icon
giftClose
profile

เทคนิคการสอน STAD บูรณาการผังความคิดในการสอนวรรณคดีไทย

4691
ภาพประกอบไอเดีย เทคนิคการสอน STAD บูรณาการผังความคิดในการสอนวรรณคดีไทย

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน <3 หลังจากที่ห่างหายไปนาน ดิฉันมีไอเดียมานำเสนอเกี่ยวกับการสอนวรรณคดีไทย

โดยขณะนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายให้สอนในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน 6

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในรายวิชานี้ มีวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่ค่อนข้างยาก

คือ "สามัคคีเภทคำฉันท์" ซึ่งมีลักษณะวรรณคดีเป็นคำประพันธ์ที่ยากต่อการอ่านและทำความเข้าใจ

จึงได้คิด และพัฒนาเทคนิคการสอน โดยบูรณาการเทคนิค STAD ที่มุ่งเน้นการเรียนแบบร่วมมือ

ให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการร่วมกันศึกษาและสร้างองค์ความรู้และนำมาสรุปเป็นผังความคิดเพื่อ

นำเสนอและง่ายต่อการทำความเข้าใจ ดิฉันได้ทำการทดลองและวิจัยกับนักเรียนเรียบร้อย

จึงขออนุญาตเผยแพร่ให้เพื่อน ๆ ที่สนใจในการนำไปปรับใช้และเป็นแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป


ชื่อผลงาน : .... การใช้เทคนิคการสอน STAD บูรณาการผังความคิดในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 .......

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD บูรณาการกับผังความคิดในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

  • ขั้นที่ 1 เตรียมเนื้อหา โดยผู้สอนจัดเตรียมเนื้อหาสาระหรือเรื่องที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เป็นเนื้อหาโดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งเตรียมสื่อวัสดุ อุปกรณ์หรือแหล่งเรียนรู้ ใบความรู้ ใบงาน เป็นต้น
  • ขั้นที่ 2 จัดทีม ผู้สอนจัดทีมผู้เรียนโดยคละกันทั้งเพศและความสามารถ ทีมละ 4-5 คน เช่น ทีมที่มีสมาชิก 4 คน ประกอบด้วยชาย 2 คน หญิง 2 คน เป็นคนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน อ่อน 1 คน เป็นต้น
  • ขั้นที่ 3 เรียนรู้ ประกอบด้วย

1)     ผู้สอนแนะนำวิธีการเรียนรู้ แจ้งให้ศึกษาข้อมูลในหนังสือวรรณคดีและวรรณกรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน้าที่ 128 เพื่อศึกษาความรู้ทั่วไป ที่มา ประวัติผู้แต่ง และเนื้อเรื่องย่อ

2)     แต่ละทีม แบ่งหน้าที่กันศึกษา เพื่อสรุปทำผังความคิด

3)     สมาชิกแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาสาระและสรุปองค์ความรู้

4)     สมาชิกในกลุ่มร่วมกันออกแบบ สร้างผังความคิดเพื่อสรุปเนื้อหาที่เรียนรู้เรื่อง

สามัคคีเภทคำฉันท์ โดยใช้ CANVA

  • ขั้นที่ 4 ทดสอบ ผู้เรียนแต่ละคนทำการทดสอบย่อยเพื่อวัดความรู้ (ให้เวลาทำแบบทดสอบ 10 นาที) จากนั้นจึงร่วมกันตรวจคำตอบ และสรุปผลคะแนนพัฒนาการของแต่ละคน รวมเป็นคะแนนพัฒนาการของกลุ่ม และเทียบเกณฑ์เพื่อหาระดับคุณภาพ
  • ขั้นที่ 5 รับรองผลงานและเผยแพร่ชื่อเสียงของทีม ผู้สอนประกาศว่าทีมอยู่ในระดับคุณภาพใด ให้รางวัลนักเรียนทีมที่ได้คะแนนพัฒนาการมากที่สุด


*****กรณีคาบเรียนถอดคำประพันธ์ เลือกใช้วิธีการให้นักเรียนถอดคำประพันธ์ร่วมกัน และสรุปโดยครูตั้งคำถามจากเรื่องตอนที่ถอดคำประพันธ์เพื่อให้นักเรียนตอบคำถาม

และสรุปคำตอบ นำมาจัดทำเป็นผังความคิดเป็นการ สรุปองค์ความรู้และเจาะประเด็นสำคัญเพื่อใช้ในการทบทวนเตรียมทำแบบทดสอบหลังเรียน พัฒนาผลสัมฤทธิ์


ผลการดำเนินงาน

  


จากแผนภูมิข้างต้น จะเห็นได้ว่า นักเรียนมีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยเทคนิค การสอน STAD บูรณาการผังความคิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ทั้งนี้สามารถนำผลการจัดการเรียนรู้มาขยายหรือต่อยอดสู่การเรียนเรื่องอื่น ๆ ได้

จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.59 ส่วนคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิค STAD บูรณาการกับผังความคิดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.35 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.11 เมื่อตรวจสอบพบว่า คะแนนแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสรุปได้ว่า เทคนิคการสอน STAD บูรณาการกับผังความคิดสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้


ตัวอย่างผลงานนักเรียน




แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(2)