ในยุคปัจจุบันที่เรียกว่า "โลกยุค BANI" การจัดการศึกษาต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นให้ผู้เรียน หนึ่งในสมรรถนะที่สำคัญคือสมรรถนะการสื่อสาร โดยเฉพาะสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษ
โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัยจึงพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะเพื่อส่งเสริมสมรรถนะสำคัญ รวมถึงสมรรถนะการสื่อสาร โดยการนำบอร์ดเกมมาใช้เป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ซึ่งช่วยกระตุ้นการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ผู้ศึกษาจึงพัฒนาบอร์ดเกมสำหรับนักเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษ ชุมนุม English Fun Game โดยใช้ธีมเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยผสมผสานรูปแบบของบอร์ดเกมแบบดั้งเดิมและบอร์ดเกมวางแผนที่ใช้ไพ่ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นทักษะต่างๆ และสร้างความสนุกสนานในการเรียนรู้
ผู้ศึกษาได้เลือกใช้ธีมเรื่อง "เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์" เป็นเนื้อหาของบอร์ดเกมที่พัฒนาขึ้น โดยธีมนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดและวิธีปฏิบัติของเมืองเชียงใหม่ที่ศิลปะ วัฒนธรรม และกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ถูกผสมผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจและสังคมของเมือง
การเลือกใช้ธีมนี้มีความสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่อง "เชียงใหม่สมาร์ทซิตี้" ตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ซึ่งน่าจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและความสนใจของนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น
นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน
ขั้นตอนที่ 1 การอธิบายแนะนำเสนอเกมแก่ผู้เรียน
ในขั้นนี้ผู้สอนจะชี้แจงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ลักษณะกิจกรรม เกณฑ์การให้คะแนน และซักถามความเข้าใจของผู้เรียน จากนั้นอธิบายกติกาการเล่นเกม และชี้ให้ผู้เรียนเห็นว่า กติกาที่กำหนดไว้เป็นไปเพื่อให้การเล่นเกมนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ จากนั้นให้ผู้เรียนศึกษาคู่มือการเล่นเกม และให้ผู้เรียนอภิปรายความเข้าใจเกี่ยวกับเกมนั้นร่วมกับผู้เรียนคนอื่นหรือสมาชิกในกลุ่ม และซักถามความเข้าใจของผู้เรียนอีกครั้ง โดยผู้สอนต้องสาธิตขั้นตอนการเล่นเกมและอาจให้ผู้เรียนได้ทดลองเล่นเกมเพื่อลดความกังวลตรวจสอบความพร้อมและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนที่อาจไม่เคยมีประสบการณ์เล่นเกมมาก่อน
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินกิจกรรมการเล่นเกมตามกติกาที่กำหนดไว้
ผู้สอนให้ผู้เรียนเริ่มเล่นเกมตามกติกาและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในคู่มือ ทั้งนี้ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนบางคนทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์เล่นเกมและควบคุมกติกาการเล่นด้วยโดยระหว่างที่ผู้เรียนกำลังเล่นเกมผู้สอนสังเกตพฤติกรรมเพื่อกำกับดูแลให้ผู้เรียนเล่นตามกติกาแจ้งเตือนเวลาและแจ้งความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมการเล่นเกมของผู้เรียนเพื่อกระตุ้นและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ท้าทาย
ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผลของเกม
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุป คะแนนจากเกมและอธิบายที่มาของผลคะแนนจากเกมจากนั้นร่วมกันเชื่อมโยงผลจาก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ได้จากเกมกับเนื้อหารายวิชา สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและเพิ่มเติมประเด็นที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจ
1. ได้บอร์ดเกมการศึกษาที่เน้นพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารที่มีคุณภาพ
2. นักเรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารจนมีระดับที่สูงขึ้น
3. ได้แนวทางสำหรับครูผู้สอนในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ ของหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ในการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1. ก่อนการใช้บอร์ดเกม เรื่อง ครูควรมีกิจกรรมนำร่องเพื่อให้ผู้เรียนทำความเข้าใจถึงบริบทของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งด้านอาหาร ศิลปะ ประเพณี อาชีพและเศรษฐกิจซึ่งจัดเป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft-power) เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่
2. ควรมีการทำข้อตกลงร่วมกันก่อนเริ่มการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติและลดปัญหา หรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น
3. ควรมีการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา งานศิลปะ และงานหัตถกรรมของพี่น้องชาติพันธุ์อื่น ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น ชาวลั๊ว ชาวไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ฯลฯ เพื่อลดช่องว่างในการพัฒนาทักษะการรับรู้ เคารพ และเข้าใจความแตกต่างหลากหลาย รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
4. ควรมีการศึกษาการนำบอร์ดเกมเรื่อง ไปพัฒนานักเรียนในสมรรถนะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สมรรถนะการคิดขั้นสูง สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
5. ควรมีการศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมสมัยในการจัดทำบอร์ดเกมในรูปแบบออนไลน์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!