การเรียนการสอนวรรณคดีในปัจจุบัน ยังพบว่าเป็นปัญหา เนื่องจากนักเรียนไม่สนใจ หรือเรียนด้วยความรู้สึกชอบ แต่เรียนเพราะถูกบังคับให้เป็นวิชาที่ต้องเรียน รวมถึงบริบทของสังคมปัจจุบันทำให้นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาในวรรณคดีไทย นอกจากนี้ การเรียนการสอนวรรณคดีไทยมักเน้นไปที่การท่องจำคำศัพท์ การถอดคำประพันธ์ การแปลความหมายเป็นหลัก ทำให้ผู้เรียนขาดแรงจูงใจในการเรียน ขาดการวิเคราะห์เนื้อหา ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระวรรณคดีและวรรณกรรมไม่ดีเท่าที่ควร
จึงได้มีการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนในเรื่องของบรรยากาศการจัดการเรียนการสอนวรรณคดี พบว่า นักเรียนต้องการให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปในรูปแบบของการเล่นเกม ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้รับความสนุกสนานไปพร้อมกับได้รับความรู้ ผู้สอนจึงเลือกใช้วิธีการสอน Game-based Learning ซึ่งสอดคล้องกับหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่นหรือ Play + Learn = “PLEARN” ร่วมกับทฤษฏีหมวก 6 ใบ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศที่ท้าทาย สนุกสนาน รวมถึงฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม และการคิดวิเคราะห์
เป็นเทคนิคการคิดของดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ศาสตราจารย์ด้านการคิดชาวอิตาลี ช่วยให้มีกระบวนการคิดที่ดีและรอบคอบ ซึ่งการพัฒนาทักษะนี้เป็นผลดีต่อนักเรียนทั้งในปัจจุบันและอนาคต จะทำให้การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ สามารถหาข้อสรุปได้อย่างรวดเร็วและรอบด้านมากขึ้น
จึงได้มีการนำมาปรับใช้ในการสอนวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร เพื่อฝึกคิดวิเคราะห์วรรณคดีอย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้ นักเรียนยังสามารถนำแนวการคิดนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อมองเรื่องหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างรอบด้าน มีเหตุผล และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
แนวทางการจัดการเรียนรู้
ทั้งนี้ ครูผู้สอนสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกเนื้อหาสาระ และทุกรายวิชา เพื่อจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนให้เกิดการเรียนรู้ ฝึกการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ไปพร้อมกับความสนุก และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนค่ะ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!