๑. นักเรียนบอกความหมายของ สำนวน สุภาษิตและคำพังเพยได้
๒. นักเรียนจำแนกและยกตัวอย่างสำนวน สุภาษิตและคำพังเพยได้
๓. นักเรียนสามารถนำสำนวน สุภาษิตและคำพังเพยมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นที่ ๑ นำเข้าสู่บทเรียน
1. นักเรียนร่วมระดมสมองทบทวนความรู้รอบตัวโดยช่วยกันยกตัวอย่างสำนวน สุภาษิต
ประจำวันในกิจกรรมเข้าแถวหน้าเสาธง
๒. นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม จากเกมทายสุภาษิตไทย (จากแอพพลิเคชั่นทายสุภาษิตไทย)
ขั้นที่ ๒ ขั้นพัฒนาผู้เรียน
3. นักเรียนศึกษาความหมายและข้อแตกต่าง ของสำนวน สุภาษิตและคำพังเพย
๔. นักเรียนทำกิจกรรม “ภารกิจสืบเสาะสำนวน สุภาษิตและคำพังเพย” โดยทำกิจกรรมแบบ
ร่วมมือ ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และรับชุดสืบคดี โดยในชุดจะมี คู่มือคดี และปริศนาสำนวนไทย
๕. นักเรียนเขียนแต่ละกลุ่มสรุปยอดปริศนาสำนวนที่ร่วมกันสืบเสาะจาก กิจกรรม “ภารกิจ
สืบเสาะสำนวน สุภาษิตและคำพังเพย” เพื่อสรุปคะแนนกลุ่มที่ชนะ
ขั้นที่ ๓ ขั้นสรุป/นำไปใช้
๖. นักเรียนร่วมกันอภิปราย ข้อแตกต่างของ สำนวน สุภาษิตและคำพังเพย
7. นักเรียนร่วมกันตอบคำถามสะท้อนคิด (คำถาม : นักเรียนเคยเจอเหตุการณ์ใดในชีวิตที่
ตรงกับ สำนวน ปิดทองหลังพระ)
คำถามสะท้อนคิด
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรในการทำกิจกรรมในคาบนี้
- นักเรียนทำอย่างไรเมื่อเจอเพื่อนร่วมห้อง ปฏิบัติตนเหมือน ผักชีโรยหน้า
- ถ้านักเรียนพบเจอสถานการณ์ดินพอกหางหมู นักเรียนจะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
๑. นักเรียนบอกความหมายของ สำนวน สุภาษิตและคำพังเพยได้
๒. นักเรียนจำแนกและยกตัวอย่างสำนวน สุภาษิตและคำพังเพยได้
๓. นักเรียนสามารถนำสำนวน สุภาษิตและคำพังเพยมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
-
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!