icon
giftClose
profile

การเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ฐานชุมชน

11892
ภาพประกอบไอเดีย การเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ฐานชุมชน

การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : PBL) แบบบูรณาการข้ามศาสตร์ฐานชุมชน ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีน่าน เพื่อพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม

การจัดกิจกรรมเรียนรู้นี้มีแนวคิดมากจาก การจัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาประวัติศาสตร์ 3 วิชาวิทยาการคำนวณ และวิชาสุนทรียศิลป์ ของครู พบว่านักเรียนมีภาระงานมาก บางภาระงานมีความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น ๆ ไม่ส่งผลให้นักเรียนได้เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ ครูผู้สอนแต่ละวิชามุ่งสอนเฉพาะเนื้อหาและมอบหมายใบงาน ใบกิจกรรม และสอบบ่อยครั้ง ทำให้นักเรียนมีทำงานไม่ทันและมีภาระงานค้างสะสม เกิดความท้อในการเรียนมีความเสี่ยงต่อการมีผลการเรียน 0, ร, มส. และจากการสะท้อนคิดของนักเรียนพบว่านักเรียนโดยมากไม่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ในการต่อยอดความรู้ เนื้อหาหรือวิธีคิดที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการจัดการเรียนรู้ที่ยังไม่ตอบโจทย์กับการเรียนรู้ของนักเรียนและยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อันเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคมซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบูรณาการในครั้งนี้ขึ้นมา


โดยเราเอามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของแต่ละวิชามากางว่าเราจะสอนร่วมกันในหน่วยไหนได้บ้าง และได้วางแผนร่วมกัน


มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

รายวิชาประวัติศาสตร์

มาตรฐานส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และธำรงความเป็นไทย

ตัวชี้วัด             ม.3/3 วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และอิทธิพลต่อการพัฒนา

                   ชาติไทย

รายวิชาทัศนศิลป์

มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่า งานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด             ม.3/3 วิเคราะห์ และบรรยายวิธีการใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแบบในการสร้างงานทัศนศิลป์

ของตนเองให้มีคุณภาพ

                     ม.3/7 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์สื่อความหมายเป็นเรื่องราว โดยประยุกต์ใช้ทัศนธาตุและ

หลักการออกแบบ

                     ม.3/11 เลือกงานทัศนศิลป์โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นอย่างเหมาะสม และนำไปจัดนิทรรศการ

รายวิชาวิทยาการคำนวณ

  มาตรฐาน ว 4.2  เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็น

                        ระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้

                        อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม     

  ตัวชี้วัด            ม.3/2 รวบรวมข้อมูล ประมวลผล ประเมินผล นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ตาม

                       วัตถุประสงค์โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย

 

ซึ่งมีขั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้

ขั้นที่ 1 สำรวจ (Explore) 

  • นักเรียนแบ่งกลุ่ม
  • ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาต่างชาติ ปัญญาทองถิ่น
  • นักเรียนสำรวจความสนใจของสมาชิกเลือกภูมิปัญญา/วัฒนธรรม มา 1 เรื่อง เพื่อเลือกวางหมุดหมายในการศึกษา
  • วางแผนการจัดทำ “เรื่องดี ๆ ที่บ้านฉัน” ที่เป็นวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต การท่องเที่ยว สถานที่สำคัญ ตำนาน เรื่องเล่า ฯลฯ
  • วางแผนการลงพื้นที่ภาคสนามชุมชน
  • ลงชุมชนนอกชั่วโมงในห้องเรียน

ขั้นที่ 2 นิยามระบุ (Define)

  • การเลือกออกแบบสื่อ “เรื่องดี ๆ ที่บ้านฉัน” 
  • เรียนรู้หลักการออกแบบทางทัศนศิลป์ ถึงเรื่องดีดีที่บ้านฉัน

ขั้นที่ 3 วิเคราะห์สังเคราะห์ (Analysis & Synthesis)

  • วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลการศึกษา การลงมือออกแบบสื่อ
  • วางแผนจัดทำวีดิโอหรือสตอรี่บอร์ด โดยใช้ความรู้และหลักการทางศิลปะ

ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์ (Create)

  • นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันลงมือปฏิบัติจัดทำสื่อการเรียนรู้ Soft Power เรื่องดีดีที่บ้านฉัน ตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ โดยมีครูคอยสังเกต ติดตาม และให้คำแนะนำ

ขั้นที่ 5 ผลสะท้อนคิดทบทวน (Reflect)

  • เผยแพร่และสำรวจความพึงพอใจต่อการปฏิบัติกิจกรรมทำสื่อและสะท้อนคิดจากกิจกรรม

ขั้นที่ 6 ปฏิบัติ (Act)

  • สรุปถึงผลสำเร็จและข้อบกพร่องของการทำโครงงาน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการทำงานในโอกาสต่อไป 


ผลปรากฎว่านักเรียนสามารถทำผลงานออกมาได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าครูจะค่อนข้างสรรเวลาในการจัดการเรียนการสอนร่วมกันพอสมควร

ทำให้เกิดกระบวนการในความร่วมมือที่เกิดเป็น Team Teaching ขึ้นมา ลดภาระฃานบางภาระงานมีความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น ๆ ไม่ส่งผลให้นักเรียนได้เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ รวมถึงได้พัฒนาทักษะที่สำคัญของนักเรียนและครูไปพร้อมๆ กัน


นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ พึงพอใจต่อด้านเนื้อหาที่สอนนำไปใช้ได้จริง มากที่สุด

การกิจกรรมบูรณาการเรียนรู้ 3 วิชา เรียนเรียนอย่างมีความสุข รองลงมาตามลำดับ


นักเรียน Happy ครูก็ Happy


ข้อควรระวัง

ความปลอดภัยของนักเรียนในการลงชุมชน


ผลงานการออกแบบของเด็กๆ ในการออกแบบงานศิลปะ



รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(4)