inskru

insKruChallenge_พัฒนาห้องเรียนจากเสียงสะท้อนด้วยสัญลักษณ์มือ

5
5
ภาพประกอบไอเดีย insKruChallenge_พัฒนาห้องเรียนจากเสียงสะท้อนด้วยสัญลักษณ์มือ

หากเรารับฟังเสียงของนักเรียนแต่ไม่ได้นำมาปรับเปลี่ยน

อาจทำให้นักเรียนรู้สึกว่าเสียงของเขาไม่มีความหมาย และไม่รู้สึกอยากแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

แต่การจะเก็บเสียงสะท้อนแต่ละครั้งเข้าใจเลยว่าใช้เวลาและทำได้ยาก 😌

insKru Challenge ในตอนนี้เลยอยากมาลองท้าทายคุณครูเก็บเสียงสะท้อนของนักเรียนด้วยวิธีการง่ายๆ อย่างสัญลักษณ์มือ ที่ทำได้เร็วและสามารถใช้เสียงสะท้อนนั้นแก้ไขได้ทันทีอีกด้วย

ซึ่ง Challenge นี้ทำได้ไม่ยาก และเป็นการมองหาจุดเล็ก ๆ จากสิ่งที่นักเรียนสะท้อน มาพัฒนาห้องเรียนให้ดีขึ้น ✨

(ขอบคุณไอเดียจากคุณครู Ying ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการต่อยอดไอเดียนี้ ตามไปอ่านต่อได้ที่ 👉 Hand Signals : Self-Reflection)


ถ้าคุณครูเจอเหตุการณ์เหล่านี้ Challenge นี้ช่วยได้

👩🏻‍🏫 : เหมือนว่าจะมีคนสงสัย แต่ไม่มีใครถามเลย ที่เราสอนไปเด็กรู้เรื่องจริงๆ มั้ยนะ ไม่มีใครแสดงออกเลย

👩🏻‍🏫 : ใกล้สอบแล้ว เด็กเป็นยังไงบ้าง?

👩🏻‍🏫 : ที่สอบไป เด็กๆ กังวลแค่ไหนกันนะ เราช่วยอะไรพวกเขาได้อีกบ้าง

👩🏻‍🏫 : ตอนนี้เด็กๆ พร้อมกับการเรียนแล้วรึยังนะ?


✋ วิธีรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียนผ่านสัญลักษณ์มือ

การรับฟังเสียงสะท้อนไม่จำเป็นจะต้องเป็นตอนจบคาบเรียนเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเนื้อหาหรือความเข้าใจเพียงอย่างเดียว เราสามารถถามไถ่ถึงอารมณ์ความรู้สึกก็ได้เช่นกัน

คุณครูสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนจะเริ่มบทเรียน เป็นการ check in ความรู้สึกความพร้อมของนักเรียนก่อนเริ่มต้นคาบ หรือเป็นการชวนพูดคุยการบ้านที่ทำไว้ เช่น ตัวอย่างนี้

A. ชวนเช็คความพร้อม รับฟังเสียงสะท้อน ทางด้านอารมณ์ความรู้สึก

ใช้คำถามง่ายๆ อย่างตอนนี้รู้สึกแบบไหน แล้วให้นักเรียนชูนิ้วขึ้นตามหมายเลขใบหน้าที่ทุกคนรู้สึกอยู่

  • คนที่มีพลังสุดๆ หรือมีความสุขให้ชูกำปั้น
  • คนที่สบายๆ ชิวๆ ให้ชู 1 นิ้ว
  • เมื่อนักเรียนชูมือครบ คุณครูสามารถชวนพูดคุยถึงเหตุผล สาเหตุที่ทำให้เด็กๆ รู้สึกแบบนั้นได้ ซึ่งอาจจะทำให้คุณครูประเมินได้ว่า ณ ตอนนี้ควรจะสอนแบบไหนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะของเด็กๆ

Tips :

  1. คุณครูเองก็ชูมือไปพร้อมกับเด็กๆ ได้นะ และสามารถที่จะเป็นฝ่ายแชร์ความรู้สึกของตัวเองได้ก่อนด้วย เช่น ชู 3 นิ้ว เพราะครูเหนื่อยมากเลยวันนี้
  2. ครูไม่จำเป็นอธิบายว่าแต่ละใบหน้าคือความรู้สึกอะไร เปิดโอกาสให้เด็กๆ ตีความเอาเองและให้เขาสะท้อนบอกคุณครูดูนะ


B. ชวนรับฟังเสียงสะท้อนทางด้านอารมณ์ความรู้สึกท้ายคาบ

เริ่มต้นตัวอารมณ์ก็สามารถจบได้ด้วยการเช็คอารมณ์ของเด็กๆ ได้เช่นกัน ด้วยวิธีการชูนิ้วเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนคำถาม

  • ในตอนนี้คุณครูจะสามารถสังเกตได้ว่า คนที่ชู 2-5 นิ้ว เป็นเพราะอะไรกันนะถึงรู้สึกแบบนั้น ซึ่งอาจจะได้คำตอบที่หลากหลาย เช่น
  • การบ้านเยอะมากเลยครับครู
  • มีช่วงนึงที่งงจนตามไม่ทันค่ะ
  • เข้าใจที่สอนนะคะแต่กว่าจะหมดคาบเหนื่อยเลยย


เมื่อเด็กๆ สะท้อนออกมาคุณครูก็สามารถที่จะช่วยเหลือ หรือบันทึกไว้เพื่อจัดการเรียนการสอนในคาบต่อๆ ไป insKru เชื่อมั่นว่าจะต้องมีคาบที่นักเรียนแฮปปี้และชูกำปั้นครบทุกๆ คนแน่นอน! แต่ถ้าสิ่งนั้นยังไม่มาถึง ก็อย่าได้หมดกำลังใจนะ insKru เชื่อว่าการเริ่มต้นรับฟังเสียงของเด็กๆ รับฟังความรู้สึกของเด็กๆ แล้วนำมาปรับปรุงคาบเรียนของตัวเองนั้นมีความหมายและส่งไปถึงนักเรียนอย่างแน่นอน และต่อให้นักเรียนชู 5 นิ้ว ก็อาจจะหมายถึง สนุกจนหมดแรง ก็ได้ใครจะรู้ 😍

C. เช็คอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับการบ้านที่ได้รับ

นอกจากพูดถึงคาบเรียนกว้างๆ คุณครูสามารถที่จะประเมินวิธีการให้การบ้าน หรือชิ้นงานที่มอบให้นักเรียน เพื่อเช็คว่านักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งที่ได้รับ เพื่อดูว่าจะสามารถปรับยังไงให้ดีขึ้นได้อีก โดยอาจจะมองปัจจัยเรื่องความรู้สึกของผู้เรียนควบคู่กับประโยชน์ของการบ้านที่ได้รับด้วยน้าา เพราะบางทีการบ้านที่นักเรียนชอบใจอาจจะไม่ใช่การบ้านที่มีความหมายต่อการเรียนรู้ของนักเรียนก็เป็นได้

เพียงแต่การเช็คอารมณ์อาจจะทำให้ครูค้นพบสภาวะบางอย่างของนักเรียน เช่น ไม่ใช่เพราะไม่ชอบงานที่มอบหมายให้ แต่เพราะว่าตอนนี้งานล้นมือสุดๆ , ไม่ใช่เพราะไม่อยากทำ แต่ขอเลื่อนเวลาส่งได้ไหมนะ กลัวทำไม่ทัน เป็นการเปิดบทสนทนาให้นักเรียนได้มีโอกาสแชร์ความรู้สึกของตัวเองออกมา


✋ วิธีเช็คความเข้าใจของผู้เรียนผ่านสัญลักษณ์มือ

A: ให้ผู้เรียนได้สะท้อนว่าการบ้านที่ครูมอบหมายช่วยให้เขาเข้าใจเนื้อหาได้ดีกว่าเดิมไหม?

ตรงนี้จะช่วยให้คุณครูได้เห็นผลสะท้อนของนักเรียน เพราะบางครั้งหรือหลายๆ ครั้งการบ้านที่นักเรียนทำมาส่งอาจจะถูกหมด แต่เราไม่รู้เลยว่าเขาเข้าใจมันจริงๆ ไหม?

หลังจากที่นักเรียนส่งการบ้าน คุณครูสามารถลองเช็คสั้นๆ ผ่านการให้นักเรียนชูนิ้วตามภาพ

  • 👍 การบ้านที่ได้ทำช่วยให้เข้าใจเนื้อหาถ่องแท้ และสามารถอธิบายเพื่อนได้
  • ✌️ การบ้านที่ได้ทำช่วยให้เข้าใจมากขึ้นกว่าตอนเรียน แต่ยังมีคำถามอยู่บ้างนะ
  • ☝️ ทำแล้วแต่เข้าใจเท่าเดิม ไม่ต่างจากตอนที่ครูสอนเลย
  • ✊ ทำแล้วพบว่างง มีเรื่องที่เราไม่เข้าใจมากกว่าเดิมไปอีก
  • ✋ อื่นๆ

แน่นอนว่าเลเวลของความเข้าใจที่คุณครูคาดหวังอาจจะไปถึงขั้นที่นักเรียนสามารถอธิบายเพื่อนได้ แต่หากมีนักเรียนชูสองนิ้ว หรือชูกำปั้น ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณครูได้ลองสอบถาม หรือตรวจเช็คว่ามีส่วนไหนที่ทำให้นักเรียนสับสน ยังไม่เข้าใจ เพื่อไขข้อข้องใจได้

B. เช็คความพร้อมก่อนสอบของผู้เรียน

สอนไปมากมายไม่แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจได้มากแค่ไหน และใกล้จะสอบอยู่แล้ว นักเรียนเป็นยังไงบ้าง สามารถเช็คได้เร็วๆ ผ่านสัญลักษณ์มือเลย

คล้ายๆ กับด้านบน เพื่อโค้งสุดท้ายเผื่อครูสามารถช่วยอะไรได้บ้าง แต่ถ้าช่วยไม่ทันแล้วก็ไม่เป็นไร ยังมีสอบอีกหลายๆ ครั้ง ทั้งสอบย่อย สอบเก็บคะแนนที่คุณครูสามารถนำไปใช้เพื่อปรับการสอนก่อนจะสายได้อีกในหลายๆ โอกาสเลยล่ะ 💪

ปล. แอบมี slide เช็คความรู้สึกหลังสอบแถมให้ด้วย อยู่ใน pdf ที่แนบเอาไว้น้า 😍


🤩 อย่าลืมลองนำไปใช้ดูนะ

🙋 ใครเตรียมตัวจะเอาไปลองใช้ส่งสติ้กเกอร์หรือส่งเป็นการตรวจเช็คความรู้สึกของตัวเองมาแลกเปลี่ยนกันได้น้า

🙆🏻 ถ้าใครได้ลองไปใช้แล้วเป็นยังไง ลองสะท้อนให้ insKru ฟังหน่อยน้าาา เราจะมี challenge สนุกๆ แบบนี้มาให้ลองทุกๆ วันจันทร์เลย!


ถ้าไม่รู้ว่าจะสะท้อนให้เราฟังยังไง ลองพิมพ์คอมเม้นตอบเราตามนี้ได้เลยนะ 👇

  1. สถานการณ์ที่ได้ไปลองใช้คือ . . ลองเล่าให้ฟังหน่อย เล่าเป็นเหตุการณ์เลยนะ. . .
  2. ตอนนั้นครูพูดหรือทำอะไรไปบ้าง. . .
  3. พอลองแล้วเด็ก ๆ เป็นยังไงบ้าง ? สีหน้าของเด็ก สิ่งที่เด็กโต้ตอบกลับมา. . .
  4. แล้วตัวครูเองรู้สึกอะไร ได้ผลตามที่คาดหวังไว้มั้ย ค้นพบอะไรจากการลองครั้งนี้. . . หรือมีอะไรอยากจะลองในครั้งหน้า. . .


ขอให้สนุกและพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากการลองทำ Challenge นี้นะ!

ติดตามอ่าน Challenge อื่นๆ ได้ ผ่านการกดติดตาม insKru หรือใน 👉 แท็ก insKruChallenge หรือกดผ่านแท็ก insKruChallenge สีฟ้าด้านล่างได้เลย

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    insKruChallengeChallengeการจัดการชั้นเรียนรับฟังเสียงนักเรียนทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    5
    ได้แรงบันดาลใจ
    5
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insinsKru
    insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

    ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ