inskru
gift-close

กิจกรรม Independent Study : Force connection

7
28
ภาพประกอบไอเดีย กิจกรรม Independent Study : Force connection

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

ในการเรียนการสอน IS ซึ่งชื่อวิชาจะมีหลากหลายในภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาอิสระ การศึกษาค้นคว้า หรือ อะไรก็ตามแต่ แต่กิจกรรมที่สำคัญคือ การกำหนดหัวข้อปัญหาที่จะดำเนินการศึกษา ซึ่งเป็นปัญหากับนักเรียนหลายคน และหลายกลุ่มมาก ก่อให้เกิดเดอะแบกของกลุ่ม หรือ การเปลี่ยนหัวข้อเรื่องไปเรื่อยๆ หรือ ทำไปแล้วสงสัยว่าทำไปทำไม ดูไม่มีประโยชน์เอาเสียเลย ในช่วงหลายปีการศึกษาที่ผ่านมา ครูปอนด์ได้รับผิดชอบวิชานี้ และได้ศึกษาเพิ่มเติมจากการอบรมหลักสูตรสมรรถนะและการจัดการเรียนรู้แนวทาง OECD ซึ่งกระบวนการ Force connection เป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักเรียนจำกัดปัญหาและแนวทางของกลุ่มได้ชัดเจน เลยมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นไอเดียในการสอนและช่วยให้นักเรียนที่ยังไม่สามารถกำหนดปัญหาทำได้ง่ายขึ้นครับ

ขั้นตอน

  1. สำคัญเริ่มแรกก่อนที่นักเรียนจะตั้งปัญหา คือ การแยกให้ออกว่า อะไรคือปัญหา อะไรคือคำถาม เพื่อที่นักเรียนจะได้สร้างคำถามสำหรับปัญหา ไม่ใช่สร้างปัญหาจากคำถาม โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจว่าคำถามมีกี่ระดับ และเราสามารถตั้งคำถามระดับสูงจากปัญหาได้อย่างไร (ตรงนี้ เพื่อนครูสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์คุณครูวรวรรณ, เว็บไซต์โรงเรียนศรีอยุธยา หรือเอกสารประกอบการสอนของครูปอนด์ที่อัพโหลดไว้ก็ได้ครับ)
  2. นักเรียนแต่ละคนกำหนดปัญหาจากบริบทรอบตัว โรงเรียน ชุมชน หรือในจังหวัดที่ตนอาศัย ตรงนี้จะใช้เวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าคุณครูกระตุ้นนักเรียนได้มากน้อยแค่ไหน อาจจะเสียเวลาลงพื้นที่สำรวจชุมชนได้ยิ่งดีครับ จำนวนปัญหาคนละ 20 ปัญหา โดยมีเงื่อนไขคือ สามารถตั้งคำถามระดับสูงจากปัญหานั้นได้
  3. นักเรียนรวมกลุ่มกัน (ในเบื้องต้นครูปอนด์ใช้การรวมกลุ่มโดยนักเรียนรวมกลุ่มกันเองตามเงื่อนไขพหุปัญญาและบุคลิกภาพครับ ซึ่งทดลองแล้ว นักเรียนทำผลงานได้ดีกว่าการให้รวมกลุ่มกันเอง เดี๋ยวไว้จะมาแชร์ให้อ่านกันนะครับ) 6 คนขึ้นไป เพื่อรวบรวมประเด็นปัญหาให้ได้ 100 ปัญหา (ถ้าคนน้อยปัญหาจะน้อยและซ้ำกันมาก เสียเวลามากในการเพิ่มข้อมูลและประมวลปัญหาครับ)
  4. แต่ละกลุ่มดำเนินการจัดกลุ่มปัญหาและสร้างหมวดหมู่ปัญหาขึ้นแล้วเขียนในรูปตาราง
  5. จากนั้นสมาชิกกลุ่มร่วมกันคัดเลือกปัญหาที่สามารถเชื่อมโยงแต่ละหมวดหมู่ให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดประเด็นปัญหาร่วมที่มีความสำคัญในหลากหลายมิติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  6. กำหนดปัญหาที่เป็นปัญหากลุ่มที่จะได้ดำเนินการแก้ไขต่อไป


ผลสะท้อนจากนักเรียน หรือ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

หลังจากกกระบวนการนักเรียนจะได้ผลดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง 1

  • ปัญหา : ขยะในโรงเรียน และชุมชน มีปริมาณมากก่อให้เกิดมลภาวะ
  • คำถาม : เราจะเพิ่มมูลค่าขยะนโรงเรียน และชุมชน ได้อย่างไร

ตัวอย่าง 2

  • ปัญหา : สุนัขจรจัดในชุมชน
  • คำถุาม : เราจะแก้ปัญหาสุนัขจรจัดในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไร

จะเห็นได้ว่านักเรียนจะเห็นข้อเท็จจริง (FACT) และแนวคิด (IDEA) เพื่อการศึกษาค้นคว้าที่ตนเองสนใจจริงๆ ออกมาจากกลุ่มตนเองจริงๆ จะนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งจะมีกระบวนการทำ FILA map เพื่อช่วยสรุปแนวคิดการศึกษาและสร้างองค์ความรู้ (คงต้องมาเขียนภาคแนกต่อครับ)

บริบท หรือ ข้อเสนอแนะ

บทบาทของครูผู้สอน IS คือ ผู้อำนวยความสะดวก (FAcilitator) ในการช่วยให้นักเรียนได้ค้นหาปัญหา อาจจะช่วยสอนเรื่องการตั้งคำถามระดับสูง แต่ที่เหลือนักเรียนต้องดำเนินการเอง โดยครูต้องเน้นย้ำเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติได้ เช่น จำนวนปัญหาที่สามารถตั้งเป็นคำถามระดับสูงได้ การกระตุ้นให้นักเรียนมองหาสปัญหา ตรงนี้เหนื่อยมากนะครับ บอกเลย กลับมาถึงโต๊ะนี่แทบจะหลับเลย เหนื่อยมาก แต่ผลที่ได้ คุ้มนะครับ ลองดูครับ สงสัยอะไรแลกเปลี่ยน ทิ้งคำถามไว้ได้ครับ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    7
    ได้แรงบันดาลใจ
    28
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insครูปอนด์
    สอนฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ และวิชาชีวิต

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ