ปัจจุบันข้าพเจ้าสอนรายวิชา ภาษาอังกฤษ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้สังเกตพฤติกรรม การเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน พบว่านักเรียนมีเจตคติเชิงลบต่อวิชาภาษาอังกฤษ คิดว่าภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่ยาก เพราะการเรียนภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาต่างประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ สอง และไม่มีสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ตามชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความขี้เกียจท่องคำศัพท์ โดยสังเกตได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ค่อนข้างน้อย ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนจึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนมีเจตคติเชิงบวกต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ คลายความกลัวในทัศนคติของนักเรียน ทำอย่างไรจึงจะช่วยให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และเกิดเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษนำนักเรียนไปสู่พฤติกรรมความกล้าแสดงออก อยากที่จะเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และฝึกฝนทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ จึงคิดสร้างเกมคำศัพท์ Parts of our body ขึ้นเพื่อใช้ควบคู่ไปกับการสอน เพราะการเล่นเกมอาจเข้าไปช่วยกระตุ้นความสนใจ ความกระตือรือร้น อยากรู้อยากลองของนักเรียน กล้าที่จะแสดงออก เกิดความสนุกสนานและมีความสุขในการเรียน
1. คัดกรองนักเรียน
ประเมินทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง ส่วนต่างๆ ของร่างกายเรา ของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน เป็นเครื่องมือในการคัดกรองทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน
2. วางแผน/กำหนดกิจกรรม/คิดนวัตกรรม
ครูผู้สอนศึกษารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) ให้เข้าใจ จากนั้นออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และสร้างสื่อ“เกมคำศัพท์ Parts of our body” เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง ส่วนต่างๆ ของร่างกายของเรา ของนักเรียน
3. ดำเนินการพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียน
ครูผู้สอนนำกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) ร่วมกับเกมคำศัพท์ Parts of our body ไปดำเนินการใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านน้ำพริก จำนวน ๒๐ คน ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
4. ประเมินทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียน
ครูผู้สอนประเมินทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน เป็นเครื่องมือในการวัดทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียน
5. รวบรวมสรุปผล
สรุปผลความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ บรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด โดยการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมกิจกรรมของนักเรียน(ความกระตือรือร้น, สนุกสนาน, ความกล้าแสดงออก กล้าออกเสียง กล้าสนทนา กล้าอ่าน และกล้าเขียน) และการเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566
6. พัฒนา/แก้ไข/ปรับปรุง
วิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนไทยแล้ว การเรียนภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาต่าง ประเทศ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง และไม่มีสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ตามชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน เป็นเหมือนยาขมสำหรับเด็กนักเรียนจำนวนมาก ประสบการณ์เชิงลบเกี่ยวกับวิชาภาษาอังกฤษ อาจทำให้เด็กนักเรียนกลายเป็นคนที่ไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษหรือกลัวภาษาอังกฤษไม่กล้าออกเสียง ไม่กล้าสนทนา ไม่กล้าอ่าน และไม่กล้าเขียน ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องการพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นขั้น
เป็นตอนเพื่อนักเรียนจะได้มีทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้ เกมคำศัพท์ Parts of our body นี้ หลังจากที่ครูผู้สอนได้ดำเนินกิจกรรมมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่าสิ่งที่อยากนำไป พัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ในครั้งต่อไป คือ
1) การเพิ่มกิจกรรม Brain Exercise ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
2) ฝึกการท่องสระและพยัญชนะภาษาอังกฤษของนักเรียนให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
3) ฝึกการเทียบสระและพยัญชนะภาษาอังกฤษกับภาษาไทยของนักเรียนให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
4) เพิ่มการฝึกให้เด็กนักเรียนได้ออกมาอ่านออกเสียงคำศัพท์ให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
1. นักเรียนพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ดีมากยิ่งขึ้น
2. นักเรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้น
3. นักเรียนมีความสุขในการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ และมีพฤติกรรมความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
4. นักเรียนมีวินัยในการเล่นเกม Parts of our body เรียนรู้กติกา ปฏิบัติตามกติกา และมีความซื่อสัตย์ในการเล่นเกม
สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้ เกมคำศัพท์ Parts of our body นี้ หลังจากที่ครูผู้สอนได้ดำเนินกิจกรรมมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่าสิ่งที่อยากนำไป พัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ในครั้งต่อไป คือ
1) การเพิ่มกิจกรรม Brain Exercise ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
2) ฝึกการท่องสระและพยัญชนะภาษาอังกฤษของนักเรียนให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
3) ฝึกการเทียบสระและพยัญชนะภาษาอังกฤษกับภาษาไทยของนักเรียนให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
4) เพิ่มการฝึกให้เด็กนักเรียนได้ออกมาอ่านออกเสียงคำศัพท์ให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!