inskru
gift-close

คำยืมปลื้มใจ

1
1
ภาพประกอบไอเดีย คำยืมปลื้มใจ

แบ่งปันสื่อบัตรคำยืมจากภาษาต่างประเทศและวิธีเล่นค่ะ


วิธีเล่นที่1 (จำแนกคำยืมภาษาต่างประเทศ)

1.คว่ำบัตรคำเรียงเป็นแนวให้หยิบง่ายๆ (คว่ำไว้ไม่ให้เห็นคำ เพื่อเพิ่มความตื่นเต้น ไม่ให้นักเรียนรู้ว่าจะได้คำว่าอะไร)

2.นักเรียนเข้าแถวตอนลึก (ทั้งห้องหรืออาจแบ่งกลุ่มเพื่อแข่งขันกัน)

3.วิ่งออกมาทีละคนเพื่อหยิบที่วางไว้เปิดบัตรคำ คิดพิจารณาว่าคำที่หยิบได้นั้นเป็นคำยืมจากประเทศใด จากนั้นเอาไปวางลงกล่องที่จะติดป้ายชื่อแต่ละประเทศ ได้แก่ ไทย บาลีสันสกฤต จีน เขมร อังกฤษ

4.การเล่นแต่ละรอบจะจับเวลา (2-5นาที) เมื่อเล่นเสร็จแต่ละรอบ ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยและนับคะแนนคำที่ถูกต้อง

5.สรุปกิจกรรม


วิธีเล่นที่ 2 (การจำแนกคำยืมภาษาต่างประเทศ)

1.แบ่งกลุ่ม

2.แจกบัตรคำให้ทุกกลุ่ม

3.นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันแยกคำยืมภาษาต่างประเทศ ว่าแต่ละคำเป็นคำยืมประเทศใด ให้ได้5กอง ได้แก่ ไทย บาลีสันสกฤต จีน เขมร อังกฤษ

4.เฉลยร่วมกัน


วิธีเล่นที่ 3 (การจำแนกคำยืมและการเขียนเรื่องตามจินตนาการ)

1.นักเรียนหยิบบัตรคำคนละ 1 ใบ

2.นักเรียนตามหาเพื่อนที่เป็นคำยืมจากประเทศเดียวกัน จับกลุ่มกัน จากนั้นแต่งเรื่องจากคำที่ได้ช่วยกันลงกระดาษชาร์ทแผ่นใหญ่ โดยอาจกำหนดธีมของเรื่องให้มีสถานที่ ภูมิประเทศหรือวัฒนธรรม วิถีชีวิตของประเทศนั้นๆอยู่ในเรื่องด้วย พร้อมวาดภาพประกอบ

3.นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเรื่องที่ช่วยกันเขียน


วิธีเล่นที่ 4 (การจำแนกคำยืมภาษาต่างประเทศและสรุปใจความสำคัญจากการฟัง)

1.นักเรียนหยิบบัตรคำคนละ 1 ใบ

2.นักเรียนแต่ละคนศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคำที่ตัวเองได้ ว่าเป็นคำยืมภาษาอะไร มีความหมายว่าอย่างไร ความรู้ที่ค้นคว้าได้เกี่ยวกับคำที่ตัวเองได้ โดยให้เวลาในการเตรียมข้อมูล 10 นาที

3.นักเรียนจับกลุ่ม 5 คน โดยภายในกลุ่มจะต้องมีตัวแทนคำยืมจากแต่ละประเทศครบทั้ง5ประเทศ 5 ภาษา (1ไทย 2บาลีสันสกฤต 3จีน 4เขมร 5อังกฤษ)

4.นักเรียนแต่ละคน พูดนำเสนอการค้นคว้าเกี่ยวกับคำของตัวเองให้เพื่อนในกลุ่มฟังและสรุปข้อมูลของสมาชิกในกลุ่มทุกคนลงกระดาษชาร์ท

5.นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเรื่องที่ช่วยกันเขียน


วิธีเล่นที่ 5 (ใบ้คำ)

1.การเล่นเกมใบคำจะจับเวลาในการเล่นแต่ละรอบ และนับจำนวนคำที่เพื่อนๆทายถูกในแต่ละรอบ

2.นักเรียนตัวแทน 1 คน หยิบการ์ดครั้งละใบ

3.นักเรียนตัวแทนพูดอธิบายหรือใบ้คำๆนั้นให้เพื่อนในห้องทาย เมื่อเพื่อนทายถูกแล้ว ช่วยกันพิจารณาว่าเป็นคำยืมจากภาษาอะไร

4.เล่นไปจนจะสิ้นสุดตามเวลาที่กำหนด จากนั่นนับคำที่ทายถูก


วิธีเล่นที่ 6

1.ครูวางบัตรคำไว้เต็มพื้น (หงายบัตรคำให้มองเห็นคำ)

2.แบ่งกลุ่มและส่งตัวแทนกลุ่มมารอบละ 1 คน

3.แต่ละรอบจะกำหนดเวลาเล่น โดยให้ตัวแทนกลุ่มวิ่งไปหยิบบัตรคำที่มั่นใจว่าทายถูกว่าแน่ๆเป็นภาษาอะไร หยิบมาให้ได้มากที่สุด

4.แต่ละรอบเฉลย ถ้าตัวแทนตอบถูกว่าเป็นคำยืมภาษาอะไร +1 คะแนน

ตอบผิด -1 คะแนน

5.เล่นกี่รอบก็ได้ แต่ละรอบ ให้แต่ละกลุ่มเปลี่ยนคนมาเล่นจนครบ

6.เอาคะแนนทุกรอบมารวมกัน สรุปผลคะแนนของทุกกลุ่ม


วิธีเล่นที่ 7 คำใดไม่ใช่

1.แบ่งกลุ่ม

2.การเล่นจะเล่นเป็นรอบดังนี้

  • รอบที่ 1 กองคำภาษาไทย จะมีบัตรคำทั้งหมด 12 คำ คำส่วนใหญ่จะเป็นคำไทย ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกคำที่ไม่ใช่คำไทย ระบุว่ามีกี่คำและคำใดบ้างที่ไม่ใช่คำไทย
  • รอบที่ 2 กองคำภาษาบาลีสันสกฤษ จะมีบัตรคำทั้งหมด 12 คำ คำส่วนใหญ่จะเป็นบาลีสันสกฤต ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกคำที่ไม่ใช่คำบาลีสันสกฤต ระบุว่ามีกี่คำและคำใดบ้างที่ไม่ใช่คำบาลีสันสกฤต
  • รอบที่ 3 กองคำภาษาจีน จะมีบัตรคำทั้งหมด 12 คำ คำส่วนใหญ่จะเป็นคำภาษาจีน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกคำที่ไม่ใช่คำภาษาจีน ระบุว่ามีกี่คำและคำใดบ้างที่ไม่ใช่คำบาลีสันสกฤต
  • รอบที่ 4 กองคำภาษาเขมร จะมีบัตรคำทั้งหมด 12 คำ คำส่วนใหญ่จะเป็นภาษาเขมร ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกคำที่ไม่ใช่คำเขมร ระบุว่ามีกี่คำและคำใดบ้างที่ไม่ใช่คำภาษาเขมร
  • รอบที่ 5 กองคำภาษาอังกฤษ บัตรจะมีบัตรคำทั้งหมด 12 คำ คำส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกคำที่ไม่ใช่คำบาลีสันสกฤต ระบุว่ามีกี่คำและคำใดบ้างที่ไม่ใช่คำบาลีสันสกฤต

3.สรุปกิจกรรม


วิธีเล่นที่ 8 ใช้ทำนายแบบไพ่ออราเคิล (มีความรู้เรื่องการอ่านไพ่)

1.ถามคำถาม หยิบไพ่ 1 ใบ หรือ 3 ใบ หรือ 4 ใบ

2.ผู้ทำนายตอบคำถามโดยตีความภาพและอ่านไพ่

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ภาษาไทย

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    1
    ได้แรงบันดาลใจ
    1
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ครูม่อน
    ภาษาไทยให้พลัง

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ