มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดกเป็นหนึ่งในชาดก 10 ชาติ ที่เล่าเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย มหาเวสสันดรชาดกเน้นเรื่องการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งในกรณีนี้คือพระเวสสันดร พระราชาแห่งเมืองสีพี ผู้บำเพ็ญทานบารมีอย่างเต็มที่ โดยการให้ทรัพย์สิน สิ่งของ รวมถึงการให้ลูกและภรรยาของตนเอง แต่ในการเรียนเนื้อหาทั้ง 13 กัณฑ์ อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับนักเรียนบางคน เพราะเหตุการณ์แต่ละกัณฑ์อาจจะชวนสับสน กัณฑ์ไหน ใครทำอะไร อะไรเกิดก่อนหลัง ดังนั้น บอร์ดเกมต่อไปนี้แหละที่จะเป็นตัวช่วยในการทบทวนเนื้อหาของแต่ละกัณฑ์
นำเข้าสู่บทเรียน
2. สนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนจำได้เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องนี้ (แนวคำตอบ : การให้ทาน การบริจาคภรรยาและลูก ฝนโบกขรพรรษ เป็นต้น)
3. เชื่อมโยงสู่บทเรียน "วันนี้เราจะทบทวนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ไปแล้วโดยคาบเรียนนี้จะเน้นไปที่เนื้อหาของมหาชาติแต่ละกัณฑ์”
กิจกรรมการเรียนรู้
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อเรื่องมหาเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์จากหนังสือเรียน หรือนักเรียนสามารถค้นคว้าข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กกทรอนิกส์ของตนเองได้ จากนั้นร่วมกันสรุปความรู้อธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง ใช้เวลา 10-15 นาที เมื่อครบกำหนดเวลา สุ่มนักเรียนอธิบายเหตุการณ์ในบางกัณฑ์ จากนั้นให้นักเรียนเตรียมแข่งขันกันเรียงลำดับเหตุการณ์ 13 กัณฑ์จากการ์ดเหตุการณ์
2. ครูอธิบายกติกาการแข่งขันเรียงลำดับการ์ดเหตุการณ์จากเรื่อง มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก ดังนี้
1) นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาทำการแข่งขันหน้าชั้นเรียน โดยแบ่งเป็น 2 มุม ซ้ายขวา
2) การ์ดจะแบ่งเป็น 2 กอง ดังนี้
กองที่1 เป็นการ์ดชื่อกัณฑ์ 13 กัณฑ์ มีบัตรบอกรายชื่อ 12 ใบ (มีทั้งหมด 24 ใบ แบ่งเป็นบัตรสีแดง 12 ใบ บัตรสีเหลือง 12 ใบ) *สาเหตุที่มี 12 ใบ เนื่องจากกัณฑ์จุลพนและกัณฑ์มหาพนเขียนรวมอยู่ในบัตรเดียวกัน บัตรในกองนี้จะให้ตัวแทนของกลุ่มที่ยังไม่ได้แข่งขันออกมาสุ่มให้เพื่อน อีก 2 กลุ่ม
การ์ดสีแดง หมายถึง ให้เรียงลำดับเหตุการณ์ จากเหตุการณ์แรกเรียงลำดับไปจนถึงเหตุการณ์สุดท้าย
การ์ดสีเหลือง หมายถึง ให้เรียงลำดับเหตุการณ์ จากเหตุการณ์สุดท้ายย้อนหลังมาจนถึงเหตุการณ์แรก
กองที่ 2 เป็นการ์ดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละกัณฑ์ มีทั้งหมด 72 ใบ มีทั้งหมด 2 ชุด รวมเป็น 144 ใบ บัตรเหตุการณ์ในกองนี้ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกไปไว้ที่มุมโต๊ะของกลุ่มตนเอง (ใน 1 กัณฑ์จะมีเหตุการณ์ 6 เหตุการณ์ ดังนั้น 1 กัณฑ์ มีการ์ด 6 ใบ ยกเว้นกัณฑ์จุลพน-กัณฑ์มหาพน ถือว่า 2 กัณฑ์ นี้รวมกันเป็น 6 เหตุการณ์)
(ตัวอย่างการ์ดเหตุการณ์จากกัณฑ์กุมาร)
3) เมื่อตัวแทนกลุ่มที่ไม่ได้แข่งขันอออกมาสุ่มการ์ดชื่อกัณฑ์แล้วจากนั้นให้ตัวแทนแต่ละกลุ่ม เรียงลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้อง กลุ่มใดเรียงลำดับเสร็จก่อน ให้ยกมือขึ้น จากนั้นครูและนักเรียนกลุ่มที่เหลือตรวจสอบความถูกต้อง 2 ประการ ดังนี้
3.1) ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาเหตุการณ์ในบัตร
3.2) ตรวจสอบว่าบัตรที่เพื่อนสุ่มนั้น เป็นบัตรสีใด และนักเรียนเรียงลำดับถูกต้องตามเงื่อนไขของสีบัตรหรือไม่
4) นักเรียนกลุ่มใดเรียงได้ถูกต้องครบถ้วนก่อน จะได้รับเหรียญคะแนน 100 คะแนน และอีกกลุ่มจะได้ 50 คะแนนตามลำดับ
5) จากนั้นให้กลุ่มต่อไปผลัดกันออกมาทำการแข่งขันจนครบทุกกลุ่ม หากเวลาเหลือ สามารถให้นักเรียนกลุ่มที่แข่งขันกันแล้วออกมาแข่งขันกันอีก
6) กลุ่มใดได้คะแนนมากที่สุดถือว่าเป็นกลุ่มที่ชนะในการแข่งขัน
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอธิปรายถึงเนื้อหาโดยภาพรวมองเรื่องมหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดกจากนั้นครูถามนักเรียนว่า “นักเรียนคิดว่าประโยชน์ของการให้ทานและการเสียสละคืออะไร” (แนวคำตอบ: คุณค่าของการให้ทานและการเสียสละ เป็นหลักธรรมสำคัญในหลายศาสนาและวัฒนธรรมทั่วโลก โดยเฉพาะในพุทธศาสนา การให้ทานและการเสียสละถือเป็นบารมีที่ช่วยพัฒนาจิตใจและสังคม คุณค่าของการให้ทานและการเสียสละสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายด้าน เช่น การสร้างความสุขและความสงบภายใน การเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี ผลที่เป็นผลดีต่อภพหน้า (ในมุมมองทางศาสนา))
สรุปบทเรียน
1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปบทเรียนด้วยการเล่นร่วมกันอภิปรายถึงความสำคัญของการศึกษาเรื่องมหาเวสสันดรชาดกได้ (แนวคำตอบ: การศึกษาเรื่องมหาเวสสันดรชาดกไม่เพียงแค่เพื่อความรู้ในศาสนาแต่ยังเป็นการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์สังคมให้ดียิ่งขึ้นด้วยมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การเรียนรู้หลักธรรมและคุณธรรม การเสริมสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนา การสร้างแรงบันดาลใจในการทำความดี การเสริมสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณี)
ตัวอย่างบรรยากาศในชั้นเรียนการเล่นบอร์ดเกม (ได้รับความยินยอมจากนักเรียนในการเผยแพร่แล้ว)
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!