แรงบันดาลใจและดัดแปลงจาก สร้างบ้านแปงเมือง : ภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐานของบ้านเมือง By ครูอาร์ทที่สอนสังคม
ในที่นี้เป็นเรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ม.3 ปรับให้ง่ายขึ้น(รึป่าวไม่รู้นะ แต่ให้วาดมือกันไปเลย)
ประเด็น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสถาปนาราชธานีใหม่ นอกจากตัวบุคคล รวมถึงความจำเป็นต่าง ๆ ที่ทำให้ต้องย้ายต้องเมืองแล้ว สภาพและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ก็มีส่วนสำคัญ !!
คาบนี้ เรียนรู้ และทำความเข้าใจการเกิดขึ้นและล่มสลายของเมือง ผ่านการหยิบเลือกผังเมือง(คูเมือง) แบบต่าง ๆ มาวาด ให้เห็นให้เข้าใจผ่านเส้นสาย ลายมือของ นักเรียนเอง
(การเลือกองค์ประกอบเมืองแบบต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่กำหนดความเป็นไปของเมืองที่สร้าง เพราะในตอนท้าย นร.จะต้อง วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของเมืองที่สร้างขึ้น ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไรในแต่ละประเด็น)
สถานการณ์ สมมุติให้ นร.เป็นเจ้าเมืองที่กำลังตกในสถานการณ์ยากลำบาก ต้องหาทำเลเหมาะ ๆ ในการสร้างเมืองใหม่ โดยเจ้าเมืองจะต้อง….
กำหนดให้ด้านบน(ของกระดาษ)เป็น ทิศเหนือ
🔻เลือก "รูปแบบผังเมือง/คูเมือง" ตามที่ชอบ
🔻เลือก "ตำแหน่งประตูเมือง" อยู่ตรงไหน ประตูหลัก ประตูผี แทรกเรื่อง ความเชื่อทิศ ไป
🔻เลือก "สภาพแวดล้อมที่เป็นแม่น้ำ" มีหลายแบบ ตรง โค้ง บรรจบกัน (แหล่งน้ำ กับ การเลือกตั้งถิ่นฐานเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก) จะวางตรงไหนของเมืองก็ได้ จะนอก จะในเมือง จะริม ก็ได้ น้ำมีทางเข้า ก็ต้องมีทางออก เมืองนั้นจะอยู่ได้ หรือ ไม่ได้ ตรงนี้สำคัญ 555+
Ex . บางคนเลือก ผ่าเข้ากลางเมืองเลยก็มี เดี๋ยวตอนท้ายเขาจะได้รู้ถึงจุดดี และจุดเด่นของการเลือกแบบต่าง ๆ
🔻เลือก "ถนน" ในเมืองจะมีเส้นทางถนนแบบไหน ตาราง วงกลม เส้นตรง ฯลฯ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็จะมีผลต่อสิ่งปลูกสร้างในเมือง (คาบนี้ไม่ได้ลงรายละเอียดสิ่งปลูกสร้าง เน้นเห็นผังเมืองโดยรวมคร่าวๆ)
🔻 เลือก "กำแพงเมือง/ป้อมปราการ" จากที่ได้ยิน นร. วิเคราะห์ คุยกัน เป็นตัวอย่างนึงที่แสดงให้เห็นการมองอย่างเข้าใจ
Ex. นร : ไม่เอากำแพงฯ แบบไม้สิ ข้าศึกมา เผาพังเลยนะ
🔻 เลือก "อาวุธ" ประจำเมือง อาวุธหลักที่เมืองนี้ใช้ในการศึก
🔻 เลือก "จำนวนคน" ว่าเมืองนี้สามารถรองรับคนได้เท่าไหร่
จากนั้น
- ให้เลือกสิ่งของที่กำหนดให้ จากเมืองเดิมมา 5 อย่าง จะเลือกอะไรติดตัวมา แล้วของนั้นเอามาใช้ทำอะไร
- วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของผังเมืองที่สร้างขึ้น ว่าจะเป็นอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับเมือง ทั้งในอดีต และปัจจุบัน เพื่อให้มองเห็นความสัมพันธุ์ของปัจจัยทางภูมิศาสตร์ หรือ กายภาพ กับการเกิดขึ้นและตั้งอยู่ของเมือง
🔻ด้านการป้องกันข้าศึก
🔻 ด้านการดำรงชีพ/อาศัย/อาชีพ
🔻ด้านการคมนาคม เดินทาง
🔻ด้านสภาพอากาศ/ภัยพิบัติ
ถึงจะเป็นจุดเล็ก ๆ ของบทเรียนแต่สุดท้าย นร. จะได้เห็นและเข้าใจว่า การดำรงอยู่อย่างมั่นคงของเมืองมีปัจจัยใดเข้ามามีส่วนบ้าง ทั้งสภาพแวดล้อม ตัวบุคคล การวางแผน ฯลฯ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!