inskru

insKruChallenge | ฝึกวิธีรับฟังเสียงสะท้อนจากเด็กๆ

1
1
ภาพประกอบไอเดีย insKruChallenge | ฝึกวิธีรับฟังเสียงสะท้อนจากเด็กๆ

บางครั้งที่เด็กๆ ไม่สนใจเรียน อาจเพราะห้องเรียนเรายังไม่ตอบโจทย์เด็กๆ 🧐

การรับฟังความคิดเห็นจากเด็กๆ จะช่วยทำให้เด็กๆ รู้สึกมีความหมาย และความสัมพันธ์ระหว่างกันดีขึ้นอีกด้วย

.

insKru Challenge ขอชวนคุณครูมาท้าทายตัวเอง : "ฉันจะหาวิธีที่ทำให้ตัวเองรู้ว่า คาบเรียนฉันจะดีขึ้นได้อีกยังไงบ้างจากเด็กๆ แล้วลองนำมาปรับดู"


ถ้าคุณครูเจอเหตุการณ์เหล่านี้ Challenge นี้ช่วยได้ :

👩🏻‍🏫 : นักเรียนไม่สนใจเรียนเลย ไม่ให้ความร่วมมือเลย

👩🏻‍🏫 : ไม่รู้จะพัฒนาการสอนให้ดีขึ้นยังไงดี


STEP 1 : เข้าใจว่าทำไมเราถึงควรใส่ใจกับการรับฟังเสียงสะท้อนจากเด็กๆ

การรับฟังความคิดเห็นจากเด็กๆ จะทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งห้องเรียนนี้ และมองเห็นถึงความตั้งใจของคุณครูในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เปลี่ยนแปลงห้องเรียนให้ดีขึ้น ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดีขึ้นด้วย

เมื่อเด็กๆ รับรู้ได้ว่าครูใส่ใจเขา บางคนอาจจะเคยคุ้นเคยกับแบบประเมินครูจากนักเรียน ที่ทำตอนท้ายเทอม ที่บางคนอาจจะทำเอง บางคนที่โรงเรียนอาจจะให้ทำ แต่จริงๆ การรับฟังเสียงสะท้อนจากเด็กๆ สามารถทำได้เป็นประจำ และยิ่งเราทำบ่อยๆ เราก็จะได้ไอเดีย ในการทำให้เด็กๆ ให้ความร่วมมือเรามากขึ้นด้วย

💭 ลองถามตัวเองดูว่า ..

"เราให้พื้นที่เด็กๆ ในการสะท้อนการสอนของเรามากน้อยแค่ไหน?"

"เรากล้าให้เด็กๆ สะท้อนการสอนของเราแค่ไหน"


STEP 2 : วิธีรับฟังเสียงสะท้อนจากเด็กๆ

ตัวอย่าง

  • คำถามง่าย ๆ แต่ทรงพลัง “ครูทำอะไรได้อีกบ้าง เพื่อเป็นครูที่เจ๋งขึ้นสำหรับเธอ” อาจจะเริ่มใช้คำถามนี้เดินไปพูดคุยกับเด็ก ๆ ที่เรารู้สึกสบายใจที่จะคุยด้วยก่อนก็ได้ บางทีอาจจะได้คำตอบที่เรานึกไม่ถึงก็ได้ เช่น อยากให้ครูเต้นมากกว่านี้
  • ใช้เป็นคำถามท้ายคาบเรียน เราอาจจะมีคำถาม ให้เด็กๆ เขียนใส่สมุด เป็นการจบคาบเรียน เช่น
  • คาบนี้ให้คะแนนครูกี่ดาวเต็ม 5
  • ให้ดาวครูจากอะไร?
  • ที่ดาวหายไปเป็นเพราะอะไร ?


👀 จุดสังเกต

เราจะตั้งคำถามอย่างไรก็ได้ แต่สุดท้ายให้เราได้ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาตัวเอง

  • ถ้าเราได้นำเสียงสะท้อนจากเด็กๆ มาปรับ ก็จะยิ่งเพิ่มความสัมพันธ์และความรู้สึกใส่ใจ **แต่หากเราละเลย รอบหน้าเด็กๆ อาจจะไม่อยากบอกเราแล้วก็ได้


STEP 3 : 💪🏻 ซ้อมมือก่อนออกรบ

ลองตอบในใจก่อน ว่าถ้าเจอสถานการณ์นี้เราจะทำยังไงด้วยวิธีการให้เด็ก ๆ ได้เสนอทางออก

สถานการณ์ซ้อมมือ 1 : บางทีเราอาจจะได้รับเสียงสะท้อนในเชิงลบ หรือคำพูดที่ไม่เข้าหูจากเด็ก ที่ต้องจัดการกับตัวเอง เช่น ประโยคอย่าง “ครูสอนห่วยมาก” เราจะรับมือยังไงดี ?

>> อย่างเพิ่งอ่านบรรทัดต่อไป ลองตอบในใจก่อนนน้าา <<

.

.

ตัวอย่างการจัดการตัวเอง

เราสามารถรับรู้ความรู้สึกแย่ที่มีแต่ประโยคนี้ของเด็กๆ ได้นะ ลองยอมรับความรู้สึกตัวเองว่าครูเองก็เป็นคนเสียใจได้ เราก็รับรู้ความรู้สึกนั้นแต่เราจะนึกถึง step ต่อไป เราจะรู้ได้ยังไงว่าอะไรทำให้เด็กๆ รู้สึกแบบนั้น?


STEP 4 : 🤩 ลองนำไปใช้

ถ้ามีโอกาส ลองให้เด็กๆ ได้สะท้อนการสอนของเราดูนะ จะแค่ยกมือเช็คความเข้าใจง่ายๆ แบบไอเดียของครู Ying ก็ได้ 👉 Hand Signals : Self-Reflection

🙋 ใครเตรียมตัวจะเอาไปลองใช้ส่งสติ้กเกอร์หรือคอมเม้นบอกหน่อย

🙆🏻 ถ้าใครได้ลองไปใช้แล้วเป็นยังไงบ้าง ลองสะท้อนให้ insKru ฟังหน่อยน้าาา เราจะมี challenge สนุกๆ แบบนี้มาให้ลองทุกๆ วันจันทร์เลย!


ถ้าไม่รู้ว่าจะสะท้อนให้เราฟังยังไง ลองพิมพ์คอมเม้นตอบเราตามนี้ได้เลยนะ 👇

  1. สถานการณ์ที่ได้ไปลองใช้คือ . . ลองเล่าให้ฟังหน่อย เล่าเป็นเหตุการณ์เลยนะ. . .
  2. ตอนนั้นครูพูดหรือทำอะไรไปบ้าง. . .
  3. พอลองแล้วเด็ก ๆ เป็นยังไงบ้าง ? สีหน้าของเด็ก สิ่งที่เด็กโต้ตอบกลับมา. . .
  4. แล้วตัวครูเองรู้สึกอะไร ได้ผลตามที่คาดหวังไว้มั้ย ค้นพบอะไรจากการลองครั้งนี้. . . หรือมีอะไรอยากจะลองในครั้งหน้า. . .


ขอให้สนุกและพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากการลองทำ Challenge นี้นะ!

ปล. insKru ทำ Wallpaper มือถือ/หน้าจอคอม ไว้ให้ไปเปลี่ยนกันด้วย ดาวน์โหลดได้เลยยย จะได้ไม่ลืม challenge นี้ ✨

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ทักษะการสื่อสารรับฟังเสียงนักเรียนการจัดการชั้นเรียนinsKruChallengeChallenge

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    1
    ได้แรงบันดาลใจ
    1
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insinsKru
    insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ