ปัจจุบันข้าพเจ้าสอนรายวิชา คณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ได้สังเกตพฤติกรรม การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน พบว่านักเรียนมีเจตคติเชิงลบต่อวิชาคณิตศาสตร์ คิดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก เกิดความขี้เกียจคิดคำนวณ และสังเกตได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ค่อนข้างต่ำ ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนจึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนมีเจตคติเชิงบวกต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ คลายความตึงเครียดในทัศนคติของนักเรียน ทำอย่างไรจึงจะสามารถกระตุ้นความสนใจ ให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น สนุกสนาน อยากที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และฝึกฝนทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ จึงคิดสร้างเกม “เซียมซี เกม ๒๔” ขึ้นเพื่อใช้ควบคู่ไปกับการสอน เพราะการเล่นเกมอาจเข้าไปช่วยกระตุ้นความสนใจ ความกระตือรือร้น อยากรู้อยากลองของนักเรียน เกิดความสนุกสนานในการเรียน
๑ คัดกรองนักเรียน
ประเมินทักษะการบวก การลบ การคูณ และการหารของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน เป็นเครื่องมือในการคัดกรองทักษะการคิดคำนวณของนักเรียน
๒ วางแผน/กำหนดกิจกรรม/คิดนวัตกรรม
ครูผู้สอนศึกษารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จากนั้นออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และสร้างสื่อ“เซียมซีเกม ๒๔” เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารของนักเรียน
๓ ดำเนินการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารของนักเรียน
ครูผู้สอนนำกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) ร่วมกับเกม “เซียมซี เกม ๒๔” ไปดำเนินการใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านน้ำพริก จำนวน ๒๐ คน ดำเนินการในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๔ ประเมินทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารของนักเรียน
ครูผู้สอนประเมินทักษะการบวก การลบ การคูณ และการหารของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน เป็นเครื่องมือในการวัดทักษะการคิดคำนวณของนักเรียน
๕ รวบรวมสรุปผล
สรุปผลความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ บรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด โดยการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมกิจกรรมของนักเรียน(ความกระตือรือร้น, สนุกสนาน, ความกล้าแสดงออก) และการ เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๖ พัฒนา/แก้ไข/ปรับปรุง
วิชาคณิตศาสตร์ เป็นเหมือนยาขมสำหรับเด็กนักเรียนจำนวนไม่น้อย ประสบการณ์เชิงลบเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ อาจทำให้เด็กนักเรียนกลายเป็นคนที่ “ไม่ชอบคณิตศาสตร์” หรือ “กลัวคณิตศาสตร์” ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องการพัฒนานักเรียนให้เกิดความเข้าใจคอนเซ็ปต์ต่างๆ ของคณิตศาสตร์ เพื่อนักเรียนจะได้มีทักษะการคิดคำนวณที่คล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ สำหรับการจัดกิจกรรม “เซียมซีเกม ๒๔” นี้ หลังจากที่ครูผู้สอนได้ดำเนินกิจกรรมมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่าสิ่งที่อยากนำไป พัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ในครั้งต่อไป คือ
๑) การเพิ่มกิจกรรม Brain Break, Brain Gym ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
๒) ฝึกการท่องสูตรคูณของนักเรียนให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
๓) การเพิ่มชุดเซียมซีให้มีหลายชุด เพื่อนักเรียนจะได้ฝึกทำโจทย์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
๔) เลือกเวลาจัดกิจกรรม “เซียมซีเกม ๒๔” ในวันที่มีชั่วโมงกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ติดต่อกัน ๒ ชั่วโมง เพราะนักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้า ต้องให้เวลาได้ฝึกคิดฝึกทำ
๕) เพิ่มการฝึกให้เด็กนักเรียนได้สร้างโจทย์เอง แล้วออกมาอภิปรายร่วมกับเพื่อนๆ หน้าชั้นเรียนเพื่อจะได้เป็นการเปรียบเทียบวิธีการคิดระหว่างวิธีการคิดของนักเรียนกับวิธีการคิดของเพื่อน และฝึกให้นักเรียนกล้าคิดกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
๑. นักเรียนมีพัฒนาการทักษะคณิตศาสตร์ ด้านการบวก การลบ การคูณ และการหารสูงขึ้น
๒. นักเรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น
๓. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
๔. นักเรียนมีวินัยในการเล่นเกมเซียมซีเกม ๒๔ เรียนรู้กติกา ปฏิบัติตามกติกา และมีความซื่อสัตย์ในการเล่นเกม
๑. การเพิ่มกิจกรรม Brain Break, Brain Gym ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
๒. ฝึกการท่องสูตรคูณของนักเรียนให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
๓. การเพิ่มชุดเซียมซีให้มีหลายชุด เพื่อนักเรียนจะได้ฝึกทำโจทย์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
๔. เลือกเวลาจัดกิจกรรม “เซียมซีเกม ๒๔” ในวันที่มีชั่วโมงกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ติดต่อกัน ๒ ชั่วโมง เพราะนักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้า ต้องให้เวลาได้ฝึกคิดฝึกทำ
๕. เพิ่มการฝึกให้เด็กนักเรียนได้สร้างโจทย์เอง แล้วออกมาอภิปรายร่วมกับเพื่อนๆ หน้าชั้นเรียนเพื่อจะได้เป็นการเปรียบเทียบวิธีการคิดระหว่างวิธีการคิดของนักเรียนกับวิธีการคิดของเพื่อน และฝึกให้นักเรียนกล้าคิดกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!