icon
giftClose
profile

👶🏽 เมื่อเด็กตัวจิ๋วทะเลาะกัน

คุณครูชาวญี่ปุ่นจัดการยังไงกันนะ

“แค่ปล่อยให้คุยกันแบบนี้ก็ได้เหรอ !?!”

มาดูไปพร้อม ๆ กันเลย


สารคดี Kids Konference (2022)

จาก Documentary Club เรื่องนี้

เต็มไปด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี

ในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น

เพราะจะได้เห็นบทสนทนาที่ระหว่างเด็ก

และบทสนทนาระหว่างเด็กกับคุณครู

ท่าทางที่ครูใช้ ที่สำคัญน่ารักฮีลใจมาก ๆ


รับชมได้ฟรี ที่นี่เลย 👉https://vipa.me/th/play/kids-konference/1065586


☹️เวลานักเรียนทะเลาะกัน เราทำอะไรได้บ้าง ?

ที่โรงเรียนอนุบาลแห่งนี้มองว่า

“การคลี่คลายปัญหาไม่ใช่จุดประสงค์หลัก

การให้เด็กมาขอโทษกันก็ไม่ใช่ทางออก”

แต่อยากใช้โอกาสที่เกิดความขัดแย้งนี้

ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ ฝึกสื่อสารด้วยความจริงใจ


จึงจัดพื้นที่ให้นักเรียนคุยกัน เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น

โดยเรียกว่า“โต๊ะสงบศึก”


👀จุดสังเกตเกี่ยวกับโต๊ะสงบศึก

  • การจัดพื้นที่พูดคุย ให้หันหน้าเข้าหากัน

เป็นพื้นที่ที่ปราศจากคนอื่น ๆ มารบกวน

เพื่อเกิดความจริงจัง น่าจะมีผลในการ

สร้างบรรยากาศการเรียนรู้นี้ให้เกิดขึ้นเช่นกัน

  • ครูใช้พื้นที่เดิมนี้ซ้ำ ๆ สื่อสารคอนเซปต์

ของโต๊ะสงบศึกให้นักเรียนเข้าใจ

เป็นเหมือนจุดที่รู้กันว่า เราจะมาทำอะไรกันที่นี่

คุณครูเล่าว่า “เด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะรู้สึกสงบลง

หลังจากที่ได้พูดคุยเปิดอกกันที่โต๊ะสงบศึกนี้”



🎒ในสารคดีเราเห็นบทบาทของคุณครู

ชวนเด็ก ๆ มานั่งที่โต๊ะนี้ เมื่อเกิดความขัดแย้ง

“ถ้ามีอะไรไม่พอใจ ก็ลองบอกให้เพื่อนรู้”

“เกิดอะไรขึ้น ก็ลองคุยกันนะจ๊ะ”

ครูชวนคุยเมื่อพาเด็กมานั่ง ชวนให้บอกเล่าความรู้สึก

“เธอบอกโซตะเองได้มั้ยว่าอยากให้เขาทำอะไร”

เมื่อนักเรียนหญิงลุกไปขอให้ครูช่วยคุยให้

แต่ครูให้เด็กลองบอกความต้องการด้วยตัวเอง


👀จุดสังเกตเกี่ยวกับบทบาทของคุณครู

  • สิ่งที่ครูชวนคุยจะพูดไปถึงความรู้สึก

ความต้องการ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึก

สื่อสารความรู้สึก ความต้องการของตัวเองนั่นเอง

  • ครูเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ และคอยซัพพอร์ต

โดยเชื่อในศักยภาพของเด็ก ๆ เป็นหลัก

ให้พื้นที่เด็ก ๆ ได้คุยกันก่อนเข้าไปซัพพอร์ต

ในสารคดี มีเคสที่เจรจาตกลงกันได้สำเร็จ

แต่อาจจะมีความไม่พอใจหลงเหลืออยู่

มีเคสที่หลังจากระบายความรู้สึกเสร็จ

นักเรียนก็ขอโทษกันเอง โดยที่คุณครูไม่ได้เข้าไปยุ่งเลย

แต่ก็มีเคสที่คุณครูต้องเข้าไปช่วยไกล่เกลี่ยเช่นกัน


จะเห็นว่านี่เป็นไอเดียที่เชื่อในศักยภาพของเด็กมาก ๆ

แม้จะเป็นแค่เด็กอนุบาลก็ตาม

เพราะไม่งั้นตามปกติ เราคงเผลอเข้าไปจัดการเอง

ก่อนที่เด็ก ๆ จะได้โชว์ศักยภาพที่พวกเขามีอยู่ในตัว


🍎กรณีที่คุณครูต้องเข้าไปช่วยไกล่เกลี่ย

ครูจะรับฟังเด็กแต่ละคนอย่างตั้งใจ

เด็กจะใจเย็นลง ก่อนชวนคิดว่าจะทำยังไงกันดี


ไอเดียนี้จึงไม่ใช่มีแค่ “โต๊ะสงบศึก”

แต่ครูเองก็ต้องคอยช่วยดูอยู่ห่าง ๆ ด้วยเสมอ

และตัดสินใจเข้าไปช่วยอย่างเหมาะสม

ครูมีการพูดสิ่งที่นักเรียนได้บอกเล่าออกมา

เพื่อให้นักเรียนรู้สึกว่า ครูเข้าใจเธออยู่นะ


หรือลองสังเกตภาษากายของครูดู

จะเห็นได้ว่า ครูตั้งใจอยู่เคียงข้างเด็กๆ แค่ไหน


💝ส่องไอเดียนี้แล้ว มีความรู้สึกหรือมีความเห็นยังไงบ้าง

มาคอมเมนต์แลกเปลี่ยนกัน


ในสารคดี Kids Konference ยังมีอีกหลากหลายประเด็น

ดูได้ที่นี่เลย 👉https://vipa.me/th/play/kids-konference/1065586


ขอบคุณ Documentary Club มากๆ เลย

ที่นำสารคดีสุดน่ารักและให้แง่มุมใหม่ๆ

เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้มาเผยแพร่ในประเทศไทย

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(1)