inskru
gift-close

National Sorry Day ขอโทษนักเรียน เมื่อคุณครูทำผิด

0
0
ภาพประกอบไอเดีย National Sorry Day ขอโทษนักเรียน เมื่อคุณครูทำผิด

🙏 วันที่ 26 พฤษภาคมของทุกปี คือ วันขอโทษแห่งชาติของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความรู้สึกเสียใจต่อกลุ่มคนชนเผ่าพื้นเมืองรุ่นใหม่ที่ต้องเติบโตบนวิถีทางที่ต่างจากเดิม


ถึงแม้จะดูไกลตัวอยู่บ้าง แต่ insKru อยากนำวันนี้มานำเสนอให้เห็นว่า การขอโทษ ก็คือการสื่อสารความรู้สึกรูปแบบหนึ่งที่ทุกคนสามารถทำต่อกันได้ไม่ว่าเรื่องราวจะใหญ่โตแค่ไหนแต่หลาย ๆ ครั้ง “คำขอโทษ” ที่ออกจากปากคนหนึ่งกลับไม่ได้ช่วยบรรเทาความรู้สึกเท่าอีกคนหนึ่ง

เป็นเพราะอะไรกันแน่นะ ?

เรามาเรียนรู้วิธีการสื่อสารความรู้สึกของเรา ให้การขอโทษหนักแน่นและจริงใจไปด้วยกันได้เลย ..


การขอโทษที่ผู้รับรู้สึกว่ายังไม่ดีพอนั้นเกิดขึ้นได้จริงโดย Roy J. Lewicki ศาสตราจารย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อรอง และ สร้างความเชื่อมั่นระหว่างความสัมพันธ์บอกว่า เป็นเพราะการขอโทษนั้นยังไม่สมบูรณ์ อันเกิดจากการขาดส่วนสำคัญใน 6 องค์ประกอบดังต่อไปนี้


  1. การแสดงออกซึ่งความเสียใจทำให้ผู้รับคำขอโทษได้รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ขอโทษ
  2. การอธิบายว่าที่ผ่านมา ตัวเองทำอะไรผิดไป อธิบายให้เห็นว่าผู้ขอโทษได้มีการไตร่ตรอง ทบทวนถึงสิ่งที่ทำผิดพลาดไปแล้ว
  3. การแสดงออกว่า “ฉันเป็นคนทำความผิดนั้นเอง” พูดถึงตัวเองในมิติของการรับผิดชอบในความผิดที่ตัวเองได้ทำลงไป
  4. การประกาศว่าต่อไปนี้จะกลับตัวกลับใจเมื่อตระหนักรู้ และยอมรับความผิดแล้ว ขั้นนี้จึงตามมาเพื่อไม่ให้ผิดพลาดซ้ำ ๆ อีก
  5. การเสนอตัวแก้ไขความผิดพลาดย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีสิ่งใดแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ได้บ้าง
  6. การขอให้คู่กรณียกโทษให้และเมื่อขอโทษเสร็จแล้ว ในบางกรณีผู้ขอโทษอาจขอให้ผู้รับคำขอโทษยกโทษให้ เพื่อเยียวยาความรู้สึกตัวเอง


องค์ประกอบที่สำคัญ หากต้องการขอโทษมีอยู่ 2 ประเด็นด้วยกันคือ

  • การอธิบายว่าที่ผ่านมาตนทำอะไรผิด และการเสนอตัวแก้ไขความผิดพลาดหากมีเวลาในการไล่เรียง และอธิบายมากหน่อยก็สามารถพูดได้ทุกองค์ประกอบที่กล่าวมาเลย โดยการขอโทษที่ไม่ครบองค์ประกอบสำคัญ หรือมีอวัจนภาษาที่ดูไม่จริงใจ เช่น ยิ้ม ๆ พูดขำ ๆ มีน้ำเสียง หรือการเลือกคำที่ใช้ที่ทำให้รู้สึกว่าผู้ขอโทษไม่ได้สำนึกผิดจริง อาจยิ่งจะทำให้ผู้รับคำขอโทษรู้สึกไม่พอใจ มากกว่าการไม่ขอโทษด้วยซ้ำไป


ที่สำคัญที่สุดคือ “หากจะทำการขอโทษ อย่าลืมองค์ประกอบสำคัญ และแสดงความจริงใจ”ทั้งหมดนี้คุณครูสามารถลองนำไปสอนการสื่อสารกับนักเรียน หรือนำไปใช้จริงเมื่อตั้งใจจะสื่อสารถึงการขอโทษก็ได้


เนื้อหานี้ดัดแปลงมาจากบทความ “An Exploration of the Structure of Effective Apologies” บทหนึ่งของ Negotiation and Conflict Management Research ประจำเดือนพฤษภาคม 2016 https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/ncmr.12073

การจัดการชั้นเรียนโฮมรูมทักษะการสื่อสาร

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ