inskru
gift-close
insKru Selected

ดนตรีมีธรรม : บูรณาการ 4 วิชาสร้างการเรียนรู้ครบวงจร

10
8
ภาพประกอบไอเดีย ดนตรีมีธรรม : บูรณาการ 4 วิชาสร้างการเรียนรู้ครบวงจร
กิจกรรมดนตรีมีธรรม ในวิชาสังคมศึกษาที่บูรณาการวิชาภาษาไทย วิชาดนตรีและวิชาศิลปะ เป็นการให้นักเรียนได้ฝึกทักษะหลายด้านพร้อมกัน รวมถึงการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ และการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการร้องเพลง กิจกรรมนี้จัดมาเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยการริเริ่มของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้รับความสนใจจากนักเรียนเป็นอย่างดีในทุก ๆ ปี ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย!


ขั้นตอนของกิจกรรม

  1. การแบ่งกลุ่ม : นักเรียนที่สนใจร้องเพลงจับกลุ่มยื่นใบสมัคร กลุ่มละ 2-5 คน (ไม่จำเป็นต้องเป็นชั้นเดียวกัน สามารถคละชั้นได้) ในเวลาที่รับสมัคร กิจกรรมนี้ไม่เฉพาะนักเรียนเท่านั้น แต่คุณครู และนักศึกษาฝึกสอนก็สามารถรวมทีมเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ (ม่วนจอยสุด ๆ)
  2. การเลือกเพลง : แต่ละกลุ่มจะต้องเลือกเพลง 1 เพลงที่ต้องการใช้ในการประกวด ซึ่งสามารถเป็นเพลงแนวใดก็ได้ แต่เนื้อเพลงควรมีความหมายที่สามารถเชื่อมโยงกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้
  3. การอธิบายหลักธรรม : หลังจากการร้องเพลงเสร็จ กลุ่มจะต้องนำเสนอหลักธรรมที่มีอยู่ในเนื้อเพลงและอธิบายอย่างละเอียด โดยให้ยกตัวอย่างและเชื่อมโยงกับเนื้อเพลง
  4. สถานที่จัดกิจกรรม : ลานเพลิน หน้าโรงอาหาร จัดในช่วงเวลาพักกลางวัน 2 ชั่วโมง (ม.ต้น 11.00 -12.00 น. และ ม.ปลาย 12.00 - 13.00 น.) นักเรียนและครูสามารถรับประทานอาหารพร้อมฟังเพลงเพราะ ๆ จากการแสดงของนักเรียน

 

ตัวอย่างเพลงที่นักเรียนนำมาร้อง เช่น เพลงห้านาทีบรรลุธรรม ของบิทเติ้ล เป็นเพลงที่มีเนื้อหาสะท้อนหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะในเรื่องของทุกข์ ความไม่เที่ยง และความไม่มีตัวตน (ไตรลักษณ์) เนื้อเพลงเล่าเรื่องของคนที่มาหาพระเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความทุกข์ที่เกิดจากการสูญเสียคนรัก และได้รับคำตอบที่นำไปสู่การเข้าใจสัจธรรมของชีวิต โดยเนื้อหาของเพลงสามารถเชื่อมโยงกับหลักธรรมต่าง ๆ ดังนี้

 

เนื้อเพลง :

  • "เดินเข้าไปในศาลา เดินเข้ามาด้วยน้ำตา กราบพระสามครา แล้วก็พูดว่า “หลวงพ่อครับ” อยากวอนให้เธอกลับมา ให้เป็นเหมือนดังสัญญา ที่เธอเคยพูดว่าเราจะไม่ร้างลา แต่แล้วก็มาทิ้งกัน"

การเชื่อมโยงกับหลักธรรม :

  • ทุกข์ (ทุกข์) : เนื้อเพลงเปิดฉากด้วยการแสดงถึงความทุกข์จากการสูญเสียคนรัก การเดินเข้ามาด้วยน้ำตาแสดงถึงความทุกข์ใจที่เกิดขึ้น
  • สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) : ความทุกข์ที่เกิดจากการสูญเสียคนรักเกิดขึ้นเนื่องจากความยึดมั่นในความสัมพันธ์และคำสัญญาที่จะไม่ร้างลา

 

เนื้อเพลง :

  • "ทำไมคนที่รัก สุดท้ายต้องจากกัน ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมยังไม่เข้าใจหรือเคยทำกรรมอะไรไว้ เคยไปทำอะไรใครที่ไหน หลวงพ่อยิ้มตอบผมว่าองค์พระศาสดา เคยตามหาว่าทุกข์นั้นมาจากที่ใด ขอให้โยมลองทดลองดู จะรู้ว่าคืออะไร"

การเชื่อมโยงกับหลักธรรม :

  • ไตรลักษณ์ (สามัญลักษณะ) : หลวงพ่อสอนให้โยมเข้าใจถึงความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ของทุกสิ่ง รวมถึงความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ของสรรพสิ่ง
  • มรรค (ทางดับทุกข์) : หลวงพ่อชี้แนะให้โยมปฏิบัติเพื่อค้นหาสาเหตุของทุกข์ โดยให้ลองทดลองดูเพื่อจะได้รู้ว่าความทุกข์คืออะไร

 

เนื้อเพลง :

  • "ไหนโยมลองลืมตานาน ๆ สักห้านาที แล้วไม่ต้องหลับตาเลยสักวินาที ถึงแม้ว่าลมจะแรงเท่าไร กลั้นใจให้ดี นะโยม นะโยม ให้ฝืนหยัดยืนไว้ ไหนโยมเป็นไง เหนื่อยมั้ยที่ไม่หลับตา ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ต้องโรยรา เมื่อมีลืมตาสุดท้ายก็ต้องหลับตา ก็เพราะว่าฝืนเลยมีน้ำตา"

การเชื่อมโยงกับหลักธรรม :

  • อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) : การที่โยมต้องลืมตาตลอดเวลาเป็นการฝืนธรรมชาติ สะท้อนถึงการเข้าใจว่าทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถคงอยู่ตลอดไป
  • ทุกขัง (ความเป็นทุกข์) : การฝืนธรรมชาติทำให้เกิดความทุกข์ เหมือนกับการฝืนลืมตาตลอดเวลา ทำให้รู้สึกเหนื่อยและน้ำตาไหล

 

เนื้อเพลง :

  • "รักเธอเท่าไหร่ ไม่ว่ายังไงก็ต้องจากลา ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดา ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ได้เข้าใจที่ศาลา ได้เข้าใจด้วยสองตา รักเท่าไร ก็ต้องจากลา"

การเชื่อมโยงกับหลักธรรม :

  • อนัตตา (ความไม่มีตัวตน) : การที่ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา สะท้อนถึงหลักอนัตตาที่ว่าไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตนที่แท้จริง ทุกอย่างล้วนไม่มีตัวตนที่คงอยู่
  • ปัญญา (ความรู้แจ้ง) : โยมได้เรียนรู้และเข้าใจสัจธรรมของชีวิตที่ศาลาด้วยการมองเห็นความจริงของชีวิตด้วยตาของตนเอง

 

สรุปการเชื่อมโยงหลักธรรม

  • ทุกข์ (ทุกข์) : ความทุกข์ที่เกิดจากการสูญเสียคนรักและความทุกข์จากการฝืนธรรมชาติ
  • สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) : ความยึดมั่นถือมั่นในความสัมพันธ์และคำสัญญา
  • นิโรธ (ความดับทุกข์) : การรับรู้และเข้าใจธรรมชาติของการเกิดและดับของสรรพสิ่ง
  • มรรค (ทางดับทุกข์) : การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อเข้าใจและดับทุกข์
  • อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) : ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงและไม่คงที่
  • ทุกขัง (ความเป็นทุกข์) : ความทุกข์ที่เกิดจากการฝืนธรรมชาติและการยึดมั่นถือมั่น
  •  อนัตตา (ความไม่มีตัวตน) : ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตนที่แท้จริง ทุกสิ่งเกิดขึ้นและดับไปตามธรรมชาติ
  • ปัญญา (ความรู้แจ้ง) : การมองเห็นและเข้าใจสัจธรรมของชีวิตด้วยตนเอง

 

การบูรณาการ 4 วิชาสร้างการเรียนรู้ครบวงจร

  1. วิชาสังคมศึกษา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
  2. วิชาภาษาไทย การเขียนรายงานและการนำเสนอ
  3. วิชาดนตรี การเลือกและฝึกฝนการร้องเพลง การแสดงดนตรี
  4. วิชาศิลปะ การสร้างสรรค์งานศิลปะที่สอดคล้องกับเพลง การออกแบบสื่อการนำเสนอ เช่น ออกแบบโปสเตอร์หรือแผ่นพับเพื่ออธิบายเนื้อหาและหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับเพลง


คุณครูท่านไหนลองนำไปปรับใช้แล้ว อย่าลืมมาแลกเปลี่ยนและเล่าสู่กันฟังน๊าาา
สังคมศึกษาภาษาไทยดนตรีศิลปะ

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

10
ได้แรงบันดาลใจ
8
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insครูสังคมอมยิ้ม
ครูสังคมศึกษาผู้หลงหลงในบอร์ดเกมการศึกษา กับการตั้งคำถามว่า "เกมเป็นมากกว่าแค่เรื่องสนุกที่ไม่มีสาระจริงหรือ"

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ