต่อตัวนักเรียนเอง สำหรับครูผู้สอนอย่างเรา ๆ เมื่อได้อ่านรูบริคเดี่ยวของนักเรียน ซึ่งเปรียบเสมือนการสะท้อนผลการจัดการเรียนการสอนของเรา เราก็ควรนำข้อมูลเชิงคุณภาพนี้มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป


สนใจนำแนวคิดรูบริคเดี่ยวไปใช้

เชิญอ่านบทความนี้เลย

https://emagazine.ipst.ac.th/241/38/?fbclid=IwAR1XYASHX9cuWteKyqE-HLjDUQIuZGwbcuiCJWswR0RQFXULnl8tarSbRls

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    เกมและกิจกรรมการวัดและการประเมินผลทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ภาษาไทย : ครูกู๊ด

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ