🫶🏻“นักเรียนคนโปรด” ท็อปปิกสุดคลาสสิก
ที่ครูต้องเคยโดนนักเรียนตั้งคำถาม
มาทุกยุคทุกสมัยบางครั้งนักเรียนก็คิดว่า
คนนั้น คนนี้ คือนักเรียนคนโปรด
เห็นอยู่นะว่าคอยช่วยหลาย ๆ เรื่อง
แหม่ ลำเอียงนะเนี่ยคุณครู !
วันนี้เราอยากชวนทุกคนมาทบทวนเรื่องของ
“นักเรียนคนโปรด” ว่าเรามีสิ่งนี้ในใจได้มั้ย
แล้วลองมาค้นหาวิธีการปฎิบัติตัวของเรา
จากคำถามในกลุ่ม “insKru ครูปล่อยของ”
🫧ปิดเทอมนี้ขอชวนคุณครูมาตีตั๋วลงเรือดำน้ำ
ดำดิ่งสู่มหาสมุทรแห่งการเรียนรู้อันกว้างใหญ่
ใน insKru Festival 2024 ตอน “กล้าที่จะLearn”
Add LINE ได้เลยที่ @insKruFest (มี @ ด้วยนะ)
หรือคลิกลิงก์นี้เลย http://bit.ly/inskrufest
🧐เรามาเริ่มต้นโดยการหลับตากันก่อนดีกว่า
(หลับตาหลังอ่านข้อความทั้งหมดจบนะ)
ลองนึกถึงหน้าตาของ “นักเรียนคนโปรด”
สักคนในใจของเราตอนนี้ดู
มีหน้าของคนโปรดคนนั้นลอยมามั้ยนะ ถ้าหากมี
ลองตั้งคำถามต่อ เขามีนิสัยยังไงกันนะ ?
ทำไมเราถึงรู้สึกว่าชอบเขามากกว่านักเรียนคนอื่น
ในห้องของเรากันล่ะ ?
💖จากที่เราเคยพูดคุยกับคุณครูมา
ส่วนมาก “นักเรียนคนโปรด” ในใจ
จะมีความโดดเด่นบางอย่างที่จัดหมวดหมู่
ออกมาได้ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นความโดดเด่น
ใน “ทักษะการเรียน” หรือ “นิสัย / ความเรียบร้อย”
สำหรับบางคนแล้ว “อัธยาศัยที่ดี” เข้าถึงกัน
อย่างเป็นมิตรก็คือความโดดเด่นที่ทำให้
นักเรียนคนนั้นเป็นคนโปรดของครูได้
🤔แต่ก็ใช่ว่านักเรียนในห้องจะมีความโดดเด่นแบบนี้
กันทุกคน แล้วเราต้องทำยังไงให้นักเรียนคนอื่น ๆ
ไม่ได้รู้สึกว่าเราลำเอียง เอื้อประโยชน์ให้กับ
“นักเรียนคนโปรด” ของเราได้บ้างละ
เราลองมาดูจากโพสต์คำถามในกลุ่ม
“ครูปล่อยของ” กันได้เลย
💗วิธีการแรกที่คุณครูแบ่งปันกันคือ
เราต้องยอมรับก่อนว่าตำแหน่ง “นักเรียนคนโปรด”
สามารถเกิดขึ้นในใจได้ทุกคน แต่เราต้องเลือก
ปฏิบัติตัวโดยไม่มีอคติ หรือความลำเอียงกับ
คนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเจอเหตุการณ์อะไรก็ตาม
📖วิธีการที่ 2 ที่คุณครูมาเล่าคือการให้เวลา
ในการทำความรู้จัก และตระหนักถึง
ศักยภาพของนักเรียนทุกคน
อย่างที่คุณครูเขียนไว้ว่า ไม่มีคนโปรดสักคน
แต่เลือกที่จะทำความรู้จัก ดูความตั้งใจ
ในการรับเนื้อหาความรู้และตอบสนอง
แต่ทั้งหมดนี้ไม่มีความลำเอียง ไม่มีอคติ
เพียงแต่จะได้เลือกการสอนที่เหมาะสมกับ
ลักษณะของนักเรียนแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน
🤗อีกวิธีการนึงที่คุณครูมาเล่าให้ฟังกัน
คือการให้ความสำคัญกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
เพื่อไม่ให้มีใครที่รู้สึกว่าตัวเองถูกหลงลืมไป
ซึ่งสามารถแสดงความใส่ใจแบบนี้ให้เห็นได้
จากการชวนคุย เรียกตอบคำถาม
หรือช่วยแนะนำเวลาทำแบบฝึกหัด
✨ทั้ง 3 วิธีที่เราจัดกลุ่มไว้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของ
“วิธีการจัดการอคติในห้องเรียน” จาก
https://www.learninga-z.com/site/resources/breakroom-blog/understanding-teacher-bias
โดยบริบทของต่างประเทศ อย่าง สหรัฐอเมริกา
เราจะสังเหตุว่าการมีอคติจากเชื้อชาติ สีผิว
ส่งผลกับพฤติกรรมของคนเป็นอย่างมาก
จึงมีการนำเสนอวิธีที่คุณครูสามารถจัดการอคติ
ของตนเอง ไม่ให้มีผลกระทบกับการสอนได้ ดังนี้
1)รู้เท่าทันและเลือกปฏิบัติตัวกับนักเรียน
โดยเก็บความลำเอียงไว้ในใจ
2)ให้เวลาเพื่อที่จะได้รู้จักนักเรียนอย่างเต็มที่
ก่อนตัดสินเขาว่ามีลักษณะนิสัยหรือเป็นคนอย่างไร
3)ไม่เพิกเฉยกับสิ่งที่มีแนวโน้มว่าจะเกิด
ความผิดใจกัน เช่น เมื่อมีการตักเตือนนักเรียน
ก็ควรสื่อสาร อธิบายสาเหตุอย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้
เกิดการคิดไปเองว่าเป็นเพราะอคติของคุณครู
4)เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน
ตามศักยภาพของตัวเอง หากคนไหนยังไม่
ชำนาญมาก เราอาจใส่พลัง เวลา มากกว่าคนอื่น
เพื่อให้ผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ของทุกคนเท่า ๆ กัน
5)ไม่ทำให้ใครรู้สึกว่าตนเองถูกหลงลืมไป
ไม่ว่าจะด้วยเนื้อหาที่ใช้สอน ที่ควรหยิบยก
ตัวอย่างจากทุกกลุ่มคนโดยไม่มีอคติ เช่น
“โจรคนนั้นเป็นคนผิวสี” หรือวิธีการสอนเอง
ที่ควรโอบรับนักเรียนได้ทุกรูปแบบ
💬ถึงห้องเรียนของเราจะมีอคติที่เกิดจาก
ปัญหาเชื้อชาติ สีผิว น้อยกว่าต่างประเทศ
แต่เราก็สามารถหยิบนำข้อคิดเหล่านี้
มาป้องกันไม่ให้ห้องเรียนของเรา
มีปัญหาที่เกิดจากอคติ หรือการมี
“นักเรียนคนโปรด”ในใจได้เหมือนกันนะ
👉แล้ววิธีการของคุณครูเป็นยังไงบ้าง
อย่าลืมมาแชร์กันได้ในกลุ่ม “ครูปล่อยของ”
ทางลิงก์นี้ได้เลยน้า https://www.facebook.com/groups/283591248717329/posts/1869409273468844/
พวกเรารอพูดคุยกับคุณครูอยู่เสมอจ้า
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!