inskru

ทลาย 7 กำแพง เติมไฟในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ทลาย 7 กำแพง เติมไฟในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

❤️‍🔥นักเรียนไทยทุกวันนี้ทั้งเรียนหนัก เรียนเยอะ

แต่ผลลัพธ์ทางการศึกษากลับสวนทางกับ

ความทุ่มเท ก่อนรีบตัดสินว่านักเรียนเป็นฝ่ายผิด

เราลองมาคิดดูก่อนว่าระบบการศึกษาทุกวันนี้

กำลังจุดไฟ หรือ ดับไฟ ความอยากเรียนรู้

ของเด็ก ๆ กันแน่ ?


คุณไอติม - พริษฐ์ วัชรสินธุ แขกรับเชิญพิเศษ

ใน Live “ส่งต่อความกล้าที่จะLearn”

สรุปการเรียนรู้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน

insKru Festival 2024 ได้มาขยายความ

ให้ทุกคนเห็นถึงปัญหา และแนวทางในการแก้ดังนี้


จากสถิติพบว่าทักษะที่นักเรียนไทยมีอยู่นั้นต่ำกว่า

เกณฑ์ปกติ ในขณะที่การตระหนักรู้ว่าการเรียน

ในโรงเรียน ไม่เพียงพอสำหรับการมีทักษะ

ที่พร้อมกับโลกการทำงานก็ต่ำกว่าประเทศอื่น

เช่นกัน (อ้างอิงจาก ASEAN Youth Survey 2019)

การเรียนการสอนจึงควรได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพ

ดียิ่งขึ้น เพื่อที่นักเรียนใช้เวลาเรียนลดลง

ครูอย่างเราก็ใช้เวลาสอนน้อยลง แต่ได้คุณภาพ

ทักษะเต็มเปี่ยมกว่าที่เป็นอยู่ และพร้อมจะเรียนรู้

สิ่งใหม่ ๆ ในชีวิตต่อไป


คุณไอติม นำเสนอวิธีทลาย 7 กำแพงเพื่อเติมไฟ

ในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ซึ่งได้แรงบันดาลใจ

จากคณะทำงานวิชาการ ด้านการศึกษา

และการเรียนรู้ ดังนี้


1.ทลายกำแพงระหว่างวิชา

ออกแบบการสอนที่ยึดทักษะเป็นตัวตั้งแทนรายวิชา

เพื่อตอบโจทย์โลกสมัยใหม่ที่นักเรียนต้องเผชิญได้

ตัวอย่างเช่น กิจกรรม “สุดยอด บริษัท (พยายาม)

ขนส่ง จำกัด” ที่แทรกซึมเนื้อหาจากหลากวิชา

เข้ามาสร้างทักษะให้กับนักเรียน


2.ทลายกำแพงเด็กหน้าห้อง-หลังห้อง

เข้าใจความชอบ ความถนัดของนักเรียนแต่ละคน

และลบภาพความสำเร็จทางวิชาการ เป็นความ

สำเร็จเพียงสูตรเดียวที่ครูหรือโรงเรียนยอมรับ

เช่น กิจกรรม “การประเมินช่วยเพิ่มการมองเห็น”

ที่ย้ำถึงความสำคัญของนักเรียนกลุ่มกลาง


3.ทลายกำแพงการเรียนรู้ใน - นอกห้องเรียน

ประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างวัน ที่ไม่ใช่แค่

ในเวลาเรียน ก็มีความสำคัญและส่งผลดีกับ

การเรียนรู้ของนักเรียนในระยะยาว ซึ่งสามารถทำได้

จากการออกแบบกิจกรรมนอกห้องเรียน


4.ทลายกำแพงระหว่างบทบาทของนักเรียน

และการเป็นมนุษย์

ดูแลมากกว่าเพียงด้านวิชาการ หรือผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน แต่คำนึงถึงมิติอื่น ๆ ในชีวิตของ

นักเรียน เช่น สุขภาวะ ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพจิต

เท่าที่ทำได้ ในขณะที่ฝ่ายบริหารนโยบายก็ควร

สนับสนุนคุณครู ผ่านการมีนักจิตวิทยาในโรงเรียน

ด้วยเช่นกัน

.

5.ทลยกำแพงระหว่างบทบาทผู้สอน - ผู้เรียนรู้

นอกจากการเป็นผู้ออกแบบการสอนแล้ว

ครูก็สามารถอัพเดตองค์ความรู้ วิธีการสอน

หรือทัศนคติใหม่ ๆ เพื่อตอบกับยุคสมัยที่นักเรียน

เติบโตมา โดยฝ่ายบริหารนโยบายสามารถ

ช่วยคุณครูได้ ผ่านการลดภาระงานนอกเหนือ

การสอนที่ต้องทำในแต่ละวันเพื่อที่คุณครู

จะได้มีเวลาในการพัฒนาตนเองมากขึ้น


6.ทลายกำแพงที่มีต่อเทคโนโลยี

เปิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของการสอน

เช่น การใช้ ChatGPT ประหยัดเวลาบางส่วน

เพื่อใช้เวลาที่มีมากขึ้น ทำในสิ่งที่เทคโนโลยี

ไม่สามารถทำแทนมนุษย์ได้ เช่น การปรึกษาผู้เรียน

การออกแบบไอเดียการสอน


โดยคุณไอติมเน้นย้ำว่า “นวัตกรรม”

ไม่ใช่ “เทคโนโลยี” เนื่องจากนวัตกรรมไม่จำเป็น

ต้องมีส่วนประกอบของเทคโนโลยีก็ได้

เพียงตอบโจทย์ แก้ไขปัญหาที่มี

ด้วยวิธีการใหม่ ๆ ก็เพียงพอแล้ว


7.ทลายกำแพงระหว่างครูแต่ละรุ่น

เพราะครูแต่ละคนเติบโตมาในยุคสมัยที่แตกต่างกัน

เราสามารถดึงจุดแข็ง และความถนัดของครู

ทุกรุ่นออกมา เพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันผสมผสาน

ให้เกิดครูในแบบที่ดีที่สุดออกมา ผู้บริหารใน

โรงเรียนสามารถออกแบบบรรยากาศการทำงานที่ดี

ขึ้นมาได้ ไม่เน้นระบบอาวุโส

เพื่อให้สิ่งนี้สำเร็จขึ้นจริง


จะเห็นได้ว่าการทลายกำแพงนี้อาจเริ่มที่ตัวครู

แต่ผู้บริหารนโยบายเองก็มีบทบาทในการ

ให้ความร่วมมือด้วย เราจึงจะได้ระบบการศึกษา

ที่มีประสิทธิภาพโดยไม่เพิ่มภาระที่คุณครู


🌟นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้เท่านั้น

หากสนใจดูคลิปย้อนหลัง พร้อมรับ

Visual Note สรุปทุกกิจกรรมในงาน

insKru Festival 2024 แถมมีสิทธิประโยชน์

ในเว็บไซต์อีกมากมาย

สมัครสมาชิกชาวอินส์ 1 ปี กันได้เลยที่

https://bit.ly/WebDonationFB1




insKruFestival2024กล้าที่จะLearninsKruพื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ