inskru

แนะนำยังไง เมื่อนักเรียนกำลังตัดสินใจเลือกสายการเรียน

1
1
ภาพประกอบไอเดีย แนะนำยังไง เมื่อนักเรียนกำลังตัดสินใจเลือกสายการเรียน

🤔“แนะนำอย่างนี้ จะดีกับนักเรียนจริงมั้ย ? 

แล้วสิ่งที่เราแนะนำไป ยังจะทันกับโลกทุกวันนี้หรือเปล่า

หรือนักเรียนที่ทำตามจะเสียใจทีหลังกันนะ ?”

เสียงที่ดังขึ้นในหัวทุกครั้ง เมื่อนักเรียนมาปรึกษา

ขอคำแนะนำเพื่อเลือกสายการเรียน หรือเลือกคณะเพื่อศึกษาต่อ


คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการตัดสินใจว่าควรเรียนสายวิชาไหนดี 

มีปัจจัยอื่น ๆ ที่มากมายไปกว่าแค่ “ความชอบ” 

“ความสนใจ” หรือ “ความถนัด” ของนักเรียนเพียงอย่างเดียว

และในหลาย ๆ ครั้งมี “ค่านิยมสังคม” หรือ “ความหวังดี” อยู่ด้วย


insKru และโครงการ Girl in STEM โดย Sea (Thailand)

จะมาชวนคุณครูสำรวจวิธีการแนะแนวที่ได้ผล

พร้อมเปิดโลกการทำงานจริงในแวดวง STEM 

คุณครูกดแชร์ไว้ เพื่อนำไปใช้กับนักเรียนได้เลยน้า


💬การแนะนำสายการเรียนสำหรับนักเรียนที่มั่นใจ 

เข้าใจตัวเอง จนตัดสินใจได้อย่างแน่วแน่แล้ว

เราก็คงไม่รู้สึกเป็นห่วงมากนัก แต่จะเป็นห่วงนักเรียน

ที่ยังออกอาการลังเล ตัดสินใจไม่ได้เสียมากกว่า


อาการลังเล ตัดสินใจไม่ได้ที่เกิดขึ้น มีผลจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน

คือปัจจัยภายในของนักเรียน ที่ไม่รู้ว่าตัวเองถนัดอะไร 

หรือไม่แน่ใจว่าจะเรียนอะไรต่อไปดี ไม่ได้ชอบหรือสนใจอะไรเป็นพิเศษ

ซึ่งเราสามารถสื่อสารโดยตรงกับนักเรียนได้เลย หรือทำกิจกรรมผ่านเนื้อหา

ในคาบเรียนวิชาแนะแนวอย่างการทำแบบทดสอบสำรวจตนเอง 

หรือ ค้นหาอาชีพต่าง ๆ ที่น่าสนใจ


ในขณะที่ปัจจัยภายนอกรอบตัวนักเรียน อย่างความคาดหวังของผู้ปกครอง

หรือมุมมองที่สังคมมีต่อวิชาชีพต่าง ๆ ก็มีส่วนในการตัดสินใจอยู่ไม่ใช่น้อยเช่นกัน

โดยคุณครูอย่างเราก็สามารถสื่อสารให้ความกังวลตรงนี้ คลายไปได้เหมือนกันนะ


🧪 สมมุติว่านักเรียนคนหนึ่งมั่นใจแล้วว่าอยากเรียนในวิชาสาย STEM 

เพื่อประกอบวิชาชีพต่อไป นั่นก็คือเคลียร์ปัจจัยภายในตัวเองได้เรียบร้อยแล้ว

แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเจอการเบรค

จากผู้ใหญ่ที่มองว่าวิชาชีพนั้น ๆ มีความเสี่ยงอันตราย

สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะกับเพศของเด็ก ๆ หรอก


เช่น หากมีเด็กผู้หญิงมาปรึกษาเพราะอยากเรียนวิศวะ

จบไปตั้งใจจะทำงานที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนอาจจะเบรค

ด้วยความคิดที่ว่า “ไปอยู่แท่นขุดเจาะน้ำมันนั้นอันตราย 

แถมสภาพแวดล้อมตรงนั้นก็มีผู้ชายเต็มไปหมด 

ลองเรียนอย่างอื่นแทนดีกว่ามั้ย ?”


👨‍💻ส่วนหนึ่งที่ภาพลักษณ์นี้ผลิดอกออกผลมาได้

ก็เป็นเพราะว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานทุกวันนี้

มีผู้ชายเป็นหลักจริง ๆ จนองค์กรอาจไม่มีแนวทาง

ในการรับมือที่มีประสิทธิภาพกับผู้หญิงมาก่อน 

จนทำให้ผู้ใหญ่ที่เห็นภาพนี้เกิดความเป็นห่วงในตัวนักเรียนขึ้นมา


เมื่อประกอบกับความเหลื่อมล้ำจากวัฒนธรรมองค์กรที่เกิดขึ้น

ทั้งการกีดกันในตำแหน่งหน้าที่การงาน (Glass Ceiling) ที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถ

ขึ้นสู่ตำแหน่งการบริหารได้ตามความสามารถของตน หรือความเหลื่อมล้ำ

ทางรายได้ (Gender Pay Gap) ซึ่งประเทศไทย 

รายได้ของผู้ชาย มักมากกว่าผู้หญิงที่ทำงาน

ตำแหน่งเดียวกันเกือบ 10 % 


ทำให้การเลือกเรียน และทำงานในสายงาน STEM

ยังไม่ถูกเปิดกว้างตามความสามารถ และความสนใจของนักเรียน

ได้จริง ๆ อย่างที่ควรจะเป็นนั่นเอง


และที่เศร้าที่สุดคือการเกิดการวนเป็นวงจรลูป

ที่แก้ไขได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อเด็กผู้หญิงเลือกเรียนสายวิชา STEM น้อย

ก็จะมีบุคลากรที่ทำงานด้านนี้น้อย

เมื่อมีจำนวนคนทำงานน้อย สังคมก็จะมองว่าสายวิชานี้

เหมาะกับผู้ชายเท่านั้น

ทำให้มีเด็กผู้หญิงเรียนสายวิชานี้น้อยตามไปด้วย


🔬 ถึงตรงนี้หลาย ๆ คนกำลังสงสัยอยู่เลยว่า

แล้วการมีผู้หญิงเข้ามาในสายงาน STEM มากกว่าที่เป็นอยู่

จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมั้ย บอกเลยว่า มีอย่างแน่นอน 


เนื่องจากมีการพิสูจน์แล้วว่า

การเพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่ทำงานสาย STEM

เป็นผลดีกับทุกคน ทุกเพศ ทั้งในและนอกวงการ

เพราะความหลากหลาย ไม่ว่าจะทางเพศหรือเชื้อชาติ

ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพจากหลากหลายมุมมองทางสังคม 

นอกจากนี้การทำงานร่วมกันยังช่วยเติมเต็มให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ

อีกด้วย เช่น การออกแบบเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ ตอนแรกถูกออกแบบโดย

คำนึงถึงสรีระผู้ชาย ทำให้ไม่สามารถปกป้องผู้หญิงที่ขับรถได้ดีเท่าที่ควร 

หรือการออกแบบเครื่องมือสำหรับการผ่าตัด ที่ไม่ได้คำนึงถึง

ศัลยแพทย์ทั่วไปที่เป็นผู้หญิง ทำให้หยิบจับได้ไม่สะดวก เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย


การมีผู้หญิงในสายงาน STEM มากขึ้น จึงยิ่งเสริมมุมมองเหล่านี้

ที่ยังขาดหายไปในการสรรสร้างสิ่งดี ๆ กับสังคม ซึ่งเป็นผลดีกับทุกคน ทุกเพศจริง ๆ


อ้างอิง

https://www.scientificamerican.com/article/how-diversity-makes-us-smarter/

https://headfoundation.org/2021/09/27/the-importance-of-women-in-stem/

https://www.med-technews.com/medtech-insights/latest-medtech-insights/women-in-stem-paving-the-way-for-innovation-in-women%E2%80%99s-health


🌟เมื่อได้รู้ถึงผลดีขนาดนี้แล้ว อยากให้นักเรียนมีความมั่นใจ

เลือกสายการเรียน หรือคณะที่สนใจได้เต็มที่

โดยไม่ต้องกังวลค่านิยมของสังคม หรือความเป็นห่วงจากผู้ใหญ่

ครูมิ้น - นิษฐ์รตี โชติวัฒน์คุณาธร 

ครูแนะแนวประสบการณ์กว่า 7 ปี

ได้แบ่งปันวิธีการ และแนวทางคร่าว ๆ มาดังนี้


1. ครูไม่ใช่ผู้ถือข้อมูลและตัดสินใจ เรามีหน้าที่ประสานความช่วยเหลือ ประสานข้อมูล ให้นักเรียนไปเจอกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือคุยกับคนก็ตาม แล้วให้พื้นที่เขาในการตัดสินใจด้วยตัวเอง สื่อพวกนี้จริง ๆ แอบหายาก บางครั้งก็จะมีค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งเราเข้าใจ มันเป็นองค์ความรู้ มีค่าเสียเวลาในการทำที่ต้องจ่าย เด็กบางคนสามารถรับค่าใช้จ่ายได้ แต่บางคนก็ไม่ไหวเหมือนกัน

หรือที่โรงเรียนเก่า มีโครงการพี่พบน้อง ที่ชวนรุ่นพี่กลับมาคุย กลับมาแนะแนววิชาชีพให้กับรุ่นน้อง โดยจะมีทุกอาชีพตลอดทั้งเดือน ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพได้กว้างขึ้นกว่าเดิม


2. กรณีที่ผู้ปกครองคิดอีกมุมมองแล้วกำหนดว่าอยากให้เรียนอะไร สิ่งที่ทำได้คือการทำความเข้าใจ นำเอาเหตุผลในการคุยกันมากกว่าอารมณ์

อย่างเคสนึงที่ครูมิ้นเคยเจอ มีนักเรียนหัวดี เข้าหมอได้แน่นอน แต่ตัวเองชอบด้านอาร์ต เลยตัดสินใจเรียนเพื่อเป็นนักเวชนิทัศน์ ทำสื่อทางการแพทย์ ผู้ปกครองก็ห้าม อยากให้เรียนหมอมากกว่า จริง ๆ แล้วที่บ้านอาจยังไม่เข้าใจว่าสิ่งที่นักเรียนอยากเรียนเกี่ยวกับอะไร เพราะมันเกินความเข้าใจของยุคสมัยนั้น โลกการเรียนรู้ยังไม่เปิดเท่าปัจจุบัน

สุดท้ายนักเรียนก็หาข้อมูลไปทำความเข้าใจ ทำงานยังไง ทำงานที่ไหน เงินเดือนเท่าไหร่

คุยกันจนเกิดความเข้าใจกันในที่สุด สิ่งที่น่าดีใจคือ เขาได้ทำงานที่มีความหมาย ไม่ใช่ทำไปงั้น ๆ ในแต่ละวัน


3. ตอนที่นักเรียนปรึกษา โดยเล่าถึงความชอบ ถึงแม้ว่าความถนัดจะตรงหรือไม่ เราไม่ควรไปดับฝันเขาเลย เนื่องจากเราไม่รู้ทั้งหมดของชีวิตเด็ก เราเห็นแค่ในพาร์ทการเรียน 

ไม่ว่ามีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน เราเลือกจะเชียร์อัพก่อน เพราะความฝัน ความตั้งใจนั้นมีคุณค่าและยิ่งใหญ่สำหรับเด็กคนนั้นมาก เสียงข้างในของนักเรียนนั่นแหละจะช่วยให้เขาอยากพัฒนา แล้วเราค่อยช่วยไกด์เขาจากจุดนั้นต่อไป


เมื่อได้เข้าใจแนวทางการแนะนำแบบนี้แล้ว

เราในฐานะครูก็คงสามารถช่วยซัพพอร์ตนักเรียน

ตามความต้องการของผู้เรียนจริง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน


🚨 พิเศษ ! สำหรับคุณครูที่ต้องการหาแนวทางการสอน

อย่างเป็นมิตร และอยากให้นักเรียนที่สนใจเรื่อง STEM 

ได้พูดคุยกับตัวจริงในวงการเพื่อให้มั่นใจในเส้นทางที่กำลังจะเลือก


SEA (Thailand) ร่วมกับ insKru และ สวทช. 

ได้ตั้งใจจัด One-Day Camp “Girl in STEM” ขึ้นมา 

เพื่อให้คุณครูและนักเรียนมาพบกับ

ประสบการณ์การเรียนรู้ STEM แบบใหม่

และเสริมความมั่นใจผ่านการ empower

นักเรียนหญิงไปพร้อมกัน


👩🏻‍🔬 ในงานเตรียมพบกับ Talk เติมแรงบันดาลใจ 

รับฟังมุมมองจากตัวจริงในแวดวง STEM 

ในกิจกรรม Human Library 

ให้นักเรียนได้พูดคุยในบรรยากาศสบาย ๆ 

กับพี่ ๆ ที่ทำงานสาย STEM ไม่ว่าจะเป็น

วิศวกรนาโน นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

วิศวกรการบินและอวกาศ นักวิทยาศาสตร์การอาหาร

นักนิติวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์เภสัชวิทยาภูมิคุ้มกัน

และอีกมากมาย พร้อมตอบคำถาม ไขข้อสงสัย

ให้นักเรียนก้าวออกจากงานไปด้วยความมั่นใจ

.

พร้อมกิจกรรมอบรมคุณครู จากสวทช.

ร่วมกันออกแบบแนวทางการสอนที่โอบรับทุกคนทุกเพศ

พร้อมผลักดันศักยภาพของนักเรียนเราทุกคนอย่างเต็มที่

.

สมัครได้เลยที่ https://bit.ly/Girl_in_STEM

ตั้งแต่วันนี้ - 16 มิถุนายน 2567 เท่านั้น !

.

ครู 1 คน ชวนนักเรียนผู้หญิง (หรือเพศทางเลือก) 

ช่วงชั้นม.ต้น มาได้ 2 คน ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

มีเกียรติบัตรให้คุณครู และนักเรียนที่เข้าร่วมทุกคน

พร้อมมีหนังสือนำส่งทางโรงเรียนให้คุณครูที่ต้องการ

พลาดไม่ได้แล้ว มาเจอกันเยอะ ๆ น้าาาา

WomenMadeGirlinSTEMSeaThailandพื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอนinsKru

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

1
ได้แรงบันดาลใจ
1
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ